กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กำลังพิจารณาจำนวนสิ่งก่อสร้างในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในทะเลของประเทศไทย ซึ่งจะเริ่มทยอยหมดอายุสัมปทานในอีก ๕ ปีข้างหน้า จำนวน ๒๒๕ แท่น รวมทั้งท่อขนส่งปิโตรเลียมระหว่างแท่นต่างๆ ในพื้นที่ผลิตมีความยาวกว่า ๑,๐๐๐ กิโลเมตร ซึ่งตามกฎหมายพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ๒๕๕๐ มาตรา ๘๐/๑ ระบุว่า เจ้าของสัมปทานต้องรับผิดชอบในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ออกจากท้องทะเล ดังนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงร่วมกับสถาบันการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทะเล หารือเกี่ยวกับแนวทางการสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม โดยเฉพาะเทคนิคการรื้อถอนที่ไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ตลอดจนข้อควรระวังจากแนวคิดการสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสีย
เบื้องต้นทุกฝ่ายมีความเห็นร่วมกันให้เร่งศึกษาพื้นที่บริเวณอ่าวไทยที่เหมาะสมในการจัดวางปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียม ควบคู่ไปกับการสำรวจข้อมูลและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ การกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาเรื่องสารปนเปื้อน และความปลอดภัยทางการเดินเรือ จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดี- ช้อเสีย และร่วมกันประเมินความเป็นไปได้ในการสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมบริเวณอ่าวไทย ก่อนจะนำไปขยายเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทปะการังเทียมของประเทศ เพื่อให้การบริหารจัดการด้านงานวิจัยและการใช้ประโยชน์จากปะการังเทียมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูล ข่าวสาร ทร.
๒๓ มิ.ย.๕๑
เบื้องต้นทุกฝ่ายมีความเห็นร่วมกันให้เร่งศึกษาพื้นที่บริเวณอ่าวไทยที่เหมาะสมในการจัดวางปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียม ควบคู่ไปกับการสำรวจข้อมูลและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ การกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาเรื่องสารปนเปื้อน และความปลอดภัยทางการเดินเรือ จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดี- ช้อเสีย และร่วมกันประเมินความเป็นไปได้ในการสร้างปะการังเทียมจากแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมบริเวณอ่าวไทย ก่อนจะนำไปขยายเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทปะการังเทียมของประเทศ เพื่อให้การบริหารจัดการด้านงานวิจัยและการใช้ประโยชน์จากปะการังเทียมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูล ข่าวสาร ทร.
๒๓ มิ.ย.๕๑
Comments