ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ (ศบภ.ทร.) ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในกรณีประสบอุทกภัยน้ำท่วม โดยได้จัดส่ง หน่วยเฉพาะกิจเรือผลักดันน้ำกองทัพเรือและเดินทางถึงเดินทางถึงอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ รวมทั้งสิ้น ๓๔ คัน โดยบรรทุกเรือผลักดันน้ำ ๓๕ ลำ ถึงอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังเร่งดำเนินการติดตั้งเรือผลักดันน้ำ บริเวณสะพานบ้านนาเพียง (ข้ามแม่ย้ำศรีสงคราม) บ้านปากอูน ตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เพื่อเร่งระบายลงสู่แม่น้ำโขง ผ่านแม่น้ำสงคราม ช่วงปากอูน - ศรีสงคราม ตำบลไชยบุรีอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ทั้งนี้ ก่อนที่ขบวนรถลำเลียงเรือผลักดันน้ำมาถึง พลเรือตรี กฤชพล เรียงเล็กจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ในฐานะรองหัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือนศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ พลเรือตรีวราห์ แทนขํา ผู้บัญชาการหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง และ นาวาเอก ปิยะ ปฐมบูรณ์ หัวหน้าชุดส่วนล่วงหน้าชุดเฉพาะกิจเรือผลักดันน้ำกองทัพเรือ ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานระบายน้ำในพื้นที่ วางแผน และออกสำรวจพื้นที่จุดติดตั้งเรือผลักดันน้ำ ซึ่งประสิทธิภาพในการผลักดันน้ำสามารถผลักดันน้ำต่อเนื่องได้๒๔.๒ ลูกบาศก์เมตร/นาที จะสามารถดึงน้ำรอบ ๆ ตัวไปได้ ๑ : ๓ หรือประมาณ ๗๒.๗ ลูกบาศก์เมตร/นาที
สำหรับชุดเฉพาะกิจเรือผลักดันน้ำ กองทัพเรือ ประกอบด้วย กำลังพล ๑๗๐ นาย เรือผลักดันน้ำจำนวน ๓๕ ลำ รถยนต์บรรทุก ๑๗ คัน และรถชานต่ำ ๖ คัน โดยมี นาวาเอก อภิชาติ ทินนะลักษณ์ รองผู้อำนวยการพัฒนาการบริหาร อู่ทหารเรือป้อมพระจุลจอมเกล้า เป็นหัวหน้าชุดเฉพาะกิจเรือผลักดันน้ำ กองทัพเรือ ซึ่งมีหน่วยงานกองทัพเรือในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและสัตหีบ ให้การสนับสนุนรถลำเลียงเรือผลักดันน้ำ ได้แก่ ฐานทัพเรือกรุงเทพ กรมการขนส่งทหารเรือ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ฐานทัพเรือสัตหีบ กรมสรรพาวุธทหารเรือ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กรมก่อสร้างและพัฒนา ฐานทัพเรือสัตหีบ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ และกรมสารวัตรทหารเรือ ซึ่งเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ เวลา ๒๔.๐๐ น. ได้ขนย้ายเรือผลักดันน้ำลงรถลำเลียง ณ อู่ทหารเรือ พระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยออกเดินทาง ในเวลา ๐๓.๐๐ น. เรือผลักดันน้ำนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการระบายน้ำเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ครั้งละปริมาณมาก อีกทั้งยังสามารถชะล้างไล่ดินเลนที่ตกตะกอนอยู่ก้นแอ่งให้หมดไป ทำให้น้ำไหลได้สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เป็นแอ่ง เป็นบึงและคอขวด เนื่องจากเป็นที่ลุ่มระบายน้ำออก ได้ลำบากและไหลได้ไม่เร็ว
ข้อมูล ศบภ.ทร. ๔ ส.ค.๖๐
ทั้งนี้ ก่อนที่ขบวนรถลำเลียงเรือผลักดันน้ำมาถึง พลเรือตรี กฤชพล เรียงเล็กจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ในฐานะรองหัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือนศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ พลเรือตรีวราห์ แทนขํา ผู้บัญชาการหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง และ นาวาเอก ปิยะ ปฐมบูรณ์ หัวหน้าชุดส่วนล่วงหน้าชุดเฉพาะกิจเรือผลักดันน้ำกองทัพเรือ ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานระบายน้ำในพื้นที่ วางแผน และออกสำรวจพื้นที่จุดติดตั้งเรือผลักดันน้ำ ซึ่งประสิทธิภาพในการผลักดันน้ำสามารถผลักดันน้ำต่อเนื่องได้๒๔.๒ ลูกบาศก์เมตร/นาที จะสามารถดึงน้ำรอบ ๆ ตัวไปได้ ๑ : ๓ หรือประมาณ ๗๒.๗ ลูกบาศก์เมตร/นาที
สำหรับชุดเฉพาะกิจเรือผลักดันน้ำ กองทัพเรือ ประกอบด้วย กำลังพล ๑๗๐ นาย เรือผลักดันน้ำจำนวน ๓๕ ลำ รถยนต์บรรทุก ๑๗ คัน และรถชานต่ำ ๖ คัน โดยมี นาวาเอก อภิชาติ ทินนะลักษณ์ รองผู้อำนวยการพัฒนาการบริหาร อู่ทหารเรือป้อมพระจุลจอมเกล้า เป็นหัวหน้าชุดเฉพาะกิจเรือผลักดันน้ำ กองทัพเรือ ซึ่งมีหน่วยงานกองทัพเรือในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและสัตหีบ ให้การสนับสนุนรถลำเลียงเรือผลักดันน้ำ ได้แก่ ฐานทัพเรือกรุงเทพ กรมการขนส่งทหารเรือ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ฐานทัพเรือสัตหีบ กรมสรรพาวุธทหารเรือ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กรมก่อสร้างและพัฒนา ฐานทัพเรือสัตหีบ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ และกรมสารวัตรทหารเรือ ซึ่งเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ เวลา ๒๔.๐๐ น. ได้ขนย้ายเรือผลักดันน้ำลงรถลำเลียง ณ อู่ทหารเรือ พระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยออกเดินทาง ในเวลา ๐๓.๐๐ น. เรือผลักดันน้ำนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการระบายน้ำเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ครั้งละปริมาณมาก อีกทั้งยังสามารถชะล้างไล่ดินเลนที่ตกตะกอนอยู่ก้นแอ่งให้หมดไป ทำให้น้ำไหลได้สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เป็นแอ่ง เป็นบึงและคอขวด เนื่องจากเป็นที่ลุ่มระบายน้ำออก ได้ลำบากและไหลได้ไม่เร็ว
ข้อมูล ศบภ.ทร. ๔ ส.ค.๖๐
Comments