กรุงเทพมหานคร แถลงข่าวการจัดงาน “รวมพลังระวังต้อหินเนื่องในวันต้อหินโลก ปี ๒๕๕๔” ในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๖๐๐-๑๒๐๐ ที่อาคารลุมพินีสถาน สวนลุมพินี
กิจกรรมในงานประกอบด้วย การเดินรณรงค์ “รวมพลังระวังต้อหิน” การตรวจสุขภาพตา การเสวนาหัวข้อ “รู้ลึกรู้จริงเรื่องต้อหิน” ชมนิทรรศการความรู้เรื่องต้อหิน และกิจกรรมตอบปัญหากับดารานักแสดง โรคต้อหินเป็นสาเหตุทำให้ตาบอดชนิดถาวรที่พบบ่อยเป็นอันดับ ๑ ในประเทศไทย ซึ่งมีรายงานอุบัติการณ์ของโรคประมาณ ๒.๕-๓.๘ % หรือคิดเป็นจำนวนผู้ป่วย ๑.๗-๒.๔ ล้านคน โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลศิริราช ได้สำรวจชุมชนของกรุงเทพมหานคร พบว่า ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปีขึ้นไป เป็นต้อหินสูงถึงร้อยละ ๓.๘ และเพิ่มเป็นร้อยละ ๖.๑ ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้ผู้ป่วย ๙ ใน ๑๐ คน จะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะสังเกตได้เมื่อเกิดอาการขั้นรุนแรง ซึ่งอาจทำให้ตามัวหรือมองไม่เห็นได้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคต้อหิน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก และผู้ที่เคยผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน ดังนั้นทุกคนควรรับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ควรคัดกรองโรคต้อหิน ทุก ๑-๒ ปี ผู้มีอายุ ๖๐ ปี ควรตรวจตาเป็นประจำทุกปี หากตรวจพบเร็วจะสามารถรักษาไม่ให้ตาบอดได้
ทั้งนี้ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ แห่ง และโรงพยาบาล ๙ แห่ง ในสังกัด กทม. จะจัดกิจกรรมสัปดาห์ต้อหินโลก ระหว่างวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ – ๕ มีนาคม ๒๕๕๔
ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๒๘ ก.พ.๕๔
กิจกรรมในงานประกอบด้วย การเดินรณรงค์ “รวมพลังระวังต้อหิน” การตรวจสุขภาพตา การเสวนาหัวข้อ “รู้ลึกรู้จริงเรื่องต้อหิน” ชมนิทรรศการความรู้เรื่องต้อหิน และกิจกรรมตอบปัญหากับดารานักแสดง โรคต้อหินเป็นสาเหตุทำให้ตาบอดชนิดถาวรที่พบบ่อยเป็นอันดับ ๑ ในประเทศไทย ซึ่งมีรายงานอุบัติการณ์ของโรคประมาณ ๒.๕-๓.๘ % หรือคิดเป็นจำนวนผู้ป่วย ๑.๗-๒.๔ ล้านคน โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลศิริราช ได้สำรวจชุมชนของกรุงเทพมหานคร พบว่า ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปีขึ้นไป เป็นต้อหินสูงถึงร้อยละ ๓.๘ และเพิ่มเป็นร้อยละ ๖.๑ ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้ผู้ป่วย ๙ ใน ๑๐ คน จะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะสังเกตได้เมื่อเกิดอาการขั้นรุนแรง ซึ่งอาจทำให้ตามัวหรือมองไม่เห็นได้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคต้อหิน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก และผู้ที่เคยผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน ดังนั้นทุกคนควรรับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ควรคัดกรองโรคต้อหิน ทุก ๑-๒ ปี ผู้มีอายุ ๖๐ ปี ควรตรวจตาเป็นประจำทุกปี หากตรวจพบเร็วจะสามารถรักษาไม่ให้ตาบอดได้
ทั้งนี้ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ แห่ง และโรงพยาบาล ๙ แห่ง ในสังกัด กทม. จะจัดกิจกรรมสัปดาห์ต้อหินโลก ระหว่างวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ – ๕ มีนาคม ๒๕๕๔
ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๒๘ ก.พ.๕๔
Comments