ผบ.ทร. นำข้าราชการ กองทัพเรือ จำนวน ๒,๕๐๐ นาย ร่วมขับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร กลางอ่าวไทย
เมื่อวันที่ ๑๐ พ.ย.๕๙ เวลา ๑๐๐๐ พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ นำนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และกำลังพลกองทัพเรือ จำนวน ๒,๕๐๐ นาย ร่วมขับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อแสดงความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยได้ทำการขับร้องบนเรือหลวงจักรีนฤเบศรที่ลอยลำกลางอ่าวไทย พร้อมเรือหลวงตากสิน เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงปิ่นเกล้า และเรือ ต.๙๙๖ ซึ่งนอกจากเพลงสรรเสริญพระบารมีแล้ว กำลังพลทั้ง ๒,๕๐๐ นาย ยังได้ร่วมขับร้องเพลงความฝันอันสูงสุดอันเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเพลงดาบของชาติ อันเป็น เพลงพระนิพนธ์ใน พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
เรือหลวงจักรีนฤเบศร เป็นเรือธงและเรือบรรทุกอากาศยานลำแรก ของราชนาวีไทยโดยกองทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือพระบาทสมเด็จพระทรงพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี
เรือหลวงจักรีนฤเบศร ต่อจากบริษัท บาซาน ประเทศสเปน โดยนำแบบมาจากเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส (Principe de Asturias) ของกองทัพเรือสเปน โดยปรับปรุงระบบขับเคลื่อน ระบบควบคุมการบิน ระบบอาวุธ และลดระวางขับน้ำลงเหลือสองในสาม โดยได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ และวางกระดูกงูเรือในวันที่ ๑๒ ก.ค.๓๗ ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ ๒๐ ม.ค.๓๙ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธี
เรือหลวงจักรีนฤเบศร ได้เดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการ เมื่อวันที่ ๒๐ มี.ค.๔๐ ต่อมาในวันที่ ๙ ก.ย.๔๐
เรือหลวงนเรศวร และเรือหลวงตากสิน เป็นเรือประเภทเรือฟริเกตซึ่งกองทัพเรือได้สั่งต่อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเรือที่กองทัพเรือออกแบบใหม่ร่วมกับบริษัท CHINA STATE SHIPBUILDING COORPERATION (CSSC) โดยใช้ระบบอาวุธและเครื่องจักรส่วนใหญ่ของยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นหลักจึงทำให้มีขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการรบที่ทันสมัย โดยชื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานชื่อเรือทั้งสองลำนี้ ซึ่งเป็นพระนามของพระมหากษ้ตริย์ที่ทรงกู้แผ่นดินไทยให้เป็นเอกราชจนถึงปัจจุบันนี้
กองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงนเรศวร และเรือหลวงตาก เพื่อความเป็นสิริมงคล ยังความปลาบปลื้มและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของทั้งสองพระองค์ที่ทรงมีแก่กองทัพเรืออย่างหาที่สุดที่มิได้
เรือหลวงปิ่นเกล้าเป็นเรือประเภทเรือพิฆาต เมื่อประมาณ ๖๐ ปี ที่ผ่านมา สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นช่วงเวลาของยุคการต่อสู้การแบ่งฝ่ายของประเทศมหาอำนาจในขณะนั้น สหรัฐอเมริกา ได้ทำการต่อเรือพิฆาตคุ้มกัน (Destroyer Escort ) จำนวน ๕๕๕ ลำ เพื่อมาคุ้มกันเรือสินค้าอังกฤษที่ถูกเรือดำน้ำของกองทัพเรือเยอรมันโจมตีจน เรืออับปาง โดยได้ทำการต่อเรือ Destroyer Escort ชั้น Cannon ทั้งหมด ๗๒ ลำ หนึ่งในนั้น ซึ่งเป็นเรือลำที่ ๕๙ ได้ชื่อว่า USS.HEMMINGER (DE 746) เพื่อเป็นเกียรติแก่ Ensign Gyril Franklin Hemminger ผู้ได้ปฏิบัติหน้าที่ ในการรบอย่างกล้าหาญ คนตัวตายในการยุทธ์ทางเรือที่หมู่เกาะโซโลมอน เมื่อวันที่ ๙ ส.ค. ๒๔๘๕ และ นาง Hemminger ภริยาหม้ายได้รับเกียรติให้ปล่อยเรือลำนี้ลงน้ำในวันที่ ๑๒ ก.ย. ๒๔๘๖ เมื่อวันที่ ๒๑ ก.พ. ๒๕๐๑ สหรัฐ ฯ ได้ส่งมอบเรือ USS.Hemminger ให้ ราชนาวีไทย ภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือทางทหารเมื่อวันที่ ๒๒ ก.ค.๒๕๐๒ ที่ Naval Shuoyard New York USA และได้เดินทางกลับถึงเมืองไทยเมื่อวันที่ ๑๘ ธ.ค. ๒๕๐๒ กองทัพเรือได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ชื่อเรือลำนี้ว่า "เรือหลวงปิ่นเกล้า" ตามพระราชทินนามของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อกองทัพเรือเป็นอเนกอนันต์ ในขณะนั้น เรือหลวงปิ่นเกล้า ได้เข้าประจำการอยู่ในกองเรือปราบเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นกองเรือฟริเกตที่ ๑ กองเรือยุทธการ ในปัจจุบัน
ข้อมูล สลก.ทร./กปส.สจว.กพร.ทร.
๑๘ พ.ย.๕๙
เรือหลวงจักรีนฤเบศร ได้เดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการ เมื่อวันที่ ๒๐ มี.ค.๔๐ ต่อมาในวันที่ ๙ ก.ย.๔๐
เรือหลวงนเรศวร และเรือหลวงตากสิน เป็นเรือประเภทเรือฟริเกตซึ่งกองทัพเรือได้สั่งต่อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเรือที่กองทัพเรือออกแบบใหม่ร่วมกับบริษัท CHINA STATE SHIPBUILDING COORPERATION (CSSC) โดยใช้ระบบอาวุธและเครื่องจักรส่วนใหญ่ของยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นหลักจึงทำให้มีขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการรบที่ทันสมัย โดยชื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานชื่อเรือทั้งสองลำนี้ ซึ่งเป็นพระนามของพระมหากษ้ตริย์ที่ทรงกู้แผ่นดินไทยให้เป็นเอกราชจนถึงปัจจุบันนี้
กองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงนเรศวร และเรือหลวงตาก เพื่อความเป็นสิริมงคล ยังความปลาบปลื้มและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของทั้งสองพระองค์ที่ทรงมีแก่กองทัพเรืออย่างหาที่สุดที่มิได้
ข้อมูล สลก.ทร./กปส.สจว.กพร.ทร.
๑๘ พ.ย.๕๙
Comments