พลเรือโท เจริญพล คุ้มราษี เสนาธิการ กองเรือยุทธการ และ Rdm. Kemmeth Whitesell Deputy Commander US.Pacific Fleet ร่วมเปิดการฝึก Asean-US Maritime Exercise -AUMX 2019 ระหว่างวันที่ 2- 6 กันยายน 2562
กองทัพเรือ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกผสม ASEAN – U.S. Maritime Exercise ซึ่งไม่ใช่การซ้อมรบ โดยเป็นการฝึกผสมทางเรือในลักษณะพหุภาคีครั้งแรก ระหว่าง กองทัพเรือ ในภูมิภาคอาเซียน และ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับการฝึก พหุภาคีตามกรอบงานด้านความมั่นคงทางทะเลกับมิตรประเทศ ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยปกติทั่วไป
สำหรับกำลังที่เข้าร่วมการฝึก คือ กองทัพเรือชาติสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย ไทย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาโดยมีกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกทั้งสิ้น 1250 นาย มีการจัดตั้ง บก.กองกำลังเฉพาะกิจผสม หรือ บก.CTF บนเรือหลวงกระบี่ มี พลเรือตรี สมพงษ์ นาคทอง ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ เป็นผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจผสม และมี CAPT MATT JERBI ผู้บัญชาการกองเรือพิฆาตที่ 7 กองทัพเรือสหรัฐฯ เป็นรองผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจผสม และมีกำลังพล กองทัพเรือชาติสมาชิกอาเซียน ปฏิบัติหน้าที่ใน บก.CTF ซึ่งทำหน้าที่ในส่วนปฏิบัติการทางเรือและอากาศยาน ส่วนติดตามสถานการณ์ทางทะเล และส่วนควบคุมการฝึก โดยมีเรือเข้าร่วมการฝึก จำนวน 8 ลำ อากาศยาน จำนวน 2 เครื่อง
ในส่วนของสถานการณ์ฝึก สมมุติเหตุการณ์ ให้ได้รับข่าวสารจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนและสหรัฐฯ ว่าจะมีเรือที่มีพฤติกรรมต้องสงสัยในการกระทำผิดกฎหมายในทะเล เช่น สินค้าผิดกฎหมายลักลอบนำเข้าประเทศ ยาเสพติด แรงงานเถื่อนและการค้ามนุษย์ การกระทำเป็นโจรสลัด เป็นต้น เดินทางเข้ามาในบริเวณน่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามทางทะเลร่วมกัน ชาติสมาชิกอาเซียนและสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้งกองกำลังทางเรือเฉพาะกิจ เพื่อปฏิบัติการลาดตระเวนทางทะเลร่วมกัน ในการค้นหา ตรวจสอบ และดำเนินการตามกฎหมาย ต่อเรือต้องสงสัยดังกล่าว
สำหรับแนวความคิดในการฝึกนั้น กองทัพเรือสหรัฐฯ จะส่งเรือต้องสงสัยสมมติเข้าร่วมการฝึกฯจำนวน 3 ลำ โดยเดินทางจากบริเวณช่องแคบมะละกา – พื้นที่การฝึก และจากบริเวณ ชายฝั่งประเทศเวียดนาม – พื้นที่การฝึก และทำการป้อนโจทย์ตามสถานการณ์การฝึกผ่านระบบสารสนเทศ (IFC’s Real Time Information – Sharing System : IRIS) และระบบ CENTRIX โดย บก.CTF จะติดตามภาพสถานการณ์ทางทะเล รวมทั้งประสานข้อมูลกับส่วนติดตามสถานการณ์การฝึก ณ ศูนย์ Changi C2 Center สาธารณรัฐสิงคโปร์ ผ่านระบบดังกล่าว เพื่อตราทางเป้าและสั่งการให้กองกำลังเฉพาะกิจผสม ดำเนินการตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัยต่อไป
กองทัพเรือ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกผสม ASEAN – U.S. Maritime Exercise ซึ่งไม่ใช่การซ้อมรบ โดยเป็นการฝึกผสมทางเรือในลักษณะพหุภาคีครั้งแรก ระหว่าง กองทัพเรือ ในภูมิภาคอาเซียน และ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับการฝึก พหุภาคีตามกรอบงานด้านความมั่นคงทางทะเลกับมิตรประเทศ ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยปกติทั่วไป
สำหรับกำลังที่เข้าร่วมการฝึก คือ กองทัพเรือชาติสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย ไทย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาโดยมีกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกทั้งสิ้น 1250 นาย มีการจัดตั้ง บก.กองกำลังเฉพาะกิจผสม หรือ บก.CTF บนเรือหลวงกระบี่ มี พลเรือตรี สมพงษ์ นาคทอง ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ เป็นผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจผสม และมี CAPT MATT JERBI ผู้บัญชาการกองเรือพิฆาตที่ 7 กองทัพเรือสหรัฐฯ เป็นรองผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจผสม และมีกำลังพล กองทัพเรือชาติสมาชิกอาเซียน ปฏิบัติหน้าที่ใน บก.CTF ซึ่งทำหน้าที่ในส่วนปฏิบัติการทางเรือและอากาศยาน ส่วนติดตามสถานการณ์ทางทะเล และส่วนควบคุมการฝึก โดยมีเรือเข้าร่วมการฝึก จำนวน 8 ลำ อากาศยาน จำนวน 2 เครื่อง
ในส่วนของสถานการณ์ฝึก สมมุติเหตุการณ์ ให้ได้รับข่าวสารจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนและสหรัฐฯ ว่าจะมีเรือที่มีพฤติกรรมต้องสงสัยในการกระทำผิดกฎหมายในทะเล เช่น สินค้าผิดกฎหมายลักลอบนำเข้าประเทศ ยาเสพติด แรงงานเถื่อนและการค้ามนุษย์ การกระทำเป็นโจรสลัด เป็นต้น เดินทางเข้ามาในบริเวณน่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามทางทะเลร่วมกัน ชาติสมาชิกอาเซียนและสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้งกองกำลังทางเรือเฉพาะกิจ เพื่อปฏิบัติการลาดตระเวนทางทะเลร่วมกัน ในการค้นหา ตรวจสอบ และดำเนินการตามกฎหมาย ต่อเรือต้องสงสัยดังกล่าว
สำหรับแนวความคิดในการฝึกนั้น กองทัพเรือสหรัฐฯ จะส่งเรือต้องสงสัยสมมติเข้าร่วมการฝึกฯจำนวน 3 ลำ โดยเดินทางจากบริเวณช่องแคบมะละกา – พื้นที่การฝึก และจากบริเวณ ชายฝั่งประเทศเวียดนาม – พื้นที่การฝึก และทำการป้อนโจทย์ตามสถานการณ์การฝึกผ่านระบบสารสนเทศ (IFC’s Real Time Information – Sharing System : IRIS) และระบบ CENTRIX โดย บก.CTF จะติดตามภาพสถานการณ์ทางทะเล รวมทั้งประสานข้อมูลกับส่วนติดตามสถานการณ์การฝึก ณ ศูนย์ Changi C2 Center สาธารณรัฐสิงคโปร์ ผ่านระบบดังกล่าว เพื่อตราทางเป้าและสั่งการให้กองกำลังเฉพาะกิจผสม ดำเนินการตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัยต่อไป
Comments