สมาคมภริยาทหารเรือ มอบทุนการศึกษา เงินสนับสนุนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และเงินสนับสนุนศูนย์รับเลี้ยงเด็กปฐมวัยกองทัพเรือ
เมื่อวันที่ ๒๓ ก.ค.๖๐ พลเรือเอก สุชีพ หวังไมตรี ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ มอบหมายให้ พลเรือตรี ภิญโญ โตเลี้ยง ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ร่วมพิธี มอบทุนการศึกษา เงินสนับสนุนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และเงินสนับสนุนศูนย์รับเลี้ยงเด็กปฐมวัยกองทัพเรือ ที่อยู่ในความดูแลของสมาคมภริยาทหารเรือ ประจำปี 2560 และรับมอบเงินสนับสนุนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ กองเรือยุทธการ จาก คุณปราณี อารีนิจ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ จำนวน 20,000 บาท ณ หอประชุม หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
สำหรับ โครงการอาชาบำบัดให้กับเด็กออทิสติก หรือ เด็กพิเศษ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓โดยคุณ ดวงพร พุ่มหิรัญ นายกสมาคมภริยาทหารเรือในสมัยนั้น (พ.ศ.๒๕๕๓) การสร้างศูนย์แห่งนี้ขึ้นมาก็เพื่อบำบัดเยาวชนที่มีความผิดปกติทางร่างกาย อารมณ์ และสมาธิสั้นหรือเด็กพิเศษ ให้มีพัฒนาการต่างๆ ที่ดีขึ้น โดยม้าจะเป็นผู้บำบัดร่วมกับบุคลากรของกองพันลาดตระเวน และผู้ปกครอง อันเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับเด็กพิเศษและเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะเด็กออทิสติกที่ได้จากการบำบัด คือ ให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น ลดความกร้าวร้าว ให้สุขุมเยือกเย็น ปรับสภาพร่างกายที่ผิดปกติให้เข้าสู่ความสมดุล สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ในส่วนวิธีการบำบัด เริ่มจากการอบอุ่นร่างกาย เมื่อทำความรู้จักคุ้นเคยกับม้าแล้ว ก็จะขึ่หลังม้า โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารดูแล ๒ นาย เจ้าหน้าที่คนที ๑ จะดูแลม้า คนที่สองจะดูแลเด็ก พาขี่ม้าไปรอบๆ ฝึกในการขี่ม้า การสัมผัสต่างๆ เปิด ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐น. และ ๑๔.๐๐ - ๑๖๐๐ น. หยุด วันเสาร์ - อาทิตย์ที่ ๑ และ ๓ ของเดือน และวันหยุดนักขัตฤกษ์ไม่มีค่าใช้จ่ายในการบริการ แต่ต้องมาเขียนใบสมัครเพื่อรอลำดับการเข้ามาบำบัด
ข้อมูล สมาคมภริยาทหารเรือ ๒๔ ก.ค.๖๐
สำหรับ โครงการอาชาบำบัดให้กับเด็กออทิสติก หรือ เด็กพิเศษ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓โดยคุณ ดวงพร พุ่มหิรัญ นายกสมาคมภริยาทหารเรือในสมัยนั้น (พ.ศ.๒๕๕๓) การสร้างศูนย์แห่งนี้ขึ้นมาก็เพื่อบำบัดเยาวชนที่มีความผิดปกติทางร่างกาย อารมณ์ และสมาธิสั้นหรือเด็กพิเศษ ให้มีพัฒนาการต่างๆ ที่ดีขึ้น โดยม้าจะเป็นผู้บำบัดร่วมกับบุคลากรของกองพันลาดตระเวน และผู้ปกครอง อันเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับเด็กพิเศษและเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะเด็กออทิสติกที่ได้จากการบำบัด คือ ให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น ลดความกร้าวร้าว ให้สุขุมเยือกเย็น ปรับสภาพร่างกายที่ผิดปกติให้เข้าสู่ความสมดุล สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ในส่วนวิธีการบำบัด เริ่มจากการอบอุ่นร่างกาย เมื่อทำความรู้จักคุ้นเคยกับม้าแล้ว ก็จะขึ่หลังม้า โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารดูแล ๒ นาย เจ้าหน้าที่คนที ๑ จะดูแลม้า คนที่สองจะดูแลเด็ก พาขี่ม้าไปรอบๆ ฝึกในการขี่ม้า การสัมผัสต่างๆ เปิด ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐น. และ ๑๔.๐๐ - ๑๖๐๐ น. หยุด วันเสาร์ - อาทิตย์ที่ ๑ และ ๓ ของเดือน และวันหยุดนักขัตฤกษ์ไม่มีค่าใช้จ่ายในการบริการ แต่ต้องมาเขียนใบสมัครเพื่อรอลำดับการเข้ามาบำบัด
ข้อมูล สมาคมภริยาทหารเรือ ๒๔ ก.ค.๖๐
Comments