กองทัพเรือ ร่วมกับ ศูนย์ไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล (ทสปช.) จัดงานวันสถาปนาไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล ในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ ในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ เขต ๑ จัดที่ อาคารนาวีภิรมย์ อำเภอ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต ๒ จัดบริเวณอนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เขต ๓ จัดที่บริเวณกองบังคับการฐานทัพเรือสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และเขต ๔ จัดบริเวณกองบังคับการฐานทัพเรือพังงา อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โดยมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย ในช่วงเช้า จัดพิธีทางศาสนา พิธีวางพวงมาลา ถวายสักการะพระอนุสาวรีย์ พิธีสวนสนามทางบก และพิธีมอบรางวัลแก่สมาชิก ทสปช.ดีเด่นประจำปี และในช่วงบ่ายจัดแข่งขันกีฬาเชื่อความสามัคคีระหว่างสมาชิก ทสปช. ทัศนศึกษาและเยี่ยมชมหน่วยงานของกองทัพเรือในพื้นที่ และพิธีมอบรางวัล ทสปช.ดีเด่นของแต่ละจังหวัด
วันที่ ๔ มีนาคม ของทุกปี ถือเป็นวันสถาปนา ทสปช. เนื่องจากในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๓๖๙ ท้าวสุรนารี วีรสตรีของไทยได้รวมพลังประชาชนหญิงชายชาวนครราชสีมาเข้าต่อสู้กับอริราชศัตรูอย่างเข้มแข็ง แม้จะเป็นพลเรือนและมีอาวุธน้อยกว่า แต่ด้วยจิตใจที่กล้าหาญและมีอุดมการณ์แน่วแน่ในการรักษาเอกราชของชาติ ทำให้สามารถขับไล่ข้าศึกจนแตกพ่ายไป นับเป็นวีรกรรมของพลังประชาชนอย่างแท้จริง โดยได้เริ่มจัดงานวันสถาปนา ทสปช. เพื่อระลึกถึงวีรกรรมที่เสียสละของประชาชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ โดยแต่ละพื้นที่ของศูนย์ ทสปช.ภาค ๑ – ๔ และศูนย์ ทสปช. ในทะเล ได้จัดงานในพื้นที่ของตนอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยศูนย์ ทสปช. ในทะเลมี ๔ เขต ประกอบด้วย ศูนย์ ทสปช.ในทะเลเขต ๑ มี ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ เป็น ผอ.ศูนย์ฯ รับผิดชอบ จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์ ทสปช.ในทะเล เขต ๒ มีผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ เป็น ผอ.ศูนย์ฯ รับผิดชอบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ศูนย์ ทสปช.ในทะเลเขต ๓ มีผู้บัญชาการฐานทัพเรือสงขลา เป็น ผอ.ศูนย์ฯ รับผิดชอบจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานีและนราธิวาส ศูนย์ ทสปช.ในทะเลเขต ๔ มีผู้บัญชาการฐานทัพเรือพังงา เป็น ผอ.ศูนย์ฯ รับผิดชอบจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ข้อมูล ยก.ทร.
๒๐ ก.พ.๕๑
วันที่ ๔ มีนาคม ของทุกปี ถือเป็นวันสถาปนา ทสปช. เนื่องจากในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๓๖๙ ท้าวสุรนารี วีรสตรีของไทยได้รวมพลังประชาชนหญิงชายชาวนครราชสีมาเข้าต่อสู้กับอริราชศัตรูอย่างเข้มแข็ง แม้จะเป็นพลเรือนและมีอาวุธน้อยกว่า แต่ด้วยจิตใจที่กล้าหาญและมีอุดมการณ์แน่วแน่ในการรักษาเอกราชของชาติ ทำให้สามารถขับไล่ข้าศึกจนแตกพ่ายไป นับเป็นวีรกรรมของพลังประชาชนอย่างแท้จริง โดยได้เริ่มจัดงานวันสถาปนา ทสปช. เพื่อระลึกถึงวีรกรรมที่เสียสละของประชาชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ โดยแต่ละพื้นที่ของศูนย์ ทสปช.ภาค ๑ – ๔ และศูนย์ ทสปช. ในทะเล ได้จัดงานในพื้นที่ของตนอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยศูนย์ ทสปช. ในทะเลมี ๔ เขต ประกอบด้วย ศูนย์ ทสปช.ในทะเลเขต ๑ มี ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ เป็น ผอ.ศูนย์ฯ รับผิดชอบ จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์ ทสปช.ในทะเล เขต ๒ มีผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ เป็น ผอ.ศูนย์ฯ รับผิดชอบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ศูนย์ ทสปช.ในทะเลเขต ๓ มีผู้บัญชาการฐานทัพเรือสงขลา เป็น ผอ.ศูนย์ฯ รับผิดชอบจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานีและนราธิวาส ศูนย์ ทสปช.ในทะเลเขต ๔ มีผู้บัญชาการฐานทัพเรือพังงา เป็น ผอ.ศูนย์ฯ รับผิดชอบจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ข้อมูล ยก.ทร.
๒๐ ก.พ.๕๑
Comments