กองทัพเรือ เตรียมการฝึกการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ การฝึกร่วมกองทัพไทย ประจำปี ๒๕๖๐
เมื่อวันที่ ๒๑ มิ.ย.๖๐ กรมแพทย์ทหารเรือ จัดตั้งโรงพยาบาลสนามบนเรือหลวงอ่างทอง ในการเตรียมการฝึกให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ การฝึกร่วมกองทัพไทย ประจำปี ๒๕๖๐
สำหรับการฝึกการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติฯ ในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่าง ๑๙ – ๒๓ มิ.ย.๖๐ โดยเป็นการบูรณาการการฝึกร่วมระหว่างกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และหน่วยงานฝ่ายพลเรือน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในกลไกประสานงานร่วมระหว่าง ทหาร พลเรือน และภาคประชาสังคม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการภัยพิบัติตามระดับความรุนแรงของภัยพิบัติ เพื่อบูรณาการ การฝึกร่วมกองทัพไทยกับการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของฝ่ายพลเรือน เพื่อให้ฝ่ายพลเรือนได้ทราบถึงบทบาทและภารกิจของกองทัพไทยในด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ โดยกำหนดสถานการณ์ให้เกิดพายุครั้งใหญ่พัดถล่มพื้นที่ทะเลภาคตะวันออก ความรุนแรงระดับ ๔ นายกรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้ตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัย (ส่วนหน้า) ขึ้นในพื้นที่ และมีส่วนงานของกองทัพเข้าร่วมให้การช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างบูรณาการร่วมกับจังหวัดระยอง โดยมีศูนย์พักพิงสำหรับผู้ประสบภัย มีการฝึกช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอาคารถล่ม จากกระแสน้ำเชี่ยวกราก น้ำท่วมฉับพลัน สารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรมรั่วไหล การนำส่งผู้ได้รับบาดเจ็บไปสู่โรงพยาบาล การค้นหาผู้ประสบภัยภายใต้สิ่งปรักหักพังด้วยช้างและสุนัขดมกลิ่น การช่วยเหลือเรือประสบภัยในทะเลด้วยเรือหลวงอ่างทอง และเฮลิคอปเตอร์จากกองทัพอากาศ เป็นต้น การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ในส่วนของกองทัพเรือจะใช้หลักการ "From The Sea"คือการให้ความช่วยเหลือจากทะเลขึ้นสู่ฝั่ง โดยจะทำการสถาปนาเรือหลวงอ่างทองเป็นศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ เพื่อการบัญชาการ วางแผน และสั่งการในการแก้ปัญหาในพื้นที่ภัยพิบัติบนบก โดยการจัดตั้งฐานส่งกำลังบำรุงส่วนหน้าในพื้นที่ภัยพิบัติ เพื่อเป็นพื้นที่รวบรวม ผู้ป่วยเพื่อการส่งกลับสายแพทย์ ฐานสื่อสาร ศูนย์ผู้ประสบภัยส่วนหน้า ในพื้นที่ภัยพิบัติ ฐานรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ การลำเลียงกำลังพล สิ่งของ ยุทโธปกรณ์ขึ้นฝั่ง การวิเคราะห์ความเสียหายพื้นที่ของทีม NAST (Navy Assessment Team) ประกอบด้วยชุดผู้เชี่ยวชาญการประเมิน/เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำแผนในการค้นหาช่วยชีวิต การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วิกฤตการณ์จัดตั้งศูนย์ประสานการปฏิบัติในพื้นที่ภัยพิบัติ โดยขีดความสามารถในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามบนเรือ การส่งกลับสายแพทย์ (MEDVAC, CASVAC) การควบคุมโรคระบาดบนเรือ และบนบกในพื้นที่ปฏิบัติการ ช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤตสุขภาพจิต และการบริการทางการแพทย์อื่นๆที่เกี่ยวกับภารกิจ HA/DR และในส่วนกำลังของนาวิกโยธินจะเป็นขีดความสามารถการค้นหาและช่วยชีวิตบนบก (USAR) การอพยพประชาชนจากเกาะขึ้นสู่เรือ (HA/DR NEO) การรักษาความปลอดภัย (Force Protection) และการบริหารงานในศูนย์ประสานการปฏิบัติในพื้นที่ภัยพิบัติ
ข้อมูล สลก.ทร. ๒๑ มิ.ย.๖๐
สำหรับการฝึกการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติฯ ในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่าง ๑๙ – ๒๓ มิ.ย.๖๐ โดยเป็นการบูรณาการการฝึกร่วมระหว่างกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และหน่วยงานฝ่ายพลเรือน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในกลไกประสานงานร่วมระหว่าง ทหาร พลเรือน และภาคประชาสังคม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการภัยพิบัติตามระดับความรุนแรงของภัยพิบัติ เพื่อบูรณาการ การฝึกร่วมกองทัพไทยกับการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของฝ่ายพลเรือน เพื่อให้ฝ่ายพลเรือนได้ทราบถึงบทบาทและภารกิจของกองทัพไทยในด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ โดยกำหนดสถานการณ์ให้เกิดพายุครั้งใหญ่พัดถล่มพื้นที่ทะเลภาคตะวันออก ความรุนแรงระดับ ๔ นายกรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้ตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัย (ส่วนหน้า) ขึ้นในพื้นที่ และมีส่วนงานของกองทัพเข้าร่วมให้การช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างบูรณาการร่วมกับจังหวัดระยอง โดยมีศูนย์พักพิงสำหรับผู้ประสบภัย มีการฝึกช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอาคารถล่ม จากกระแสน้ำเชี่ยวกราก น้ำท่วมฉับพลัน สารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรมรั่วไหล การนำส่งผู้ได้รับบาดเจ็บไปสู่โรงพยาบาล การค้นหาผู้ประสบภัยภายใต้สิ่งปรักหักพังด้วยช้างและสุนัขดมกลิ่น การช่วยเหลือเรือประสบภัยในทะเลด้วยเรือหลวงอ่างทอง และเฮลิคอปเตอร์จากกองทัพอากาศ เป็นต้น การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ในส่วนของกองทัพเรือจะใช้หลักการ "From The Sea"คือการให้ความช่วยเหลือจากทะเลขึ้นสู่ฝั่ง โดยจะทำการสถาปนาเรือหลวงอ่างทองเป็นศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ เพื่อการบัญชาการ วางแผน และสั่งการในการแก้ปัญหาในพื้นที่ภัยพิบัติบนบก โดยการจัดตั้งฐานส่งกำลังบำรุงส่วนหน้าในพื้นที่ภัยพิบัติ เพื่อเป็นพื้นที่รวบรวม ผู้ป่วยเพื่อการส่งกลับสายแพทย์ ฐานสื่อสาร ศูนย์ผู้ประสบภัยส่วนหน้า ในพื้นที่ภัยพิบัติ ฐานรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ การลำเลียงกำลังพล สิ่งของ ยุทโธปกรณ์ขึ้นฝั่ง การวิเคราะห์ความเสียหายพื้นที่ของทีม NAST (Navy Assessment Team) ประกอบด้วยชุดผู้เชี่ยวชาญการประเมิน/เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำแผนในการค้นหาช่วยชีวิต การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วิกฤตการณ์จัดตั้งศูนย์ประสานการปฏิบัติในพื้นที่ภัยพิบัติ โดยขีดความสามารถในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามบนเรือ การส่งกลับสายแพทย์ (MEDVAC, CASVAC) การควบคุมโรคระบาดบนเรือ และบนบกในพื้นที่ปฏิบัติการ ช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤตสุขภาพจิต และการบริการทางการแพทย์อื่นๆที่เกี่ยวกับภารกิจ HA/DR และในส่วนกำลังของนาวิกโยธินจะเป็นขีดความสามารถการค้นหาและช่วยชีวิตบนบก (USAR) การอพยพประชาชนจากเกาะขึ้นสู่เรือ (HA/DR NEO) การรักษาความปลอดภัย (Force Protection) และการบริหารงานในศูนย์ประสานการปฏิบัติในพื้นที่ภัยพิบัติ
ข้อมูล สลก.ทร. ๒๑ มิ.ย.๖๐
Comments