ศปมผ. ฝึกภาคปฏิบัติในทะเลตามสถานการณ์จริง หลักสูตรป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับในทะเล เพื่อคุ้มครองแรงงานภาคประมงภายใต้เงื่อนไขอันจำกัดต่างๆ
เมื่อวันที่ ๒๑ ธ.ค.๕๙ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) โดยคณะทำงานแก้ไขปัญหาการบังคับใช้แรงงานในเรือประมง ประกอบด้วย กองทัพเรือ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานกฤษฎีกา กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กรมการจัดหางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมสอบสวนคดีพิเศษ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และองค์กรเอกชน ในการนี้กองทัพเรือ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดการฝึกภาคปฏิบัติในทะเลตามสถานการณ์จริงของหลักสูตรป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับในทะเล พื้นที่ฝึกบริเวณอ่าวไทยตอนบน ระหว่างเวลา ๐๖๐๐ – ๑๒๐๐ โดยมี น.อ.ดรณ์ ทิพนันท์ ผู้อำนวยการกองกิจการความมั่นคงภายใน สำนักกิจการความมั่นคง กรมยุทธการทหารเรือและเลขานุการคณะอนุกรรมการปราบปรามการค้ามนุษย์และบังคับใช้แรงงานในภาคประมง เป็นผู้อำนวยการในการฝึกฯ
ตามที่ ศปมผ. ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้แก้ปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal Unreported Unregulated Fishing หรือ IUU) ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้แรงงานและการปราบปรามการค้ามนุษย์ในภาคประมง จึงตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาการบังคับใช้แรงงานในเรือประมงเมื่อ ๒ ก.ค.๕๘ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ด้านคุ้มครองแรงงาน ด้านปราบปรามการค้ามนุษย์ ด้านการปฏิบัติการในทะเล และกฎหมายระหว่างประเทศ จากหน่วยงานต่างๆ ที่ดำเนินการฝึกฯ ข้างต้น เพื่อจัดทำหลักสูตรสำหรับฝึกอบรมให้แก่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายในเรือไทย ในอาณาเขตทางทะเลต่างๆ และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถปฏิบัติการคุ้มครองแรงงานภาคประมงภายใต้เงื่อนไขอันจำกัดของสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ภายในเรือ การติดต่อสื่อสาร และระยะเวลาในการปฏิบัติการ กับสร้างเครือข่ายเพื่อบูรณาการบังคับใช้กฎหมายในทะเลอย่างยั่งยืน ซึ่งคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (กปค.) ได้รับรองหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรชาติ ตามมติที่ประชุม กปค. ครั้งที่ ๑ /๒๕๕๘ เมื่อ ๒๕ พ.ย.๕๘ โดยให้กองทัพเรือร่วมกับศูนย์ประชาบดีจัดการฝึกอบรมฯ โดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ และ เป็นพนักงานตรวจแรงงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑
ณ ปัจจุบัน ได้ทำการฝึกอบรมให้กับข้าราชการในสังกัด กองทัพเรือ, กองบังคับการตำรวจน้ำ, กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์, กรมประมง, กรมเจ้าท่า, กรมศุลกากร, กรมการจัดหางาน, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการที่มีเขตอำนาจในทะเลหรือติดชายทะเล ไปแล้ว ๔ รุ่น เป็นจำนวน ๑๖๒ นายรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ ๕ จำนวน ๔๐ นาย (รุ่นนำร่องทดลองหลักสูตร ก่อนที่คณะกรรมการ กปค.รับรองอีก ๓๕ นาย) ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนความรู้ในกฎหมายสาระบัญญัติอันเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานประมง การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ ในส่วนที่ว่าด้วยการ ตรวจค้น จับกุม การส่งมอบผู้เสียหาย ผู้ต้องหาและพยานหลักฐานให้กับพนักงานสอบสวน และยังสร้างเสริมความรู้ในกฎหมายลักษณะพยานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายในทะเล รวมทั้งวิธีการและเทคนิคในการ ตรวจ ค้นหา รวบรวม และเก็บรักษาพยานหลักฐานทั่วไปและพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ กับเทคนิคในการจำแนกแรงงานกลุ่มเสี่ยง ที่มีความเปราะบางออกจากแรงงานอื่นที่อยู่ในเรือ เทคนิคการสัมภาษณ์กลุ่มเสี่ยง การทวนสอบคำตอบ และการฝึกปฏิบัติภาคที่ตั้งและภาคทะเล ระยะเวลาฝึกอบรม ๘ วัน ทำการอบรมตั้งแต่เวลา ๐๘๓๐ – ๑๘๐๐ ที่ผ่านมาผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความตั้งใจเป็นอย่างดี
ในการนี้ ผู้เข้ารับการฝึกในแต่ละรุ่น ยังคงดำรงการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลทางการข่าว กับสนับสนุนความรู้ทางด้านกฎหมายและความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายในทะเล ทั้งการคุ้มครองแรงงาน การปราบปรามการค้ามนุษย์ และกฎหมายอื่นตามอำนาจหน้าที่ของตน อย่างต่อเนื่อง ผ่าน application Line ซึ่งใน Group จะมีบุคลการทุกสาขาอาชีพที่ปฏิบัติงานในทะเลและที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งพนักงานสอบสวน อัยการ และอาจารย์ กับทั้งยังมี Group Line รวมทุกรุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและสนับสนุนเกื้อกูลข้อมูลกันด้วย จึงมั่นใจได้ว่าผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถบูรณาการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการปฏิบัติในวันนี้ตรวจพบเรือประมง ส.โชคชิงชัย 555 พร้อมลูกเรือ ๒๑ คน (ชาวไทย ๓ คน ชาวกัมพูชา ๑๘ คน) บริเวณทิศตะวันตก ของเกาะแสมสาร จ.ชลบุรี ซึ่งมีลูกเรือประมงต่างด้าวเกินกว่าที่แจ้งออกจากท่า จำนวน ๑๐ คน ทำงานในเรือประมงโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ตรงกับที่แจ้งศูนย์ PIPO จึงได้ควบคุม เรือประมงลำดังกล่าวมายังท่าเทียบเรือ กองบัญชาการ กองเรือยุทธการ (ท่าเรือ บก.กลางอ่าว) และนำส่ง สภ.สัตหีบ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ข้อมูล สน.ปชส.ศปมผ. ๒๒ ธ.ค.๕๙
ตามที่ ศปมผ. ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้แก้ปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal Unreported Unregulated Fishing หรือ IUU) ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้แรงงานและการปราบปรามการค้ามนุษย์ในภาคประมง จึงตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาการบังคับใช้แรงงานในเรือประมงเมื่อ ๒ ก.ค.๕๘ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ด้านคุ้มครองแรงงาน ด้านปราบปรามการค้ามนุษย์ ด้านการปฏิบัติการในทะเล และกฎหมายระหว่างประเทศ จากหน่วยงานต่างๆ ที่ดำเนินการฝึกฯ ข้างต้น เพื่อจัดทำหลักสูตรสำหรับฝึกอบรมให้แก่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายในเรือไทย ในอาณาเขตทางทะเลต่างๆ และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถปฏิบัติการคุ้มครองแรงงานภาคประมงภายใต้เงื่อนไขอันจำกัดของสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ภายในเรือ การติดต่อสื่อสาร และระยะเวลาในการปฏิบัติการ กับสร้างเครือข่ายเพื่อบูรณาการบังคับใช้กฎหมายในทะเลอย่างยั่งยืน ซึ่งคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (กปค.) ได้รับรองหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรชาติ ตามมติที่ประชุม กปค. ครั้งที่ ๑ /๒๕๕๘ เมื่อ ๒๕ พ.ย.๕๘ โดยให้กองทัพเรือร่วมกับศูนย์ประชาบดีจัดการฝึกอบรมฯ โดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ และ เป็นพนักงานตรวจแรงงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑
ณ ปัจจุบัน ได้ทำการฝึกอบรมให้กับข้าราชการในสังกัด กองทัพเรือ, กองบังคับการตำรวจน้ำ, กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์, กรมประมง, กรมเจ้าท่า, กรมศุลกากร, กรมการจัดหางาน, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการที่มีเขตอำนาจในทะเลหรือติดชายทะเล ไปแล้ว ๔ รุ่น เป็นจำนวน ๑๖๒ นายรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ ๕ จำนวน ๔๐ นาย (รุ่นนำร่องทดลองหลักสูตร ก่อนที่คณะกรรมการ กปค.รับรองอีก ๓๕ นาย) ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนความรู้ในกฎหมายสาระบัญญัติอันเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานประมง การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ ในส่วนที่ว่าด้วยการ ตรวจค้น จับกุม การส่งมอบผู้เสียหาย ผู้ต้องหาและพยานหลักฐานให้กับพนักงานสอบสวน และยังสร้างเสริมความรู้ในกฎหมายลักษณะพยานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายในทะเล รวมทั้งวิธีการและเทคนิคในการ ตรวจ ค้นหา รวบรวม และเก็บรักษาพยานหลักฐานทั่วไปและพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ กับเทคนิคในการจำแนกแรงงานกลุ่มเสี่ยง ที่มีความเปราะบางออกจากแรงงานอื่นที่อยู่ในเรือ เทคนิคการสัมภาษณ์กลุ่มเสี่ยง การทวนสอบคำตอบ และการฝึกปฏิบัติภาคที่ตั้งและภาคทะเล ระยะเวลาฝึกอบรม ๘ วัน ทำการอบรมตั้งแต่เวลา ๐๘๓๐ – ๑๘๐๐ ที่ผ่านมาผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความตั้งใจเป็นอย่างดี
ในการนี้ ผู้เข้ารับการฝึกในแต่ละรุ่น ยังคงดำรงการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลทางการข่าว กับสนับสนุนความรู้ทางด้านกฎหมายและความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายในทะเล ทั้งการคุ้มครองแรงงาน การปราบปรามการค้ามนุษย์ และกฎหมายอื่นตามอำนาจหน้าที่ของตน อย่างต่อเนื่อง ผ่าน application Line ซึ่งใน Group จะมีบุคลการทุกสาขาอาชีพที่ปฏิบัติงานในทะเลและที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งพนักงานสอบสวน อัยการ และอาจารย์ กับทั้งยังมี Group Line รวมทุกรุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและสนับสนุนเกื้อกูลข้อมูลกันด้วย จึงมั่นใจได้ว่าผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถบูรณาการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการปฏิบัติในวันนี้ตรวจพบเรือประมง ส.โชคชิงชัย 555 พร้อมลูกเรือ ๒๑ คน (ชาวไทย ๓ คน ชาวกัมพูชา ๑๘ คน) บริเวณทิศตะวันตก ของเกาะแสมสาร จ.ชลบุรี ซึ่งมีลูกเรือประมงต่างด้าวเกินกว่าที่แจ้งออกจากท่า จำนวน ๑๐ คน ทำงานในเรือประมงโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ตรงกับที่แจ้งศูนย์ PIPO จึงได้ควบคุม เรือประมงลำดังกล่าวมายังท่าเทียบเรือ กองบัญชาการ กองเรือยุทธการ (ท่าเรือ บก.กลางอ่าว) และนำส่ง สภ.สัตหีบ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ข้อมูล สน.ปชส.ศปมผ. ๒๒ ธ.ค.๕๙
Comments