Skip to main content

กองทัพเรือช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย

กองทัพเรือ โดย พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ ได้สั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ ดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย รวมทั้งได้ระดมสรรพกำลังทั้งกำลังพลและยุทโธปกรณ์สนับสนุนรัฐบาล ในการช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ การปฏิบัติที่สำคัญมีดังนี้
พื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยฐานทัพเรือกรุงเทพ จัดรถยนต์บรรทุกและเรือยนต์ท้องแบนช่วยอพยพประชาชนในพื้นที่เขตทวีวัฒนา จัดรถบริการรับ-ส่ง ประชาชน ๖ เส้นทาง ได้แก่ สายที่ ๑ ซอยเพชรเกษม ๖๙ - คลองภาษีเจริญ –สายที่ ๒ แยกท่าพระ – ถนนเพชรเกษม – เดอะมอลล์บางแค และสายที่ ๓ แยก ๓๕ โบว์ – ถนนบรมราชชนนี – ตลิ่งชัน สายที่ ๔ ซอยกำนันแม้น – ตลาดบางแค สายที่ ๕ ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๑๓ สายที่ ๖ แยกบางขุนนนท์ – บางพลัด – สะพานพระราม ๗
หน่วยบรรเทาสาธารณภัย กรมยุทธศึกษาทหารเรือ จัดรถและเรือช่วยอพยพประชาชนในพื้นที่ อำเภอพุทธมณฑล และพื้นที่ใกล้เคียง
การผลักดันน้ำ
- กองเรือยุทธการ จัดเรือหลวงมารวิชัยและเรือหลวงกลึงบาดาล ผลักดันน้ำบริเวณด้านเหนือประตูน้ำ คลองลัดโพธิ์ เรือหลวงแรดและเรือหลวงแสมสาร ผลักดันน้ำบริเวณด้านใต้ ประตูน้ำคลองลัดโพธิ์ โดยกองทัพเรือปฏิบัติงานร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตำรวจน้ำ กรมเจ้าท่า และบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์
- กรมการขนส่งทหารเรือ จัดเรือ ๔ ลำ วางกำลังผลักดันน้ำบริเวณสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์

- ๒ -
- ศูนย์ไทยอาสาป้องกันชาติในทะเลทัพเรือภาคที่ ๑ ประสานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายกสมาคมประมงสมุทรสาคร และสมาชิกไทยอาสาป้องกันชาติในทะเลในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ร่วมใช้เรือประมงผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีนบริเวณท่าเทียบเรือศักดิ์สวัสดิ์ ตำบลโกรกกรากไปออกอ่าวไทยที่อ่าวมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร
- หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ (กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ) จัดเรือเร็วโจมตี (PBR) ๔ ลำ สนับสนุนคณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรง ผลักดันน้ำบริเวณคลองหกวาสายล่างให้ออกสู่ทะเลโดยเร็ว
- กรมอู่ทหารเรือ สนับสนุนเรือผลักดันน้ำ วางกำลังผลักดันน้ำ วางกำลังผลักดันน้ำ ๘ จุด ประกอบด้วย คลองภาษีเจริญ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต คลองหลวงแพ่ง คลองราชมนตรี คลองสนามชัย คลองบางเขน คลองมหาสวัสดิ์ และคลองลาดพร้าว
หน่วยบรรเทาสาธารณภัย โรงเรียนนายเรือ ตรวจระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าโรงเรียนนายเรือ จัดชุดตรวจระดับคลองสำโรงและประตูระบายน้ำบางนางเกร็ง จัดเตรียม ฮ.พร้อมเจ้าหน้าที่รับ-ส่ง ฮ. และเตรียมพร้อมศูนย์อพยพรับผู้ที่ต้องการเข้าพักพิง
ชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัย (หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการส่วนแยก
ดอนเมือง)
- จัดเรือยาง สนับสนุนการลำเลียงผู้ป่วยและส่งกลับสายแพทย์ของโรงพยาบาลภูมิพล สนับสนุนคณะแพทย์กองทัพอากาศในการแจกถุงยังชีพและเวชภัณฑ์แก่ผู้ประสบอุทกภัย และรับ-ส่งประชาชนพื้นที่น้ำท่วมบริเวณเซียรังสิต ถนนพหลโยธิน สนับสนุนเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศตรวจสอบความเสียหายพื้นที่ฐานทัพอากาศดอนเมือง
- จัดรถยนต์บรรทุก จำนวน ๔ คัน รับ-ส่งประชาชนในพื้นที่เส้นทางสายไหม-สะพานใหม่
หน่วยเฉพาะกิจซ่อมบำรุงกองทัพเรือ (ฉก.ซบ.ทร./ชย.ทร.) ได้ดำเนินการป้องกัน ซ่อมแซมและปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ที่กองทัพเรือรับผิดชอบดังนี้
- สำรวจแนวทางระบายน้ำในพื้นที่โรงพยาบาลศิริราชรองรับน้ำที่เข้ามาทางท่อระบายน้ำ
- ตรวจสอบระดับถนนอุรณอมรินทร์ ถนนอิสรภาพ ถนนจรัญสนิทวงศ์ รองรับเส้นทางอพยพและกำหนดจุดเฝ้าระวังเตรียมรับกรณีฉุกเฉิน
- สนับสนุนการช่วยเหลือข้าราชการกองทัพเรือที่ประสบภัยตามที่ได้รับการร้องขอ
หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ (ฉก.บภ.ทางน้ำ) (ติดกับกรมอู่ทหารเรือ) ได้จัดตั้งสถานีเรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำกองทัพเรือ ๒ จุด คือ จุดแรก ณ วัดไทรม้าใต้ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (บริเวณเชิงสะพานพระนั่งเกล้าฝั่งธนบุรี) จุดที่ ๒ เตรียมการจัดตั้งสถานีเรือช่วยเหลือเพิ่มเติม ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีการให้บริการด้านต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาทิ ที่พัก แจกจ่าย ถุงยังชีพ สุขาลอยน้ำ เรือ SEA LEG ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทั้งบกและในน้ำ เรือพยาบาล สนับสนุนการลำเลียงทางการแพทย์ ฯลฯ ทั้งนี้หน่วยเฉพาะกิจ
- ๓ -

บรรเทาสาธารณภัยทางน้ำรับผิดชอบพื้นที่ทางน้ำ ได้แก่ พื้นที่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและลำคลองที่เรือเข้าถึง ระหว่างสะพานพระรามสี่ จังหวัดนนทบุรี ถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งพื้นที่บริเวณ
ใกล้เคียงอื่นๆ ตามที่จะได้รับการร้องขอจากประชาชนในพื้นที่กองอำนวยการป้องกันสาธารณภัยระดับพื้นที่ หรือสั่งการจาก ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือซึ่งหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ มีหน่วยรับผิดชอบ คือ ชุดช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กองพันรักษาฝั่งที่ ๑๑ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (ชชปภ.พัน.รฝ.๑๑ฯ) มีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
- หมายเลขติดต่อ โทร.๐ ๒๔๗๕ ๓๓๑๔, ๐ ๒๔๗๕ ๓๓๑๕, ๐ ๒๔๗๕ ๕๕๑๖
- มือถือ ๐๘ ๐๘๐๘ ๐๔๗๗, ๐๘ ๑๘๓๔ ๕๒๗๓
อู่ธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ดำเนินการจัดสร้างแพและการแจกจ่ายเรือท้องแบนดังนี้ จัดสร้างแพขนาด ๓x๖ เมตร จำนวน ๕๐ แพ แจกจ่ายแก่หน่วยต่างๆ ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๙ แพ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑ แพ นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี จังหวัดปทุมธานี ๒ แพ สนับสนุนกองทัพบก ๒๐ แพ รวมทั้งเตรียมการส่งให้นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ๔ แพ และกำลังรอวัสดุเตรียมจัดสร้างแพอีก ๕๐ แพ สำหรับแพขนาด ๘x๑๒.๕ เมตร กำลังดำเนินการสร้างเพิ่มอีก ๕ แพ สำหรับการแจกจ่ายเรือท้องแบนพลาสติก (สีฟ้า) ๔ ที่นั่ง แจกจ่ายให้แก่หน่วยต่างๆ ดังนี้ กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ๓๐ ลำ (รอรับมอบจากกรมอู่ทหารเรืออีก ๑๓๐ ลำ) กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ ๕๐ ลำ วังสวนจิตรลดา ๑๐ ลำ สนับสนุนพระตำหนักจักรีบงกช ๔ ลำ รวมทั้งแจกจ่ายแก่หน่วยงานอื่นๆ อีก ๒๖ ลำ
พื้นที่ต่างจังหวัด
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดกำลังพลจากกรมสรรพาวุธทหารเรือ สนับสนุนบริษัท Western Digital กู้เครื่องจักร ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซึ่งจมอยู่ใต้น้ำ ปัจจุบันสามารถกู้ได้ ๙๑ เครื่อง การแจกจ่ายถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ ๕ ตุลาคม – ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ มีการแจกจ่ายถุงยังชีพจำนวน ๙๑,๖๕๐ ถุง และอำนวยความสะดวกลำเลียงผู้ประสบอุทกภัยได้จำนวน ๘,๙๘๕ คน
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ ๑ จัดศูนย์อำนวยการที่พักพิงผู้ประสบอุทกภัย ทัพเรือภาคที่ ๑ กองทัพเรือ โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ ๑ ได้จัดศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยไว้ในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในเบื้องต้น ซึ่งสามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ถึง ๒,๑๑๐ คน โดยแบ่งพื้นที่ตามหน่วยต่างๆ ของกองทัพเรือ ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ดังนี้
- หน่วยพักพิงผู้ประสบอุทกภัย กองเรือยุทธการ จำนวน ๕๐๐ คน
- หน่วยพักพิงผู้ประสบอุทกภัย หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จำนวน ๕๕๐ คน
- หน่วยพักพิงผู้ประสบอุทกภัย ฐานทัพเรือสัตหีบ จำนวน ๓๐๐ คน
- หน่วยพักพิงผู้ประสบอุทกภัย หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง จำนวน ๘๘๐ คน

- ๔ -

สำหรับประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ สามารถติดต่อขอรับการช่วยเหลือเข้าพักอาศัย ในศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยได้ที่ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ ๑ (ศบภ.ทรภ.๑) หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๘ ๔๓๘๕๙๒ / ๐๓๘ ๔๓๘๐๐๘ มือถือ ๐๘๗ ๐๐๔๘๕๑๒ โดยติดต่อกับ นาวาโท วิโรจน์ อินทร์สุข
กองทัพเรือได้เปิดศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เพื่อรวบรวมน้ำใจจากคนไทยที่มีจิตศรัทธาต้องการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์พี่น้องคนไทยที่กำลังเดือดร้อน โดยสามารถร่วมบริจาคเงินได้ที่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขากองบัญชาการกองทัพเรือ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๑๑๕-๒-๑๔๓๒๒-๖ ชื่อบัญชีศูนย์รับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและภัยหนาวของกองทัพเรือ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๗๕ ๕๖๘๓ และหมายเลขโทรสาร ๐ ๒๔๗๕ ๕๕๕๗ รวมทั้งขอเชิญร่วมบริจาคสิ่งของช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยที่กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ (ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง) ถนนมหาราช เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๗๕ ๔๘๒๑ ( ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ) และ ฐานทัพเรือกรุงเทพ (ตรงข้ามวัดชิโนรส) ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๗๕ ๓๒๓๔ และ ๐ ๒๔๗๕ ๔๙๔๓(ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ) และติดต่อ แจ้งข่าวสารหรือขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ โทรสายด่วน ๑๖๙๖
ข้อมูล ศบภ.ทร.
๙ พ.ย.๕๔

Comments

Popular posts from this blog

กง.ทร.พัฒนาระบบ E-mobile Slip ใช้ตรวจสอบข้อมูลใบจ่ายเงินเดือนผ่านสมาร์ทโฟน

เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ข้าราชการกองทัพเรือ กองทัพเรือ โดยกรมการเงินทหารเรือ ได้พัฒนาระบบ E-mobile Slip เพื่อให้ข้าราชการกองทัพเรือสามารถตรวจสอบข้อมูลใบจ่ายเงินเดือนได้ด้วยตนเองผ่านทางระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Smart Phone) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เข้าลงทะเบียนผู้ใช้งานครั้งแรก เพื่อตั้งค่ารหัสผ่านในเว็บไซต์กรมการเงินทหารเรือที่ http://info.navy.mi.th/finance แบนเนอร์ “สลิปเงินเดือน” หลังเข้าลงทะเบียนผู้ใช้งานแล้ว โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Android สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมผ่าน Play Store โดยค้นหาคำว่า “e-slip” และติดตั้งโปรแกรมในโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ iOS ให้เปิด Browser และเข้าเว็บไซต์ http://www.finance.navy.mi.th/mobile_https หรือด้วยการสแกนผ่านบาร์โค้ดในเว็บไซต์กรมการเงินทหารเรือ จากนั้นจึงเข้าใช้งานด้วยรหัสผู้ใช้งานเป็นเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก และรหัสผ่านที่ตั้งไว้ ข้อมูล กง.ทร. ๒๘ ก.ย.๕๙

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสมเด็จพระปิ่นเกล้า งานสวัสดิการ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ

โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ได้เปิดศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสมเด็จพระปิ่นเกล้า “พฤฒเวชโฮมแคร์” ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ โดยทีมงานคุณภาพมาตรฐาน เพื่อความสุขสบายของคนที่คุณรัก ภายในบรรยากาศที่อบอุ่นเสมือนบ้าน รับผู้สูงอายุชาย – หญิง อายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป            นอกจากนั้นยังจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ตามสภาพร่างกาย และความเหมาะสมของผู้เข้ารับการบริการ เช่น การทำบุญตักบาตร การสวดมนต์ การสนทนา โดยใช้หลักจิตวิทยาเพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง การออกกำลังกาย กิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีบริการแพทย์ตรวจเยี่ยม ๒ ครั้งต่อเดือน แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูตรวจเยี่ยม ๑ ครั้งต่อเดือน พยาบาลวิชาชีพเยี่ยมประเมิน ๔ ครั้งต่อเดือน ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสมเด็จพระปิ่นเกล้า งานสวัสดิการ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโลเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์หมายเลข ๐๖ ๑๖๑๕ ๒๖๕๒ และ ๐๘ ๖๓๘๒ ๗๖๙๙                                                                         ข้อมูล รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ

กิจการการฌาปนกิจสงเคราะห์แห่งราชนาวีให้บริการจัดการศพแบบครบวงจร

ฌาปนสถานกองทัพเรือ วัดเครือวัลย์วรวิหาร ให้บริการจัดการศพแบบครบวงจร โดยให้คำแนะนำในการแจ้งเสียชีวิตและจัดการศพ, ติดต่อประสานงานกับการฌาปนกิจสงเคราะห์แห่งราชนาวี, จัดหาหีบศพพร้อมรถบริการรับ-ส่งศพ, จัดหาดอกไม้ประดับหน้าศพและพวงหรีด, จัดหาเครื่องไทยธรรมพร้อมดอกไม้ถวายพระ, จัดหาอาหารและเครื่องดื่ม, จัดหาดอกไม้จันทน์พร้อมช่อเชิญประธาน และติดต่อแนะนำสถานที่ในการลอยอังคาร สอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๔๖๕ ๑๐๑๓, ๐ ๒๔๗๕ ๕๑๖๒, ๐ ๒๔๗๕ ๓๒๑๙ ข้อมูล กิจการการฌาปนกิจสงเคราะห์แห่งราชนาวี ๑๔ พ.ค.๕๘