ในวันนี้ ๑๕ พ.ย.๕๙ ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) จัดการประชุม ศรชล. ครั้งที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ระหว่าง ๑๕ – ๑๗ พ.ย.๕๙ ณ โรงแรม เดอะ รีเจนท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยมี พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้อำนวยการการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ผอ.ศรชล.)/เสนาธิการทหารเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ใน ศรชล. ทราบนโยบาย ผอ.ศรชล. การบรรยาย และการประชุมประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ทั้งนี้เป็นการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการของ ศรชล. ในแผนปฏิบัติงานด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถในการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวมทั้งจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ ศรชล. พร้อมเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงทางทะเลในการรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ และเป็นที่พึ่งของประชาชนที่ใช้ประโยชน์จากทะเลซึ่งจะสามารถนำผลการประชุมสัมมนาฯ ไปเป็นแนวทางในการฝึกประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ของ ศรชล. ตลอดจนการสร้างความตระหนักรู้สถานการณ์ความมั่นคงทางทะเลอย่างเป็นระบบและบูรณาการข้อมูลข่าวสารทางทะเลร่วมกันเพื่อรองรับการยกระดับ ศรชล. เป็นศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในอนาคต โดยมีหัวข้อในการบรรยายและการประชุมดังนี้
การบรรยาย
- การบรรยายพิเศษจากผู้แทนMaritime Institute of Malaysia (MIMA) ในหัวข้อ “Malaysia’s Experiences in Establishing National Maritime Inter-Agency Coordination of Maritime Security, Obstacles, Opportunity and Challenges”
- การบรรยายพิเศษจากผู้แทนMalaysian Maritime Enforcement Agency (MMEA) ในหัวข้อ “MMEA: Roles, Concept of Operations, Training, Management and Challenges”
- การบรรยายในหัวข้อบทเรียนจากหลักสูตร Regional Maritime Vessel Search Course ณ เครือรัฐออสเตรเลีย
- การบรรยายในหัวข้อ “การตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ในทะเล (Maritime Domain Awareness: MDA)”โดย ฝ่ายข่าว ศรชล.
การประชุม
- “การเตรียมการจัดการฝึก ศรชล. ประจำปี ๒๕๖๐”
- “การพัฒนางานด้านการข่าวของ ศรชล. เพื่อรองรับกับร่าง พ.ร.บ.รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล”
ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เรียกโดยย่อว่า “ศรชล.” จัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๔๐ เมื่อ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๐ และได้รับความเห็นชอบจาก ครม. เมื่อวันที่ ๑๗ เม.ย.๒๕๔๐ โดยได้จัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๑ ณ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ (ศปก.ทร.) มีความมุ่งหมาย เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานการปฏิบัติงานด้านการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล อันได้แก่ การมี เอกราช อำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยทางทะเล ความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย และความเจริญรุ่งเรืองของชาติอันเนื่องมาจากทะเล รวมทั้ง ความมั่งคั่ง มีเกียรติและศักดิ์ศรีในประชาคมระหว่างประเทศด้านกิจการทางทะเล และเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจการทางทะเลในทุก ๆ ด้าน ระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานทางทะเล เพื่อให้การปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เกิดความซ้ำซ้อน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีกองทัพเรือ เป็นศูนย์กลางในการประสานงานช่วยเหลือ และสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ ที่ปฏิบัติงานในทะเล ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติตามภารกิจของหน่วยงานเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนราชการที่เข้าร่วมใน ศรชล. แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
๑. หน่วยปฏิบัติการหลัก คือ หน่วยที่มีกำลังทางเรือที่สามารถออกปฏิบัติงานในทะเล ประกอบด้วย ๖ หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพเรือ กองบังคับการตำรวจน้ำ กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กรมประมง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
๒. หน่วยปฏิบัติการร่วม คือ หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่กับกิจการต่างๆ ทางทะเล อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมสรรพสามิต กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น
หน้าที่ของ ศรชล.
๑. การกระทำอันเป็นโจรสลัด และการปล้นเรือโดยเรืออาวุธ
๒. การทำการประมงผิดกฎหมาย
๓. การค้ามนุษย์/การลักลอบเข้าเมือง
๔. การลักลอบขนยาเสพติด/อาวุธ/สินค้าต้องห้าม
๕. การลักลอบค้า/ลำเลียงสินค้าสองวัตถุประสงค์ ข้อห้าม UN
๖. เหตุการณ์ร้ายแรงทางทะเล
๗. การก่อการร้ายทางทะเล
๘. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
๙. การใช้ประโยชน์จากทะเลที่ผิดกฎหมายและเป็นภัยต่อระบบนิเวศทางทะเล
ข้อมูล ฝ่ายปฏิบัติการ ศรชล./กปส.สจว.กพร.ทร.
๑๖ พ.ย.๕๙
การบรรยาย
- การบรรยายพิเศษจากผู้แทนMaritime Institute of Malaysia (MIMA) ในหัวข้อ “Malaysia’s Experiences in Establishing National Maritime Inter-Agency Coordination of Maritime Security, Obstacles, Opportunity and Challenges”
- การบรรยายพิเศษจากผู้แทนMalaysian Maritime Enforcement Agency (MMEA) ในหัวข้อ “MMEA: Roles, Concept of Operations, Training, Management and Challenges”
- การบรรยายในหัวข้อบทเรียนจากหลักสูตร Regional Maritime Vessel Search Course ณ เครือรัฐออสเตรเลีย
- การบรรยายในหัวข้อ “การตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ในทะเล (Maritime Domain Awareness: MDA)”โดย ฝ่ายข่าว ศรชล.
- “การเตรียมการจัดการฝึก ศรชล. ประจำปี ๒๕๖๐”
- “การพัฒนางานด้านการข่าวของ ศรชล. เพื่อรองรับกับร่าง พ.ร.บ.รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล”
๑. หน่วยปฏิบัติการหลัก คือ หน่วยที่มีกำลังทางเรือที่สามารถออกปฏิบัติงานในทะเล ประกอบด้วย ๖ หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพเรือ กองบังคับการตำรวจน้ำ กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กรมประมง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
๒. หน่วยปฏิบัติการร่วม คือ หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่กับกิจการต่างๆ ทางทะเล อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมสรรพสามิต กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น
หน้าที่ของ ศรชล.
๑. การกระทำอันเป็นโจรสลัด และการปล้นเรือโดยเรืออาวุธ
๒. การทำการประมงผิดกฎหมาย
๓. การค้ามนุษย์/การลักลอบเข้าเมือง
๔. การลักลอบขนยาเสพติด/อาวุธ/สินค้าต้องห้าม
๕. การลักลอบค้า/ลำเลียงสินค้าสองวัตถุประสงค์ ข้อห้าม UN
๖. เหตุการณ์ร้ายแรงทางทะเล
๗. การก่อการร้ายทางทะเล
๘. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
๙. การใช้ประโยชน์จากทะเลที่ผิดกฎหมายและเป็นภัยต่อระบบนิเวศทางทะเล
ข้อมูล ฝ่ายปฏิบัติการ ศรชล./กปส.สจว.กพร.ทร.
๑๖ พ.ย.๕๙
Comments