วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑ เป็นวันที่ครบรอบ ๑๑ ปี ของการขึ้นระวางประจำการของ ร.ล.จักรีนฤเบศร
การจัดหา ร.ล.จักรีนฤเบศร เนื่องมาจากการเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ กองทัพเรือยังไม่มีเรือที่สามารถทนสภาพทะเลขณะเกิดพายุไต้ฝุ่นในครั้งนั้นได้ ทำให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นไปด้วยความยากลำบาก กองทัพเรือจึงมีแนวคิดในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขึ้นเพื่อให้มีขีดความสามารถในการค้นหา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถขยายพื้นที่ในการลาดตระเวน และระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานาน ทำให้การปฏิบัติการในทะเลมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จนในปี พ.ศ.๒๕๓๕ คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้กองทัพเรือสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จากบริษัท บาซาน ประเทศสเปน และกองทัพเรือ ได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร หมายความว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี” และนับเป็นมหามงคลอย่างยิ่งสำหรับกองทัพเรือ ที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งประเทศสเปน ทรงเสด็จร่วมในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ณ อู่บาซาน เมืองเฟโรจ ประเทศสเปน เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๙ กองทัพเรือ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในพิธีเจิมเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศร ณ ท่าเรือน้ำลึกจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๐ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นต่อกองทัพเรือ และเป็นสิริมงคลต่อกำลังพลกองทัพเรือเป็นอย่างยิ่ง
การปฏิบัติการสำคัญที่ผ่านมา อาทิ ได้ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุโซนร้อนซีต้าร์ ที่ทำให้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมหนักในภาคใต้ตอนบนตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นลินดา บริเวณจังหวัดชุมพร ในปี ๒๕๔๐ ช่วยเหลือเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวังสงขลา ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ , ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิในภาคใต้ ปี พ.ศ.๒๕๔๗ นับได้ว่าหลังจากที่ ร.ล.จักรีนฤเบศรขึ้นระวางประจำการ ได้มีการพัฒนารูปแบบปฏิบัติการ
ทางเรือร่วมกับอากาศยานให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ แก่กองทัพเรือ ซึ่งเป็นการสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีต่อกองทัพเรือไทยเป็นอย่างมาก นอกจากการช่วยเหลือผู้ประสบภัย การเข้าร่วมการฝึกที่สำคัญต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศแล้ว ยังเป็นเรือรับรองของพระบรมวงศานุวงศ์ และรับรองบุคคลสำคัญในโอกาสต่างๆ
ตลอดระยะเวลา ๑๑ ปี เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้ทำการฝึกเตรียมความพร้อมของเรือเป็นประจำ ทำให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สมกับที่เป็นเขี้ยวเล็บสำคัญของราชนาวีไทย
ข้อมูล กระดูกงู
๑๑ มี.ค.๕๑
การจัดหา ร.ล.จักรีนฤเบศร เนื่องมาจากการเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ กองทัพเรือยังไม่มีเรือที่สามารถทนสภาพทะเลขณะเกิดพายุไต้ฝุ่นในครั้งนั้นได้ ทำให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นไปด้วยความยากลำบาก กองทัพเรือจึงมีแนวคิดในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขึ้นเพื่อให้มีขีดความสามารถในการค้นหา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถขยายพื้นที่ในการลาดตระเวน และระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานาน ทำให้การปฏิบัติการในทะเลมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จนในปี พ.ศ.๒๕๓๕ คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้กองทัพเรือสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จากบริษัท บาซาน ประเทศสเปน และกองทัพเรือ ได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร หมายความว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี” และนับเป็นมหามงคลอย่างยิ่งสำหรับกองทัพเรือ ที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งประเทศสเปน ทรงเสด็จร่วมในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ณ อู่บาซาน เมืองเฟโรจ ประเทศสเปน เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๙ กองทัพเรือ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในพิธีเจิมเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศร ณ ท่าเรือน้ำลึกจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๐ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นต่อกองทัพเรือ และเป็นสิริมงคลต่อกำลังพลกองทัพเรือเป็นอย่างยิ่ง
การปฏิบัติการสำคัญที่ผ่านมา อาทิ ได้ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุโซนร้อนซีต้าร์ ที่ทำให้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมหนักในภาคใต้ตอนบนตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นลินดา บริเวณจังหวัดชุมพร ในปี ๒๕๔๐ ช่วยเหลือเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวังสงขลา ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ , ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิในภาคใต้ ปี พ.ศ.๒๕๔๗ นับได้ว่าหลังจากที่ ร.ล.จักรีนฤเบศรขึ้นระวางประจำการ ได้มีการพัฒนารูปแบบปฏิบัติการ
ทางเรือร่วมกับอากาศยานให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ แก่กองทัพเรือ ซึ่งเป็นการสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีต่อกองทัพเรือไทยเป็นอย่างมาก นอกจากการช่วยเหลือผู้ประสบภัย การเข้าร่วมการฝึกที่สำคัญต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศแล้ว ยังเป็นเรือรับรองของพระบรมวงศานุวงศ์ และรับรองบุคคลสำคัญในโอกาสต่างๆ
ตลอดระยะเวลา ๑๑ ปี เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้ทำการฝึกเตรียมความพร้อมของเรือเป็นประจำ ทำให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สมกับที่เป็นเขี้ยวเล็บสำคัญของราชนาวีไทย
ข้อมูล กระดูกงู
๑๑ มี.ค.๕๑
Comments