กองทัพเรือ โดย ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ร่วมกับ รศ.สพญ.ดร.นันทริกา ซันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้การรักษาพยาบาลเต่าตนุเพศเมีย อายุ ๕ ปี ที่ติดอวนชาวประมงมา โดยได้ตรวจสภาพเต่าทะเลอย่างละเอียด พบว่าสภาพภายนอกทั่วไปมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งผลจากการตรวจอัลตร้าซาวด์พบไข่จำนวนมากอยู่ในท้อง จึงได้ให้ยาถ่ายพยาธิและยาบำรุง พร้อมทั้งฝังไมโครชิพที่บริเวณลำคอบนด้านขวา และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป ดังนั้น ชาวประมงหรือประชาชนที่พบเต่าว่ายน้ำอยู่ในทะเลขออย่าได้ไปรบกวน หากพบติดอวนขอให้แกะออกและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้ช่วยกันอนุรักษ์เต่าทะเลให้แพร่พันธุ์ต่อไป เนื่องจากปัจจุบันจำนวนประชากรเท่าทะเลมีปริมาณลดลงมาก
ทั้งนี้ การติดไมโครชิพให้กับเต่าทะเลเพื่อได้ทราบถึงวิถีชีวิตและการเดินทางของเต่าทะเล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการติดตามการเดินทางของเต่าทะเลได้อย่างดี และเต่าทะเลที่ปล่อยไปพบว่าจะหากินอยู่ในรัศมี ๓,๐๐๐ กิโลเมตร จากอ่าวไทยจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ และบริเวณทะเลจีนใต้เลยทีเดียว และเมื่อถึงเวลาวางไข่ เต่าทะส่วนใหญ่ก็จะเดินทางกลับมาวางไข่ เต่าทะเลส่วนใหญ่ก็จะเดินทางกลับมาวางไข่ยังสถานที่ตนเองถูกปล่อยไป หลายครั้งที่เต่าทะเลถูกปล่อยออกจากศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลแล้ว อีกหลายปีต่อมาเต่าเหล่านี้ได้ย้อนขึ้นมาวางไข่ ณ บริเวณชายหาดอ่าวสัตหีบแห่งนี้อีกด้วย สำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อกับศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ เพื่อเยี่ยมชมและศึกษาวงจรชีวิตของเต่าทะเล สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๘ ๔๓๑ ๔๗๗ และ ๐ ๒๔๖๖ ๑๑๘๐ ต่อ ๗๙๐๓๕ และ ๗๙๐๓๖
ข้อมูล ข่าวสาร ทร.
๒๒ ม.ค.๕๒
ทั้งนี้ การติดไมโครชิพให้กับเต่าทะเลเพื่อได้ทราบถึงวิถีชีวิตและการเดินทางของเต่าทะเล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการติดตามการเดินทางของเต่าทะเลได้อย่างดี และเต่าทะเลที่ปล่อยไปพบว่าจะหากินอยู่ในรัศมี ๓,๐๐๐ กิโลเมตร จากอ่าวไทยจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ และบริเวณทะเลจีนใต้เลยทีเดียว และเมื่อถึงเวลาวางไข่ เต่าทะส่วนใหญ่ก็จะเดินทางกลับมาวางไข่ เต่าทะเลส่วนใหญ่ก็จะเดินทางกลับมาวางไข่ยังสถานที่ตนเองถูกปล่อยไป หลายครั้งที่เต่าทะเลถูกปล่อยออกจากศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลแล้ว อีกหลายปีต่อมาเต่าเหล่านี้ได้ย้อนขึ้นมาวางไข่ ณ บริเวณชายหาดอ่าวสัตหีบแห่งนี้อีกด้วย สำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อกับศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ เพื่อเยี่ยมชมและศึกษาวงจรชีวิตของเต่าทะเล สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๘ ๔๓๑ ๔๗๗ และ ๐ ๒๔๖๖ ๑๑๘๐ ต่อ ๗๙๐๓๕ และ ๗๙๐๓๖
ข้อมูล ข่าวสาร ทร.
๒๒ ม.ค.๕๒
Comments