วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝน เป็นระยะเวลา ๓ เดือน ตามที่พระธรรมวินัยกำหนดไว้ ซึ่งพระสงฆ์จะละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ การนับเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา
ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่นพากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา ๓ เดือน พระสงฆ์ที่เข้าพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น “ขาดพรรษา” แต่หากมีกรณีเป็นบางอย่างพระภิกษุผู้จำพรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน ๗ วัน ก็คือ
๑. การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
๒. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
๓. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
๔. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้
แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ซึ่งกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันปฏิบัติในวันเข้าพรรษา ประกอบด้วย การถวายเทียนพรรษา การถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร การร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล และการอธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ ทั้ง เหล้า บุหรี่ และของมึนเมาต่างๆ
- ๒ -
ซึ่งโทษของการดื่มสุราเมรัย และสิ่งเสพติด มีมากมาย อาทิ ทำให้เสียทรัพย์ไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นเหตุให้ก่อเหตุทะเลาะวิวาท เพราะผู้ดื่มสุรา หรือเสพยาเสพติด จะคุมสติ ไม่อยู่ ลืมตัว ก่อให้เกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทได้ง่าย ทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรมเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ทั้งโรคทางเดินอาหาร โรคทางระบบประสาท โรคระบบทางเดินโลหิต โรคอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็ง เป็นต้น ทำให้ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ มักทำอะไรอย่างไม่รู้ตัว นำความมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียง
ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลแห่งการบำเพ็ญกุศลของพุทธศาสนิกชน กองทัพเรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รวมทั้งหน่วยต่างๆ จึงได้ร่วมกันเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชน น้อมใจเป็นกุศลตั้งใจทำความดีงดเหล้าเข้าพรรษา เพื่อชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองในช่วงเทศกาลสำคัญนี้ รวมถึงหากผู้ใดสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องตลอดไปก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง
ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่นพากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา ๓ เดือน พระสงฆ์ที่เข้าพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น “ขาดพรรษา” แต่หากมีกรณีเป็นบางอย่างพระภิกษุผู้จำพรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน ๗ วัน ก็คือ
๑. การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
๒. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
๓. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
๔. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้
แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ซึ่งกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันปฏิบัติในวันเข้าพรรษา ประกอบด้วย การถวายเทียนพรรษา การถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร การร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล และการอธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ ทั้ง เหล้า บุหรี่ และของมึนเมาต่างๆ
- ๒ -
ซึ่งโทษของการดื่มสุราเมรัย และสิ่งเสพติด มีมากมาย อาทิ ทำให้เสียทรัพย์ไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นเหตุให้ก่อเหตุทะเลาะวิวาท เพราะผู้ดื่มสุรา หรือเสพยาเสพติด จะคุมสติ ไม่อยู่ ลืมตัว ก่อให้เกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทได้ง่าย ทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรมเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ทั้งโรคทางเดินอาหาร โรคทางระบบประสาท โรคระบบทางเดินโลหิต โรคอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็ง เป็นต้น ทำให้ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ มักทำอะไรอย่างไม่รู้ตัว นำความมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียง
ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลแห่งการบำเพ็ญกุศลของพุทธศาสนิกชน กองทัพเรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รวมทั้งหน่วยต่างๆ จึงได้ร่วมกันเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชน น้อมใจเป็นกุศลตั้งใจทำความดีงดเหล้าเข้าพรรษา เพื่อชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองในช่วงเทศกาลสำคัญนี้ รวมถึงหากผู้ใดสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องตลอดไปก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง
Comments