การเตรียมพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกฝ่าย สำหรับในส่วนของพระโกศ ไม้จันทน์ บัดนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
“พระโกศไม้จันทน์” ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สำนักพระราชวังได้นำคณะพราหมณ์ ทำพิธีบวงสรวงเทพยดาป่า ขออนุญาตนำไม้จันทร์หอม จำนวน ๓ ต้น ภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาจัดสร้างพระโกศ โดยมีนาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น ประธานคณะทำงานออกแบบและจัดสร้างพระเมรุในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเป็นผู้ออกแบบฐานพระโกศและพระโกศจันทน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นทรง ๘ เหลี่ยม ในอัตราส่วน ๑:๕ ในส่วนของการปรับขยายแบบให้เท่าของจริงเป็นหน้าที่ของสมชาติ มหัทธนะสิน
ด้านการควบคุมและจัดสร้างพระโกศ ตั้งแต่การเขียนแบบ การคัดลอกเส้นปรับแต่งลาย คัดแยกลายซ้อนและสีไม้ควบคุมการโกรกฉลุ ประดับลายซ่อนไม้ ตลอดจนการประกอบลวดลายขึ้นโครงสร้างรับหน้าที่ โดยพิจิตร นิ่มงาม นายช่างศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
พระโกศไม้จันทร์ มีขนาดความสูง ๑๖๒.๕ เซนติเมตร มีความกว้างส่วนฐาน ๘๒ เซนติเมตร จะประกอบด้วย ส่วนฐานรองพระโกศเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฝาปิดขนาดความยาว ๒๖๐ เซนติเมตรชิ้นส่วนของลวดลายต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๖,๐๓๓ ชิ้น กว้าง ๑๔๐ เซนติเมตร สูง ๙๒ เซนติเมตร ใช้จำนวนชิ้นลายทั้งสิ้น ๑๐,๑๕๙ ชิ้น ลวดลายที่ใช้ประกอบพระโกศ มีทั้งสิ้น ๓๕ แบบ การทำงานในส่วนของพระโกศไม้จันทน์ มีผู้ร่วมงานประมาณ ๒๕ คน แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักช่างสิบหมู่ ๙ คน ส่วนที่เหลือ ๑๖ คน เป็นนักศึกษาของศูนย์กาญจนาภิเษก ผู้ที่เข้ามาทำงานเป็นอาสาสมัครทำด้วยใจ ไม่มีเบี้ยเลี้ยงใดๆ นอกจากอาหารกลางวัน และทุกคนที่ทำงานต่างภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการทำงานชิ้นนี้ จนพระโกศไม้จันทน์ งดงามสมพระเกียรติน้อมส่งเสด็จสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สู่สวรรคาลัย
ข้อมูล นสพ.เดลินิวส์
๒๗ ต.ค.๕๑
“พระโกศไม้จันทน์” ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สำนักพระราชวังได้นำคณะพราหมณ์ ทำพิธีบวงสรวงเทพยดาป่า ขออนุญาตนำไม้จันทร์หอม จำนวน ๓ ต้น ภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาจัดสร้างพระโกศ โดยมีนาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น ประธานคณะทำงานออกแบบและจัดสร้างพระเมรุในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเป็นผู้ออกแบบฐานพระโกศและพระโกศจันทน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นทรง ๘ เหลี่ยม ในอัตราส่วน ๑:๕ ในส่วนของการปรับขยายแบบให้เท่าของจริงเป็นหน้าที่ของสมชาติ มหัทธนะสิน
ด้านการควบคุมและจัดสร้างพระโกศ ตั้งแต่การเขียนแบบ การคัดลอกเส้นปรับแต่งลาย คัดแยกลายซ้อนและสีไม้ควบคุมการโกรกฉลุ ประดับลายซ่อนไม้ ตลอดจนการประกอบลวดลายขึ้นโครงสร้างรับหน้าที่ โดยพิจิตร นิ่มงาม นายช่างศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
พระโกศไม้จันทร์ มีขนาดความสูง ๑๖๒.๕ เซนติเมตร มีความกว้างส่วนฐาน ๘๒ เซนติเมตร จะประกอบด้วย ส่วนฐานรองพระโกศเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฝาปิดขนาดความยาว ๒๖๐ เซนติเมตรชิ้นส่วนของลวดลายต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๖,๐๓๓ ชิ้น กว้าง ๑๔๐ เซนติเมตร สูง ๙๒ เซนติเมตร ใช้จำนวนชิ้นลายทั้งสิ้น ๑๐,๑๕๙ ชิ้น ลวดลายที่ใช้ประกอบพระโกศ มีทั้งสิ้น ๓๕ แบบ การทำงานในส่วนของพระโกศไม้จันทน์ มีผู้ร่วมงานประมาณ ๒๕ คน แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักช่างสิบหมู่ ๙ คน ส่วนที่เหลือ ๑๖ คน เป็นนักศึกษาของศูนย์กาญจนาภิเษก ผู้ที่เข้ามาทำงานเป็นอาสาสมัครทำด้วยใจ ไม่มีเบี้ยเลี้ยงใดๆ นอกจากอาหารกลางวัน และทุกคนที่ทำงานต่างภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการทำงานชิ้นนี้ จนพระโกศไม้จันทน์ งดงามสมพระเกียรติน้อมส่งเสด็จสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สู่สวรรคาลัย
ข้อมูล นสพ.เดลินิวส์
๒๗ ต.ค.๕๑
Comments