กรมการขนส่งทางบก มีมาตรการเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้โดยสาร โดยกำหนดให้ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป รถตู้โดยสารประจำทางที่มีอายุการใช้งานเกิน ๑๐ ปี นับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก ต้องเปลี่ยนเป็นรถใหม่หรือรถที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๒ ปี เป็นรถตู้หลังคาสูงและใช้ CNG เป็นเชื้อเพลิง ยกเว้นรถตู้โดยสารที่จดทะเบียนใช้งานอยู่ในจังหวัดที่ไม่มีสถานีบริการ ก๊าซ CNG สามารถยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนเพื่อขอผ่อนผันการใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงได้ โดยสามารถติดต่อยื่นคำขอหรือสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดที่จะทะเบียนไว้ ทั้งนี้หากาเจ้าของรถตู้โดยสารประจำทางอายุเกินกว่า ๑๐ ปี ประสงค์จะบริการรับ – ส่งผู้โดยสารต่อไป จะต้องดำเนินการจดทะเบียนรถคันใหม่เพื่อทดแทนคันเดิมก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ มิฉะนั้นจะถูกระงับการดำเนินการทางทะเบียน และถอนรถออกจากระบบทะเบียน ซึ่งหากนำรถตู้โดยสารที่สิ้นอายุแล้วไปใช้รับ – ส่งผู้โดยสาร จะมีความผิดตามกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมีนโยบายเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้โดยสาร โดยปรับปรุงระเบียบการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยใหม่มีผลตั้งแต่ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รถเก๋ง) รถยนต์รับจ้างบรรทุกโดยสารไม่เกิน ๗ คน (รถแท็กซี่) รถยนต์บริการและรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ที่จะนำมาจดทะเบียนใหม่จะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแบบรัดหน้าตัก และรั้งพาดไหล่ในตำแหน่งที่นั่งคนขับและที่นั่งผู้โดยสารที่อยู่ริมสุด ทั้งที่นั่งตอนหน้าและตอนที่ ๒ ส่วนที่นั่งระหว่างกลางจะติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ หรือแบบรัดหน้าตักก็ได้ สำหรับรถที่มีเบาะที่นั่งแบบ ๓ ตอน ที่นั่งตอนที่ ๓ จะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยด้วย โดยจะติดตั้งแบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่หรือแบบรัดหน้าตักก็ได้
สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน แต่ไม่เกิน ๑๒ คน (รถตู้) และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถปิกอัพ) ที่นั่งตอนหน้าจะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้สำหรับรถข้างต้น
นับเป็นมาตรการของกรมการขนส่งทางบกที่มุ่งเน้นให้ผู้โดยสารมีความปลอดภัยในการเดินทาง
ข้อมูล นสพ.สยามรัฐ
๒๔ พ.ค.๕๓
นอกจากนี้ยังมีนโยบายเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้โดยสาร โดยปรับปรุงระเบียบการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยใหม่มีผลตั้งแต่ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รถเก๋ง) รถยนต์รับจ้างบรรทุกโดยสารไม่เกิน ๗ คน (รถแท็กซี่) รถยนต์บริการและรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ที่จะนำมาจดทะเบียนใหม่จะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแบบรัดหน้าตัก และรั้งพาดไหล่ในตำแหน่งที่นั่งคนขับและที่นั่งผู้โดยสารที่อยู่ริมสุด ทั้งที่นั่งตอนหน้าและตอนที่ ๒ ส่วนที่นั่งระหว่างกลางจะติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ หรือแบบรัดหน้าตักก็ได้ สำหรับรถที่มีเบาะที่นั่งแบบ ๓ ตอน ที่นั่งตอนที่ ๓ จะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยด้วย โดยจะติดตั้งแบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่หรือแบบรัดหน้าตักก็ได้
สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน แต่ไม่เกิน ๑๒ คน (รถตู้) และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถปิกอัพ) ที่นั่งตอนหน้าจะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้สำหรับรถข้างต้น
นับเป็นมาตรการของกรมการขนส่งทางบกที่มุ่งเน้นให้ผู้โดยสารมีความปลอดภัยในการเดินทาง
ข้อมูล นสพ.สยามรัฐ
๒๔ พ.ค.๕๓
Comments