ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี จะเสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อทรงแสดงดนตรี “กู่เจิ้ง” ในงานแสดงดนตรีและวัฒนธรรม “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” ครั้งที่ ๔ ณ กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ และเมืองตงกว่าน ระหว่างวันที่ ๑๒-๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมครั้งสำคัญในฐานะที่ทรงเป็นทูตวัฒนธรรมจีน
ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นพระราชวงศ์ พระองค์แรกของโลกที่ทรงเครื่องดนตรีโบราณในราชสำนักจีนที่เรียกว่า “กู่เจิ้ง” ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมโดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้สลับกันเป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงดนตรีและวัฒนธรรมสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน ซึ่งงานแสดง ๓ ครั้งที่ผ่านมา ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม เป็นที่ประทับใจในพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระองค์ต่อประชาชนทั้งชาวไทยและชาวจีน สำหรับการแสดงครั้งนี้ทรงเลือกบทเพลง ๕ เพลง ได้แก่ เพลงระบำเผ่าอี้ เพลงเผ่าไทย เพลงเมฆตามพระจันทร์ เพลงเต้าลาซา และเพลงสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน ซึ่งเป็นบทเพลงที่แต่งตั้งเป็นพิเศษสำหรับงานแสดงดนตรีและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ นอกจากนี้ทรงนำการแสดงจากกรมศิลปากร ๖ ชุด ไปร่วมแสดงด้วย อาทิ ชุดเทพประทานพร การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระรามรบทศกัณฑ์ การแสดงรำวง รวมใจไทยสี่ภาค โดยในช่วงนี้ได้ฝึกซ้อมกับวงดุริยางค์ราชนาวี และต่อไปจะไปฝึกซ้อมกับวงดุริยางค์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับประเทศไทย จะได้ร่วมชื่นชมพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในการทรงเครื่องดนตรีกู่เจิ้งในเดือนมกราคม ๒๕๕๓
ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๓ พ.ย.๕๒
ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นพระราชวงศ์ พระองค์แรกของโลกที่ทรงเครื่องดนตรีโบราณในราชสำนักจีนที่เรียกว่า “กู่เจิ้ง” ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมโดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้สลับกันเป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงดนตรีและวัฒนธรรมสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน ซึ่งงานแสดง ๓ ครั้งที่ผ่านมา ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม เป็นที่ประทับใจในพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระองค์ต่อประชาชนทั้งชาวไทยและชาวจีน สำหรับการแสดงครั้งนี้ทรงเลือกบทเพลง ๕ เพลง ได้แก่ เพลงระบำเผ่าอี้ เพลงเผ่าไทย เพลงเมฆตามพระจันทร์ เพลงเต้าลาซา และเพลงสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน ซึ่งเป็นบทเพลงที่แต่งตั้งเป็นพิเศษสำหรับงานแสดงดนตรีและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ นอกจากนี้ทรงนำการแสดงจากกรมศิลปากร ๖ ชุด ไปร่วมแสดงด้วย อาทิ ชุดเทพประทานพร การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระรามรบทศกัณฑ์ การแสดงรำวง รวมใจไทยสี่ภาค โดยในช่วงนี้ได้ฝึกซ้อมกับวงดุริยางค์ราชนาวี และต่อไปจะไปฝึกซ้อมกับวงดุริยางค์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับประเทศไทย จะได้ร่วมชื่นชมพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในการทรงเครื่องดนตรีกู่เจิ้งในเดือนมกราคม ๒๕๕๓
ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๓ พ.ย.๕๒
Comments