สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิก ยูเนสโก ว่า เดิมศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำ ได้ตั้งอยู่ที่ประเทศศรีลังกาแต่องค์การยูเนสโกพิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยมีศักยภาพด้านโบราณคดีใต้น้ำที่ทันสมัยในภูมิภาคอาเซียน จึงได้ขอย้ายฐานมาตั้งที่ประเทศไทย ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จังหวัดจันทบุรี เพื่อทำหน้าที่ในการฝึกอบรมการดำน้ำเพื่อสำรวจค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับโบราณวัตถุใต้ท้องทะเล โดยใช้งบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศนอร์เวย์ในการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำ ได้จัดตั้งเสร็จแล้วและเปิดอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคน นี้ โดยจะมีหลักสูตรฝึกอบรมภาคทฤษฎีใช้สถานที่สำนักงานโบราณคดีใต้น้ำ ท่าแฉลบ เป็นห้องเรียนหลัก และเลือกแหล่งโบราณคดีใต้น้ำเรือมันนอก เรือเมล์สมัย รัชกาลที่ ๖ ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นภาคปฏิบัติห้องเรียนใต้ทะเล
ปัจจุบันทั่วโลกมีประเทศสมาชิกโบราณคดีใต้น้ำ จำนวน ๖๓ ประเทศ ขณะนี้มีสมาชิกในเอเชียส่งรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมการอบรมรุ่นแรกแล้ว ๑๒ ราย จาก ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยเฉพาะกัมพูชาได้ให้ความสนใจอย่างมากงานในเรื่องโบราณคดีใต้น้ำ เนื่องจากได้มีการลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การยูเนสโกว่าด้วยการ คุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ ๒๐๐๙ ไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดตั้งศูนย์โบราณคดีใต้น้ำกัมพูชา จึงได้ส่งอธิบดีกรมมรดกโลกกัมพูชาสมัครเป็นตัวแทนเข้ารับการอบรมงานครั้งนี้ด้วย เพื่อเรียนรู้กระบวนการโบราณคดีใต้น้ำสากล
ข้อมูล นสพ.สยามรัฐ
๓๐ ต.ค.๕๒
ปัจจุบันทั่วโลกมีประเทศสมาชิกโบราณคดีใต้น้ำ จำนวน ๖๓ ประเทศ ขณะนี้มีสมาชิกในเอเชียส่งรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมการอบรมรุ่นแรกแล้ว ๑๒ ราย จาก ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยเฉพาะกัมพูชาได้ให้ความสนใจอย่างมากงานในเรื่องโบราณคดีใต้น้ำ เนื่องจากได้มีการลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การยูเนสโกว่าด้วยการ คุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ ๒๐๐๙ ไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดตั้งศูนย์โบราณคดีใต้น้ำกัมพูชา จึงได้ส่งอธิบดีกรมมรดกโลกกัมพูชาสมัครเป็นตัวแทนเข้ารับการอบรมงานครั้งนี้ด้วย เพื่อเรียนรู้กระบวนการโบราณคดีใต้น้ำสากล
ข้อมูล นสพ.สยามรัฐ
๓๐ ต.ค.๕๒
Comments