เนื่องด้วยวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันระลึกทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก ทหารนอกประจำการ ตลอดจนผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรบ ได้กำหนดจัดพิธีวางพวงมาลา เพื่อเป็นการแสดงความระลึกถึงวีรกรรมและความเสียสละของทหารอาสา สงครามโลกครั้งที่ ๑ ณ อนุสาวรีย์ทหารอาสา บริเวณท้องสนามหลวง
โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์วางพวงมาลา ในเวลาประมาณ ๑๕๓๐ และจะมีผู้แทนส่วนราชการ สมาคม ผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศประจำประเทศไทย ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ร่วมวางพวงมาลา ตั้งแต่เวลา ๑๔๔๐ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการประวัติสงครามโลกครั้งที่ ๑ ให้ความรู้แก่ผู้มาร่วมงานด้วย
สงครามโลกครั้งที่ ๑ ซึ่งเป็นสงครามที่มีคนไทยเข้าไปร่วมด้วย โดยเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ อันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างออสเตรียกับเซอร์เบีย โดยคู่กรณีสงครามแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายเยอรมนี มี พันธมิตรผู้หนุนหลังประกอบด้วย ออสเตรีย ฮังการี บัลแกเรีย และตุรกี และฝ่าย สัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ รวม ๒๕ ประเทศ
เมื่อสงครามอุบัติขึ้น ได้ขยายขอบเขตไปตามภูมิภาคต่าง ๆ จนมาถึงทวีปเอเชีย โดยประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับเยอรมนี สำหรับประเทศไทยซึ่งในขณะนั้นมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประมุข พระองค์มิได้ทรงนิ่งนอนพระทัย มีพระบรมราชวินิจฉัยด้วยพระปรีชาญาณ ทรงตัดสินพระทัยร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร (ประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมนี) โดยทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศสงคราม เมื่อเวลาประมาณ ๒๔๐๐ น. ของวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐
หลังจากที่ประเทศไทยตัดสินใจเข้าร่วมสงคราม แล้ว กระทรวงกลาโหมได้ประกาศรับสมัครทหารอาสา โดยในขั้นต้นได้คัดเลือกไว้จำนวน ๑,๓๘๕ คน จากนั้นมีการอบรมและทดสอบ เหลือกำลังปฏิบัติการ ๑,๒๘๔ นาย จัดเป็นกองทหารอาสา โดยมี พันเอก พระยาเฉลิมอากาศ หรือ สุณี สุวรรณประทีป เป็นผู้บังคับการ กองทหารอาสาของไทยในครั้งนั้น แบ่งออกเป็น ๓ หน่วยด้วยกัน คือ กองทหารบกรถยนต์ กองบินทหารบก และ กองพยาบาล โดยทหารอาสาทั้งหมดนี้ได้กระทำพิธีสาบานตนต่อธงไชยเฉลิมพล ณ บริเวณหน้าวังสราญรมย์ และในวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ กองทหารอาสาได้ออกเดินทางจากท่าราชวรดิฐ โดยเรือกล้าทะเลและเรือศรีสมุทรเพื่อไปขึ้นเรือเอมไพร์ ซึ่งประเทศฝรั่งเศสส่งมารับที่เกาะสีชัง เพื่อเดินทางต่อไปยังสิงคโปร์ ลังกา สุเอซ ถึงเมืองมาร์แซลล์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๑ หลังจากนั้นได้เดินทางไปเข้าที่ตั้งเพื่อรับการฝึกก่อนส่งตัวเข้าปฏิบัติการ รบในสมรภูมิ
สงครามโลกครั้งที่ ๑ เกิดขึ้นยืดเยื้อยาวนานถึง ๔ ปี จนกระทั่งในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑ เยอรมนีได้ติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรขอเจรจาสงบศึก โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสัญญาสงบศึกบนรถไฟ ณ เมืองคองเปียน ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑ วันสำคัญวันนี้ของทุกปีจึงถูกกำหนดให้เป็น “วันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑”
ข้อมูล กพร.ทร. ๒ พ.ย.๕๙
โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์วางพวงมาลา ในเวลาประมาณ ๑๕๓๐ และจะมีผู้แทนส่วนราชการ สมาคม ผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศประจำประเทศไทย ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ร่วมวางพวงมาลา ตั้งแต่เวลา ๑๔๔๐ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการประวัติสงครามโลกครั้งที่ ๑ ให้ความรู้แก่ผู้มาร่วมงานด้วย
รูปภาพจาก : http://www.kroobannok.com/22108 |
เมื่อสงครามอุบัติขึ้น ได้ขยายขอบเขตไปตามภูมิภาคต่าง ๆ จนมาถึงทวีปเอเชีย โดยประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับเยอรมนี สำหรับประเทศไทยซึ่งในขณะนั้นมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประมุข พระองค์มิได้ทรงนิ่งนอนพระทัย มีพระบรมราชวินิจฉัยด้วยพระปรีชาญาณ ทรงตัดสินพระทัยร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร (ประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมนี) โดยทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศสงคราม เมื่อเวลาประมาณ ๒๔๐๐ น. ของวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐
หลังจากที่ประเทศไทยตัดสินใจเข้าร่วมสงคราม แล้ว กระทรวงกลาโหมได้ประกาศรับสมัครทหารอาสา โดยในขั้นต้นได้คัดเลือกไว้จำนวน ๑,๓๘๕ คน จากนั้นมีการอบรมและทดสอบ เหลือกำลังปฏิบัติการ ๑,๒๘๔ นาย จัดเป็นกองทหารอาสา โดยมี พันเอก พระยาเฉลิมอากาศ หรือ สุณี สุวรรณประทีป เป็นผู้บังคับการ กองทหารอาสาของไทยในครั้งนั้น แบ่งออกเป็น ๓ หน่วยด้วยกัน คือ กองทหารบกรถยนต์ กองบินทหารบก และ กองพยาบาล โดยทหารอาสาทั้งหมดนี้ได้กระทำพิธีสาบานตนต่อธงไชยเฉลิมพล ณ บริเวณหน้าวังสราญรมย์ และในวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ กองทหารอาสาได้ออกเดินทางจากท่าราชวรดิฐ โดยเรือกล้าทะเลและเรือศรีสมุทรเพื่อไปขึ้นเรือเอมไพร์ ซึ่งประเทศฝรั่งเศสส่งมารับที่เกาะสีชัง เพื่อเดินทางต่อไปยังสิงคโปร์ ลังกา สุเอซ ถึงเมืองมาร์แซลล์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๑ หลังจากนั้นได้เดินทางไปเข้าที่ตั้งเพื่อรับการฝึกก่อนส่งตัวเข้าปฏิบัติการ รบในสมรภูมิ
สงครามโลกครั้งที่ ๑ เกิดขึ้นยืดเยื้อยาวนานถึง ๔ ปี จนกระทั่งในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑ เยอรมนีได้ติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรขอเจรจาสงบศึก โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสัญญาสงบศึกบนรถไฟ ณ เมืองคองเปียน ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑ วันสำคัญวันนี้ของทุกปีจึงถูกกำหนดให้เป็น “วันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑”
ข้อมูล กพร.ทร. ๒ พ.ย.๕๙
Comments