กองทัพเรือ โดย พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ ได้สั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ ดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย รวมทั้งได้ระดมสรรพกำลังทั้งกำลังพลและยุทโธปกรณ์สนับสนุนรัฐบาล ในการช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ การปฏิบัติที่สำคัญมีดังนี้
การผลักดันน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา (คลองลัดโพธิ์ และบริเวณสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์)ในแม่น้ำท่าจีน (บริเวณท่าเทียบเรือศักดิ์สวัสดิ์ ตำบลโกรกกรากไปออกอ่าวไทยที่มหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และบริเวณที่ไหลผ่านจังหวัดนครปฐม) ในคลองรังสิต ในคลองภาษีเจริญ ในคลองพระองค์เจ้า ไชยานุชิต และบริเวณกรมชลประทาน จังหวัดฉะเชิงเทรา
พื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยฐานทัพเรือกรุงเทพ ได้จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว และชุดเฝ้าระวังพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช สนับสนุนจังหวัด ๙๐๔ วังศุโขทัย มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เฝ้าระวังพนังกั้นน้ำคลองรังสิตเชื่อมคลองประปา ประตูน้ำสุวรรณภูมิ ปตท.สำนักงานใหญ่ จัดเตรียมสนาม ฮ. พร้อมเจ้าหน้าที่รับ ฮ.ลำเลียงผู้ป่วยจากโรงพยาบาลในพื้นที่ประสบภัยตามที่โรงพยาบาลสมุทรปราการจะประสาน จัดรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่และเรือร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ ในการแจกจ่าย ถุงยังชีพที่อำเภอบางบัวทอง จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม (อำเภอพุทธมณฑล) ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ (อำเภอเมือง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอบางพลี) และช่วยเหลือประชาชนตามที่ได้รับการร้องขอ
- ๒ -
หน่วยเฉพาะกิจซ่อมบำรุงกองทัพเรือ (ฉก.ชย.ทร.) ได้ดำเนินการป้องกัน ซ่อมแซมและปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ที่กองทัพเรือรับผิดชอบดังนี้
- จัดทำแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ กองบัญชาการกองทัพเรือ วัดอรุณราชวราราม บ้านพักรับรอง ผู้บัญชาการทหารเรือ หอประชุมกองทัพเรือ ศูนย์สุขภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ราชนาวิกสภา ราชนาวีสโมสร กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ และสมาคมภริยาทหารเรือ โดยใช้กระสอบทรายและก่ออิฐมวลเบาตลอดแนว รวมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่กองทัพเรือ
- จัดทำแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่กองทัพเรือรับผิดชอบ บริเวณโรงพยาบาลศิริราช โดยใช้กระสอบทรายและอิฐมวลเบาตลอดแนว ก่ออิฐมวลเบาและอิฐบล็อกประตูทางเข้าอาคารที่สำคัญ ระบบสาธารณูปโภคทางการแพทย์ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช ทำทางลาด (Ramp) เส้นทางเสด็จสำรองด้านประตู ๕ รวม ๑ จุด ทำเนินกันน้ำ (Hump)ด้านประตู ๑ ๘ และด้านวัดอัมรินทราราม รวม ๓ จุด
- จัดชุดเฝ้าระวังแนวป้องกันน้ำท่วมทั้งกองบัญชาการกองทัพเรือ และโรงพยาบาลศิริราช ตลอด ๒๔ ชม.
- จัดชุดกู้ซ่อมฉุกเฉินที่กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ และสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ
- จัดชุดกู้ซ่อมฉุกเฉินให้การสนับสนุนหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบกและทางน้ำ เพื่อช่วยเหลือข้าราชการและประชาชนในพื้นที่อำเภอบางบัวทอง บางกรวย บางใหญ่ พุทธมณฑล และบริเวณใกล้เคียง
- มอบถุงทรายบรรจุเสร็จให้กับหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ/กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบก/ฐานทัพเรือกรุงเทพและข้าราชการกองทัพเรือ
หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ (ฉก.บภ.ทางน้ำ) (ติดกับกรมอู่ทหารเรือ) ได้จัดตั้งสถานีเรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำกองทัพเรือ ๒ จุด คือ จุดแรก ณ วัดไทรม้าใต้ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (บริเวณเชิงสะพานพระนั่งเกล้าฝั่งธนบุรี) จุดที่ ๒ พิจารณาเตรียมการจัดตั้งสถานีเรือช่วยเหลือฯ เพิ่มเติม ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (บริเวณเชิงสะพานพระราม ๕ ฝั่งธนบุรี) มีการให้บริการด้านต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาทิ ที่พัก แจกจ่ายถุงยังชีพ สุขาลอยน้ำ เรือ SEA LEG ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทั้งบกและในน้ำ เรือพยาบาล สนับสนุนการลำเลียงทางการแพทย์ ฯลฯ ทั้งนี้หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำรับผิดชอบพื้นที่ทางน้ำ ได้แก่ พื้นที่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและลำคลองที่เรือเข้าถึง ระหว่างสะพานพระรามสี่ จังหวัดนนทบุรี ถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา
- ๓ -
จังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งพื้นที่บริเวณใกล้เคียงอื่นๆ ตามที่จะได้รับการร้องขอจากประชาชนในพื้นที่ กองอำนวยการป้องกันสาธารณภัยระดับพื้นที่ หรือสั่งการจาก ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือซึ่งหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ มีหน่วยรับผิดชอบ คือ ชุดช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กองพันรักษาฝั่งที่๑๑ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (ชชปภ.พัน.รฝ.๑๑ฯ) มีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
- หมายเลขติดต่อ โทร.๐ ๒๔๗๕ ๓๓๑๔, ๐ ๒๔๗๕ ๓๓๑๕, ๐ ๒๔๗๕ ๕๕๑๖
- มือถือ ๐๘ ๐๘๐๘ ๐๔๗๗, ๐๘ ๑๘๓๔ ๕๒๗๓
อู่ธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ดำเนินการจัดสร้างแพและการแจกจ่ายเรือท้องแบนดังนี้ จัดสร้างแพขนาด ๓x๖ เมตร จำนวน ๕๐ แพ แจกจ่ายแก่หน่วยต่างๆ ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๙ แพ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑ แพ นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี จังหวัดปทุมธานี ๒ แพ สนับสนุนกองทัพบก ๒๐ แพ รวมทั้งเตรียมการส่งให้นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ๔ แพ และกำลังรอวัสดุเตรียมจัดสร้างแพอีก ๕๐ แพ สำหรับแพขนาด ๘x๑๒.๕ เมตร กำลังดำเนินการสร้างเพิ่มอีก ๕ แพ สำหรับการแจกจ่ายเรือท้องแบนพลาสติก (สีฟ้า) ๔ ที่นั่ง แจกจ่ายให้แก่หน่วยต่างๆ ดังนี้ กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ๓๐ ลำ (รอรับมอบจากกรมอู่ทหารเรืออีก ๑๓๐ ลำ) กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ ๕๐ ลำ วังสวนจิตรลดา ๑๐ ลำ สนับสนุนพระตำหนักจักรีบงกช ๔ ลำ รวมทั้งแจกจ่ายแก่หน่วยงานอื่นๆ อีก ๒๖ ลำ
พื้นที่ต่างจังหวัด
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดกำลังพลจากกรมสรรพาวุธทหารเรือ ประจำการที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร เพื่อกู้แท่นพิมพ์และช่วยเหลือฟื้นฟูนิคมฯ ตามที่ได้รับการร้องขอ การแจกจ่ายถุงยังชีพให้แก่ ผู้ประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ ๕ ตุลาคม – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ มีการแจกจ่ายถุงยังชีพจำนวน ๘๒,๖๕๐ ถุง และอำนวยความสะดวกลำเลียงผู้ประสบอุทกภัยได้จำนวน ๘,๔๑๕ คน
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ ๑ จัดศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วม กองทัพเรือ โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ ๑ ได้จัดศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยไว้ในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในเบื้องต้น ซึ่งสามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ถึง ๒,๑๑๐ คน โดยแบ่งพื้นที่ตามหน่วยต่างๆ ของกองทัพเรือ ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ดังนี้
- หน่วยบรรเทาสาธารณภัย กองเรือยุทธการ จำนวน ๕๕๐ คน
- หน่วยบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จำนวน ๕๐๐ คน
- หน่วยบรรเทาสาธารณภัย ฐานทัพเรือสัตหีบ จำนวน ๓๐๐ คน
- หน่วยบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง จำนวน ๗๖๐ คน
- ๔ -
สำหรับประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ สามารถติดต่อขอรับการช่วยเหลือเข้าพักอาศัย ในศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยได้ที่ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ ๑ (ศบภ.ทรภ.๑) หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๘ ๔๓๘๕๙๒ / ๐๓๘ ๔๓๘๐๐๘ มือถือ ๐๘๗ ๐๐๔๘๕๑๒ โดยติดต่อกับ นาวาโท วิโรจน์ อินทร์สุข
กองทัพเรือได้เปิดศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เพื่อรวบรวมน้ำใจจากคนไทยที่มีจิตศรัทธาต้องการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์พี่น้องคนไทยที่กำลังเดือดร้อน โดยสามารถร่วมบริจาคเงินได้ที่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขากองบัญชาการกองทัพเรือ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๑๑๕-๒-๑๔๓๒๒-๖ ชื่อบัญชีศูนย์รับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและภัยหนาวของกองทัพเรือ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๗๕ ๕๖๘๓ และหมายเลขโทรสาร ๐ ๒๔๗๕ ๕๕๕๗ รวมทั้งขอเชิญร่วมบริจาคสิ่งของช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยที่กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ (ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง) ถนนมหาราช เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๗๕ ๔๘๒๑ ( ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ) และฐานทัพเรือกรุงเทพ (ตรงข้ามวัดชิโนรส) ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๗๕ ๓๒๓๔ และ ๐ ๒๔๗๕ ๔๙๔๓(ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ) และติดต่อแจ้งข่าวสารหรือขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ โทรสายด่วน ๑๖๙๖
ข้อมูล ศบภ.ทร.
๔ พ.ย.๕๔
การผลักดันน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา (คลองลัดโพธิ์ และบริเวณสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์)ในแม่น้ำท่าจีน (บริเวณท่าเทียบเรือศักดิ์สวัสดิ์ ตำบลโกรกกรากไปออกอ่าวไทยที่มหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และบริเวณที่ไหลผ่านจังหวัดนครปฐม) ในคลองรังสิต ในคลองภาษีเจริญ ในคลองพระองค์เจ้า ไชยานุชิต และบริเวณกรมชลประทาน จังหวัดฉะเชิงเทรา
พื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยฐานทัพเรือกรุงเทพ ได้จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว และชุดเฝ้าระวังพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช สนับสนุนจังหวัด ๙๐๔ วังศุโขทัย มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เฝ้าระวังพนังกั้นน้ำคลองรังสิตเชื่อมคลองประปา ประตูน้ำสุวรรณภูมิ ปตท.สำนักงานใหญ่ จัดเตรียมสนาม ฮ. พร้อมเจ้าหน้าที่รับ ฮ.ลำเลียงผู้ป่วยจากโรงพยาบาลในพื้นที่ประสบภัยตามที่โรงพยาบาลสมุทรปราการจะประสาน จัดรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่และเรือร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ ในการแจกจ่าย ถุงยังชีพที่อำเภอบางบัวทอง จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม (อำเภอพุทธมณฑล) ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ (อำเภอเมือง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอบางพลี) และช่วยเหลือประชาชนตามที่ได้รับการร้องขอ
- ๒ -
หน่วยเฉพาะกิจซ่อมบำรุงกองทัพเรือ (ฉก.ชย.ทร.) ได้ดำเนินการป้องกัน ซ่อมแซมและปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ที่กองทัพเรือรับผิดชอบดังนี้
- จัดทำแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ กองบัญชาการกองทัพเรือ วัดอรุณราชวราราม บ้านพักรับรอง ผู้บัญชาการทหารเรือ หอประชุมกองทัพเรือ ศูนย์สุขภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ราชนาวิกสภา ราชนาวีสโมสร กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ และสมาคมภริยาทหารเรือ โดยใช้กระสอบทรายและก่ออิฐมวลเบาตลอดแนว รวมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่กองทัพเรือ
- จัดทำแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่กองทัพเรือรับผิดชอบ บริเวณโรงพยาบาลศิริราช โดยใช้กระสอบทรายและอิฐมวลเบาตลอดแนว ก่ออิฐมวลเบาและอิฐบล็อกประตูทางเข้าอาคารที่สำคัญ ระบบสาธารณูปโภคทางการแพทย์ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช ทำทางลาด (Ramp) เส้นทางเสด็จสำรองด้านประตู ๕ รวม ๑ จุด ทำเนินกันน้ำ (Hump)ด้านประตู ๑ ๘ และด้านวัดอัมรินทราราม รวม ๓ จุด
- จัดชุดเฝ้าระวังแนวป้องกันน้ำท่วมทั้งกองบัญชาการกองทัพเรือ และโรงพยาบาลศิริราช ตลอด ๒๔ ชม.
- จัดชุดกู้ซ่อมฉุกเฉินที่กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ และสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ
- จัดชุดกู้ซ่อมฉุกเฉินให้การสนับสนุนหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบกและทางน้ำ เพื่อช่วยเหลือข้าราชการและประชาชนในพื้นที่อำเภอบางบัวทอง บางกรวย บางใหญ่ พุทธมณฑล และบริเวณใกล้เคียง
- มอบถุงทรายบรรจุเสร็จให้กับหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ/กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบก/ฐานทัพเรือกรุงเทพและข้าราชการกองทัพเรือ
หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ (ฉก.บภ.ทางน้ำ) (ติดกับกรมอู่ทหารเรือ) ได้จัดตั้งสถานีเรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำกองทัพเรือ ๒ จุด คือ จุดแรก ณ วัดไทรม้าใต้ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (บริเวณเชิงสะพานพระนั่งเกล้าฝั่งธนบุรี) จุดที่ ๒ พิจารณาเตรียมการจัดตั้งสถานีเรือช่วยเหลือฯ เพิ่มเติม ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (บริเวณเชิงสะพานพระราม ๕ ฝั่งธนบุรี) มีการให้บริการด้านต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาทิ ที่พัก แจกจ่ายถุงยังชีพ สุขาลอยน้ำ เรือ SEA LEG ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทั้งบกและในน้ำ เรือพยาบาล สนับสนุนการลำเลียงทางการแพทย์ ฯลฯ ทั้งนี้หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำรับผิดชอบพื้นที่ทางน้ำ ได้แก่ พื้นที่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและลำคลองที่เรือเข้าถึง ระหว่างสะพานพระรามสี่ จังหวัดนนทบุรี ถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา
- ๓ -
จังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งพื้นที่บริเวณใกล้เคียงอื่นๆ ตามที่จะได้รับการร้องขอจากประชาชนในพื้นที่ กองอำนวยการป้องกันสาธารณภัยระดับพื้นที่ หรือสั่งการจาก ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือซึ่งหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ มีหน่วยรับผิดชอบ คือ ชุดช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กองพันรักษาฝั่งที่๑๑ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (ชชปภ.พัน.รฝ.๑๑ฯ) มีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
- หมายเลขติดต่อ โทร.๐ ๒๔๗๕ ๓๓๑๔, ๐ ๒๔๗๕ ๓๓๑๕, ๐ ๒๔๗๕ ๕๕๑๖
- มือถือ ๐๘ ๐๘๐๘ ๐๔๗๗, ๐๘ ๑๘๓๔ ๕๒๗๓
อู่ธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ดำเนินการจัดสร้างแพและการแจกจ่ายเรือท้องแบนดังนี้ จัดสร้างแพขนาด ๓x๖ เมตร จำนวน ๕๐ แพ แจกจ่ายแก่หน่วยต่างๆ ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๙ แพ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑ แพ นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี จังหวัดปทุมธานี ๒ แพ สนับสนุนกองทัพบก ๒๐ แพ รวมทั้งเตรียมการส่งให้นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ๔ แพ และกำลังรอวัสดุเตรียมจัดสร้างแพอีก ๕๐ แพ สำหรับแพขนาด ๘x๑๒.๕ เมตร กำลังดำเนินการสร้างเพิ่มอีก ๕ แพ สำหรับการแจกจ่ายเรือท้องแบนพลาสติก (สีฟ้า) ๔ ที่นั่ง แจกจ่ายให้แก่หน่วยต่างๆ ดังนี้ กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ๓๐ ลำ (รอรับมอบจากกรมอู่ทหารเรืออีก ๑๓๐ ลำ) กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ ๕๐ ลำ วังสวนจิตรลดา ๑๐ ลำ สนับสนุนพระตำหนักจักรีบงกช ๔ ลำ รวมทั้งแจกจ่ายแก่หน่วยงานอื่นๆ อีก ๒๖ ลำ
พื้นที่ต่างจังหวัด
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดกำลังพลจากกรมสรรพาวุธทหารเรือ ประจำการที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร เพื่อกู้แท่นพิมพ์และช่วยเหลือฟื้นฟูนิคมฯ ตามที่ได้รับการร้องขอ การแจกจ่ายถุงยังชีพให้แก่ ผู้ประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ ๕ ตุลาคม – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ มีการแจกจ่ายถุงยังชีพจำนวน ๘๒,๖๕๐ ถุง และอำนวยความสะดวกลำเลียงผู้ประสบอุทกภัยได้จำนวน ๘,๔๑๕ คน
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ ๑ จัดศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วม กองทัพเรือ โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ ๑ ได้จัดศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยไว้ในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในเบื้องต้น ซึ่งสามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ถึง ๒,๑๑๐ คน โดยแบ่งพื้นที่ตามหน่วยต่างๆ ของกองทัพเรือ ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ดังนี้
- หน่วยบรรเทาสาธารณภัย กองเรือยุทธการ จำนวน ๕๕๐ คน
- หน่วยบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จำนวน ๕๐๐ คน
- หน่วยบรรเทาสาธารณภัย ฐานทัพเรือสัตหีบ จำนวน ๓๐๐ คน
- หน่วยบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง จำนวน ๗๖๐ คน
- ๔ -
สำหรับประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ สามารถติดต่อขอรับการช่วยเหลือเข้าพักอาศัย ในศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยได้ที่ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ ๑ (ศบภ.ทรภ.๑) หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๘ ๔๓๘๕๙๒ / ๐๓๘ ๔๓๘๐๐๘ มือถือ ๐๘๗ ๐๐๔๘๕๑๒ โดยติดต่อกับ นาวาโท วิโรจน์ อินทร์สุข
กองทัพเรือได้เปิดศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เพื่อรวบรวมน้ำใจจากคนไทยที่มีจิตศรัทธาต้องการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์พี่น้องคนไทยที่กำลังเดือดร้อน โดยสามารถร่วมบริจาคเงินได้ที่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขากองบัญชาการกองทัพเรือ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๑๑๕-๒-๑๔๓๒๒-๖ ชื่อบัญชีศูนย์รับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและภัยหนาวของกองทัพเรือ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๗๕ ๕๖๘๓ และหมายเลขโทรสาร ๐ ๒๔๗๕ ๕๕๕๗ รวมทั้งขอเชิญร่วมบริจาคสิ่งของช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยที่กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ (ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง) ถนนมหาราช เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๗๕ ๔๘๒๑ ( ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ) และฐานทัพเรือกรุงเทพ (ตรงข้ามวัดชิโนรส) ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๗๕ ๓๒๓๔ และ ๐ ๒๔๗๕ ๔๙๔๓(ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ) และติดต่อแจ้งข่าวสารหรือขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ โทรสายด่วน ๑๖๙๖
ข้อมูล ศบภ.ทร.
๔ พ.ย.๕๔
Comments