คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริมการวิจัยสร้างองค์ความรู้และภูมิปัญญาของประเทศ และตระหนักถึงความสำคัญในงานวิจัยพื้นฐาน เมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคชนิดต่างๆ ที่คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ให้การสนับสนุนการวิจัยมาโดยตลอดไม่ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรคหรือไม่ และสำหรับในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ ที่แพร่มาจากประเทศเม็กซิโก และเป็นที่หวั่นเกรงในการแพร่ระบาดของประเทศทั่วโลก
ทางคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ นี้เป็นอย่างยิ่ง จึงได้นำผลการวิจัยโรคดังกล่าวจากนักวิจัยหลากหลายแขนงมาจัดสัมมนา เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชนในการสัมมนาเรื่อง คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกับการแก้วิกฤติโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๘๐๐-๑๕๐๐ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ โดยการสัมมนาจะมีการบรรยายและให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ อาทิ ประเทศไทยกับการเตรียมความพร้อมรับปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ การเสวนาเรื่องสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ๒๐๐๙ ความพร้อม การป้องกัน และควบคุมโรค การบรรยายเรื่อง ลักษณะทางอณูชีวิตของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในสุกรและคน รวมทั้งผลของการติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และการระดมความคิดเห็นเรื่องทิศทางแผนงานวิจัยเร่งด่วนของประเทศด้านโรคอุบัติใหม่ไข้หวัดใหญ่
ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๑๒ พ.ค.๕๒
ทางคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ นี้เป็นอย่างยิ่ง จึงได้นำผลการวิจัยโรคดังกล่าวจากนักวิจัยหลากหลายแขนงมาจัดสัมมนา เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชนในการสัมมนาเรื่อง คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกับการแก้วิกฤติโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๘๐๐-๑๕๐๐ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ โดยการสัมมนาจะมีการบรรยายและให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ อาทิ ประเทศไทยกับการเตรียมความพร้อมรับปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ การเสวนาเรื่องสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ๒๐๐๙ ความพร้อม การป้องกัน และควบคุมโรค การบรรยายเรื่อง ลักษณะทางอณูชีวิตของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในสุกรและคน รวมทั้งผลของการติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และการระดมความคิดเห็นเรื่องทิศทางแผนงานวิจัยเร่งด่วนของประเทศด้านโรคอุบัติใหม่ไข้หวัดใหญ่
ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๑๒ พ.ค.๕๒
Comments