)
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับพิเศษ เรื่อง ข้อเท็จจริงของการเกิดสตอมเซิร์จ (Storm Surge) หรือคลื่นพายุซัดฝั่ง หรือระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นในอ่าวไทยตอนบน เพื่อประกอบการตัดสินใจดังนี้
๑. จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติในรอบ ๕๗ ปีที่ผ่านมา พบว่า มีพายุเคลื่อนตัวเข้ามาในอ่าวไทยตอนบนในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน แต่ความแรงลมของพายุมักน้อยกว่า ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
๒. จากการเคลื่อนตัวของพายุในอ่าวเบงกอลที่ประเทศพม่า เกิดจากลมที่มีความชื้นมาก ทำให้พายุมีกำลังแรงขึ้นก่อนขึ้นฝั่ง แต่พายุที่เคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทยเกิดจากลมที่มีความชื้นน้อย ซึ่งจะทำให้พายุอ่อนกำลังลง และมีแรงลมน้อยกว่า ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
๓. สตอมเซิร์ชที่เป็นอันตรายส่วนมากเกิดจากพายุที่มีแรงลมมากกว่า ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
๔. ลักษณะภูมิประเทศของพม่าเป็นแบบเปิดรับลมแรงจากพายุพัดเข้าฝั่ง ส่วนอ่าวไทยตอนบนเป็นแบบแคบและปิด รวมทั้งลมแรงที่พัดเข้าหาพายุเป็นลมที่พัดออกจากฝั่งมิได้พัดเข้าบริเวณก้นอ่าวไทย
๕. พื้นที่ชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยตอนบนเคยเกิดสตอมเซิร์จ เมื่อครั้งพายุไต้ฝุ่นเกย์ที่ขึ้นฝั่ง จังหวัดชุมพร ในปี ๒๕๓๒ และพายุไต้ฝุ่นลินดาที่ขึ้นฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี ๒๕๔๐ แต่ไม่รุนแรง ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยายืนยันว่า ถ้าจะมีพายุเคลื่อนตัวเข้ามาอีกความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรงมาก จะใกล้เคียงกับที่เคยเกิดจากอิทธิพลของพายุเกย์และพายุลินดา
๖. จากการติดตามการก่อตัวของพายุ กรมอุตุนิยมวิทยาในการก่อตัวของพายุที่จะเคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทยในระยะนี้ หากพบการก่อตัวของพายุและมีแนวโน้มว่าจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาสามารถแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้าเพื่อเตรียมป้องกันได้ไม่น้อยกว่า ๕ วัน
ข้อมูล ข่าวสาร ทร..
๒๐ ส.ค.๕๑
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับพิเศษ เรื่อง ข้อเท็จจริงของการเกิดสตอมเซิร์จ (Storm Surge) หรือคลื่นพายุซัดฝั่ง หรือระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นในอ่าวไทยตอนบน เพื่อประกอบการตัดสินใจดังนี้
๑. จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติในรอบ ๕๗ ปีที่ผ่านมา พบว่า มีพายุเคลื่อนตัวเข้ามาในอ่าวไทยตอนบนในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน แต่ความแรงลมของพายุมักน้อยกว่า ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
๒. จากการเคลื่อนตัวของพายุในอ่าวเบงกอลที่ประเทศพม่า เกิดจากลมที่มีความชื้นมาก ทำให้พายุมีกำลังแรงขึ้นก่อนขึ้นฝั่ง แต่พายุที่เคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทยเกิดจากลมที่มีความชื้นน้อย ซึ่งจะทำให้พายุอ่อนกำลังลง และมีแรงลมน้อยกว่า ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
๓. สตอมเซิร์ชที่เป็นอันตรายส่วนมากเกิดจากพายุที่มีแรงลมมากกว่า ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
๔. ลักษณะภูมิประเทศของพม่าเป็นแบบเปิดรับลมแรงจากพายุพัดเข้าฝั่ง ส่วนอ่าวไทยตอนบนเป็นแบบแคบและปิด รวมทั้งลมแรงที่พัดเข้าหาพายุเป็นลมที่พัดออกจากฝั่งมิได้พัดเข้าบริเวณก้นอ่าวไทย
๕. พื้นที่ชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยตอนบนเคยเกิดสตอมเซิร์จ เมื่อครั้งพายุไต้ฝุ่นเกย์ที่ขึ้นฝั่ง จังหวัดชุมพร ในปี ๒๕๓๒ และพายุไต้ฝุ่นลินดาที่ขึ้นฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี ๒๕๔๐ แต่ไม่รุนแรง ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยายืนยันว่า ถ้าจะมีพายุเคลื่อนตัวเข้ามาอีกความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรงมาก จะใกล้เคียงกับที่เคยเกิดจากอิทธิพลของพายุเกย์และพายุลินดา
๖. จากการติดตามการก่อตัวของพายุ กรมอุตุนิยมวิทยาในการก่อตัวของพายุที่จะเคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทยในระยะนี้ หากพบการก่อตัวของพายุและมีแนวโน้มว่าจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาสามารถแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้าเพื่อเตรียมป้องกันได้ไม่น้อยกว่า ๕ วัน
ข้อมูล ข่าวสาร ทร..
๒๐ ส.ค.๕๑
Comments