Skip to main content

ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) จมเรือประมง ๘ ลำ บริเวณทะเล จว.เพชรบุรี เพื่อเป็นปะการังเทียม ฟื้นฟูจำนวนทรัพยากรสัตว์น้ำ

          ในวันนี้ ๑๕ พ.ย.๕๙ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) มีกำหนดให้มีการจมเรือประมงจำนวน ๘ ลำ ในทะเลบริเวณ จว.เพชรบุรี (ห่างจากฝั่งประมาณ ๑๒ ไมล์ทะเล) ซึ่งเรือประมงดังกล่าวเป็นเรือประมงที่รัฐบาลรับซื้อจากผู้ประกอบการประมงที่ใช้เครื่องมือประเภทอวนรุนที่นับเป็นเครื่องมือที่ มีประสิทธิภาพในการทำการประมงสูง ส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก 
          ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๔/๒๕๕๘ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายขาด การรายงาน และรายการควบคุม เพิ่มเติม สั่ง ณ วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ กำหนดให้เครื่องมืออวนรุนเป็นอุปกรณ์เครื่องมือทำการประมงชนิดหนึ่ง ที่ผิดกฎหมาย เป็นผลให้เรืออวนรุนทั้งหมดต้องหยุดจับสัตว์น้ำตั้งแต่วันที่ ๖ สิงหาคม 2558 เป็นต้นมา ซึ่งแต่เดิมอวนรุนที่ได้รับอาชญาบัตรจากกรมประมง อย่างถูกต้อง จำนวน 341 ลำ ได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่งดังกล่าว รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนใน ๓ ทางเลือก ได้แก่
               การช่วยเหลือที่ ๑ ชดเชยค่าทำการประมงให้จำนวน ๕๓ วัน รวมเป็นเงิน ๔๗.๗ ล้านบาท
               การช่วยเหลือที่ ๒ ช่วยเหลือสนับสนุน ให้มีการเปลี่ยนเครื่องมือทำการประมงให้ถูกกฎหมาย โดยมีมติคณะรัฐมนตรี ให้ ธนาคารออมสิน จัดทำโครงการ “ประมงไทยก้าวไกลสู่สากล” ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในวงเงิน ๕๐๐ ล้านบาท ให้ชาวประมงไปจัดซื้อเครื่องมือทำประมงที่ถูกกฎหมาย ซึ่งมีเรือที่เข้าร่วม มาตรการนี้ จำนวน ๒๙๗ ลำ (แบ่งเป็นเรือที่ใช้เครื่องมือ อวนรุนเคย ๑๙๒ ลำ , เรืออวนลาก ๑๐๕ ลำ)
               การช่วยเหลือที่ ๓ สำหรับชาวประมงที่ต้องการจะหันไปประกอบอาชีพอื่น รัฐบาลมีการช่วยเหลือด้วยการรับซื้อเรือคืนจากชาวประมงที่ต้องการจะหันไปประกอบอาชีพอื่น รัฐบาลมีการช่วยเหลือด้วยการรับซื้อเรือคืนจากชาวประมง ในราคาร้อยละ ๕๐ ของราคาประเมินเรือ ไม่คิดค่าเครื่องยนต์และอุปกรณ์อื่น ซึ่งมีเรือที่เข้าร่วมมาตรการนี้จำนวน ๔๘ ลำ จากแนวทางดังกล่าวมีเรือเข้าร่วมโครงการในมาตรการที่ ๓ จำนวน ๔๘ ลำ
          กรมประมงได้นำเรือที่จัดซื้อคืนจากชาวประมง ไปจัดทำปะการังเทียม ใช้วงเงินในการจัดซื้อเหลือ จำนวน ๑๓๙ ล้านบาท จัดจ้างเอกชนมาทำความสะอาดและเทซีเมนต์เพื่อใช้เป็นน้ำหนักถ่วงเรือ จำนวน ๕.๗ ล้านบาท โดยเริ่มทำการจมเรือประมงตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ จนถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ จมไปแล้วจำนวน ๓๒ ลำ และจะทำการจมเรือเพิ่มเติมในระหว่างวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ จนถึง ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ อีกจำนวน ๑๖ ลำ 
          แนวทางการจมเรือได้กำหนดพื้นที่ที่จัดวางปะการังเทียมและจมเรือ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ๒ ลำ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๓๐ ลำ ในบริเวณเกาะเต่าและเกาะพะงัน และจังหวัดเพชรบุรีจำนวน ๑๖ ลำ 
               ขั้นตอนในการจมเรือประมงเพื่อนำไปจัดทำปะการังเทียม
                        ๑. ดำเนินการถอดอุปกรณ์ เช่น เครื่องยนต์ ใบจักร พังงา ฯลฯ
                        ๒. เทซีเมนต์ โดยคำนวณซีเมนต์ที่ใช้เป็นสัดส่วนต่อน้ำหนักของเรือ
                        ๓. ลากเรือประมงเข้าสู่จุดจมเรือ
                        ๔. ปล่อยน้ำเข้าเรือ
          ทั้งนี้การลดจำนวนประเภทเรืออวนรุน คาดว่าจะทำให้จำนวนทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเลในน่านน้ำประเทศไทยจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น เป็นการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้ยั่งยืนต่อไป อันเป็นแนวทางที่ ศปมผ. จะต้องเดินหน้าแก้ปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายอย่างเต็มที่ต่อไป
                                                                                                            ข้อมูล ปชส.ศปมผ. ๑๕ พ.ย.๕๙

Comments

Popular posts from this blog

กง.ทร.พัฒนาระบบ E-mobile Slip ใช้ตรวจสอบข้อมูลใบจ่ายเงินเดือนผ่านสมาร์ทโฟน

เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ข้าราชการกองทัพเรือ กองทัพเรือ โดยกรมการเงินทหารเรือ ได้พัฒนาระบบ E-mobile Slip เพื่อให้ข้าราชการกองทัพเรือสามารถตรวจสอบข้อมูลใบจ่ายเงินเดือนได้ด้วยตนเองผ่านทางระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Smart Phone) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เข้าลงทะเบียนผู้ใช้งานครั้งแรก เพื่อตั้งค่ารหัสผ่านในเว็บไซต์กรมการเงินทหารเรือที่ http://info.navy.mi.th/finance แบนเนอร์ “สลิปเงินเดือน” หลังเข้าลงทะเบียนผู้ใช้งานแล้ว โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Android สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมผ่าน Play Store โดยค้นหาคำว่า “e-slip” และติดตั้งโปรแกรมในโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ iOS ให้เปิด Browser และเข้าเว็บไซต์ http://www.finance.navy.mi.th/mobile_https หรือด้วยการสแกนผ่านบาร์โค้ดในเว็บไซต์กรมการเงินทหารเรือ จากนั้นจึงเข้าใช้งานด้วยรหัสผู้ใช้งานเป็นเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก และรหัสผ่านที่ตั้งไว้ ข้อมูล กง.ทร. ๒๘ ก.ย.๕๙

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสมเด็จพระปิ่นเกล้า งานสวัสดิการ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ

โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ได้เปิดศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสมเด็จพระปิ่นเกล้า “พฤฒเวชโฮมแคร์” ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ โดยทีมงานคุณภาพมาตรฐาน เพื่อความสุขสบายของคนที่คุณรัก ภายในบรรยากาศที่อบอุ่นเสมือนบ้าน รับผู้สูงอายุชาย – หญิง อายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป            นอกจากนั้นยังจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ตามสภาพร่างกาย และความเหมาะสมของผู้เข้ารับการบริการ เช่น การทำบุญตักบาตร การสวดมนต์ การสนทนา โดยใช้หลักจิตวิทยาเพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง การออกกำลังกาย กิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีบริการแพทย์ตรวจเยี่ยม ๒ ครั้งต่อเดือน แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูตรวจเยี่ยม ๑ ครั้งต่อเดือน พยาบาลวิชาชีพเยี่ยมประเมิน ๔ ครั้งต่อเดือน ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสมเด็จพระปิ่นเกล้า งานสวัสดิการ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโลเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์หมายเลข ๐๖ ๑๖๑๕ ๒๖๕๒ และ ๐๘ ๖๓๘๒ ๗๖๙๙                                                                         ข้อมูล รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ

กิจการการฌาปนกิจสงเคราะห์แห่งราชนาวีให้บริการจัดการศพแบบครบวงจร

ฌาปนสถานกองทัพเรือ วัดเครือวัลย์วรวิหาร ให้บริการจัดการศพแบบครบวงจร โดยให้คำแนะนำในการแจ้งเสียชีวิตและจัดการศพ, ติดต่อประสานงานกับการฌาปนกิจสงเคราะห์แห่งราชนาวี, จัดหาหีบศพพร้อมรถบริการรับ-ส่งศพ, จัดหาดอกไม้ประดับหน้าศพและพวงหรีด, จัดหาเครื่องไทยธรรมพร้อมดอกไม้ถวายพระ, จัดหาอาหารและเครื่องดื่ม, จัดหาดอกไม้จันทน์พร้อมช่อเชิญประธาน และติดต่อแนะนำสถานที่ในการลอยอังคาร สอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๖๕ ๑๐๑๓, ๐ ๒๔๗๕ ๕๑๖๒, ๐ ๒๔๗๕ ๓๒๑๙ ข้อมูล กิจการการฌาปนกิจสงเคราะห์แห่งราชนาวี ๑๔ พ.ค.๕๘