สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับ โรงพยาบาลบางกอก ๙ อินเตอร์เนชั่นแนล จัดทำโครงการ “ผ่าตัดข้อเข่าเทียม เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เพี่อรองรับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมซึ่งขาดทุนทรัพย์ในการผ่าตัดรักษา
โรคกระดูกข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุถือเป็นปัญหาสำคัญ อาการกระดูกเข่าเสื่อมจะเริ่มตั้งแต่อายุเกิน ๓๕ ปี ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของประชากรสูงขึ้น จึงทำให้จำนวนผู้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นด้วย คาดว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมและรอรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเสื่อมหลายแสนคน แต่ผู้ป่วยเหล่านี้ยังไม่สามารถเข้ารับการรักษา เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง การรักษาในระดับต้นๆ อาจใช้วิธีการรักษาโดยการให้ยาและกายภาพบำบัดได้ แต่ถ้าเสื่อมเยอะมากต้องอาศัยวิธีการผ่าตัด
โครงการนี้ จะถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในสังคม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจะทำการผ่าตัดผู้ป่วยหัวเข่าต้องเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จำนวน ๕๐๐ ราย แบ่งเป็นปีละ ๑๐๐ ราย ต่อเนื่อง ๕ ปี ผู้เข้ารับการรักษาต้องเป็นผู้ลงทะเบียนสิทธิ ๓๐ บาท (บัตรทอง) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีใบส่งตัวจากโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์
๐ ๒๘๗๗ ๑๑๑๑ ต่อ ๑๑๒๓, ๐ ๒๘๗๗ ๒๒๒๒
ข้อมูล นสพ.ไทยรัฐ
๒๑ ส.ค.๕๑
โรคกระดูกข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุถือเป็นปัญหาสำคัญ อาการกระดูกเข่าเสื่อมจะเริ่มตั้งแต่อายุเกิน ๓๕ ปี ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของประชากรสูงขึ้น จึงทำให้จำนวนผู้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นด้วย คาดว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมและรอรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเสื่อมหลายแสนคน แต่ผู้ป่วยเหล่านี้ยังไม่สามารถเข้ารับการรักษา เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง การรักษาในระดับต้นๆ อาจใช้วิธีการรักษาโดยการให้ยาและกายภาพบำบัดได้ แต่ถ้าเสื่อมเยอะมากต้องอาศัยวิธีการผ่าตัด
โครงการนี้ จะถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในสังคม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจะทำการผ่าตัดผู้ป่วยหัวเข่าต้องเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จำนวน ๕๐๐ ราย แบ่งเป็นปีละ ๑๐๐ ราย ต่อเนื่อง ๕ ปี ผู้เข้ารับการรักษาต้องเป็นผู้ลงทะเบียนสิทธิ ๓๐ บาท (บัตรทอง) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีใบส่งตัวจากโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์
๐ ๒๘๗๗ ๑๑๑๑ ต่อ ๑๑๒๓, ๐ ๒๘๗๗ ๒๒๒๒
ข้อมูล นสพ.ไทยรัฐ
๒๑ ส.ค.๕๑
Comments