เมื่อปลายเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา พล.ร.ท.มาร์ค ฟ๊อก ผู้บัญชาการกองกำลังผสมทางทะเล และผู้บัญชาการ กองเรือที่ ๕ ได้เป็นประธานในพิธีรับ-ส่ง หน้าที่ผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจผสม ๑๕๑ บนเรือ USS HALSEY ณ ท่าเรือ สุลต่านคาบุช กรุงมัสกัต รัฐสุลต่านโอมาน โดย พล.ร.จ. เจนเซน ได้ส่งมอบหน้าที่การบังคับบัญชา กองเรือเฉพาะกิจผสม ๑๕๑ ให้กับ พล.ร.ต.ธานินทร์ ลิขิตวงศ์ ซึ่งจะทำหน้าที่บังคับบัญชากองเรือเฉพาะกิจผสม ๑๕๑ บนเรือ RFA FORT VICTORIA เป็นระยะเวลา ๓ เดือน นับเป็นโอกาสที่ทหารเรือไทยจะได้แสดงศักยภาพในเวทีโลก
กองบัญชาการกองเรือเฉพาะกิจผสม ๑๕๑ มีกำลังพลทั้งหมด ๒๕ นาย จาก ๗ ชาติประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ อิตาลี เกาหลี ซาอุดิอาระเบีย และไทย โดยมีกำลังทางเรือจากชาติต่างๆ ๕ ลำ ประกอบด้วย เรือจากสหรัฐอเมริกา ๒ ลำ สหราชอาณาจักร ๒ ลำ เกาหลี ๑ ลำ ทั้งนี้ในภารกิจป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัด และการปล้นเรือในทะเลดังกล่าวจะมีพื้นที่ปฏิบัติการประมาณ ๒.๕ ล้านตารางไมล์ นับตั้งแต่ชายฝั่งตะวันตกของอินเดียบริเวณลองติจูด ๖๘ องศาตะวันออก ไปจรดฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ครอบคลุมพื้นที่อ่าวเอเดน และทะเลแดง ทางเหนือนับตั้งแต่ช่องแคบฮอร์มุสจรดหมู่เกาะซีเซล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดียบริเวณแลตติจูด ๑๑ องศาใต้
ข้อมูล กองเรือเฉพาะกิจ
๑๐ เม.ย.๕๕
กองบัญชาการกองเรือเฉพาะกิจผสม ๑๕๑ มีกำลังพลทั้งหมด ๒๕ นาย จาก ๗ ชาติประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ อิตาลี เกาหลี ซาอุดิอาระเบีย และไทย โดยมีกำลังทางเรือจากชาติต่างๆ ๕ ลำ ประกอบด้วย เรือจากสหรัฐอเมริกา ๒ ลำ สหราชอาณาจักร ๒ ลำ เกาหลี ๑ ลำ ทั้งนี้ในภารกิจป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัด และการปล้นเรือในทะเลดังกล่าวจะมีพื้นที่ปฏิบัติการประมาณ ๒.๕ ล้านตารางไมล์ นับตั้งแต่ชายฝั่งตะวันตกของอินเดียบริเวณลองติจูด ๖๘ องศาตะวันออก ไปจรดฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ครอบคลุมพื้นที่อ่าวเอเดน และทะเลแดง ทางเหนือนับตั้งแต่ช่องแคบฮอร์มุสจรดหมู่เกาะซีเซล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดียบริเวณแลตติจูด ๑๑ องศาใต้
ข้อมูล กองเรือเฉพาะกิจ
๑๐ เม.ย.๕๕
Comments