ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน ๒ ลำ (เรือ ต.๑๑๔ และ ต.๑๑๕)
เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๕.๑๙ น. พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (กตฝ.) จำนวน ๒ ลำ (เรือ ต.๑๑๔ และ ต.๑๑๕) ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี พลเรือโท สมประสงค์ นิลสมัย ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ (สายงานข่าว) ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง พร้อมด้วยประธานกรรมการตรวจการจ้าง สร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง และประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารบริษัท มาร์ซัน จำกัด ให้การต้อนรับ
พิธีวางกระดูกงูเรือถือเป็นพิธีสำคัญและเป็นพิธีแรกในการสร้างเรือนับตั้งแต่สมัยโบราณทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น พิธีวางกระดูกงูน่าจะมีความเชื่อมาจาก ในอดีตที่เรือจะสร้างด้วยไม้ และก่อนที่จะมีการตัดไม้เพื่อนำมาสร้างเรือ ต้องมีการทำพิธีบวงสรวงเทพารักษ์และนางไม้เพื่อขออนุญาต และเมื่อได้ไม้ที่ต้องการมาแล้ว ก่อนการสร้างเรือจะต้องทำพิธีวางกระดูกงูเรือ โดยที่ประธานในพิธีจะทำการย้ำหมุดตัวแรก พร้อมกับการจัดพิธีทางศาสนา เพื่อให้เกิดความสวัสดีมีชัย และความวัฒนาถาวรให้แก่เรือ และนอกจากนั้นยังถือกันว่าเป็นการเชิญ แม่ย่านางเรือให้เข้าสิงสถิตด้วย
คุณลักษณะที่สำคัญของเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ของกองทัพเรือ (เรือ ต.๑๑๔ และ ต.๑๑๕) ความยาวตลอดลำ ๓๖ เมตร ความกว้างสูงสุด ๗.๖๐ เมตร ความลึก ๓.๖๐ เมตร กินน้ำลึกตัวเรือ ไม่เกิน ๑.๗๕ เมตร ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องที่ระวางขับน้ำเต็มที่ไม่น้อยกว่า ๒๗ นอต ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ ไมล์ทะเล กำลังพลประจำเรือ ๓๑ นาย อาวุธปืนหลัก ปืนกลขนาด ๓๐ มิลลิเมตร จำนวน ๑ กระบอก บริเวณหัวเรือ อาวุธปืนรอง ปืนกลขนาด .๕๐ นิ้ว จำนวน ๒ แท่น
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (กตฝ.) มีภารกิจเพื่อถวายความปลอดภัยแด่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ ลาดตระเวนตรวจการณ์คุ้มครองเรือประมงและเรือสินค้า ป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเล รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ทหารเรือได้รับมอบหมาย รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ และการบรรเทาสาธารณภัยประชาชนในทะเลและชายฝั่ง
ที่มา : สลก.ทร. ๑๑ มิ.ย.๖๑
พิธีวางกระดูกงูเรือถือเป็นพิธีสำคัญและเป็นพิธีแรกในการสร้างเรือนับตั้งแต่สมัยโบราณทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น พิธีวางกระดูกงูน่าจะมีความเชื่อมาจาก ในอดีตที่เรือจะสร้างด้วยไม้ และก่อนที่จะมีการตัดไม้เพื่อนำมาสร้างเรือ ต้องมีการทำพิธีบวงสรวงเทพารักษ์และนางไม้เพื่อขออนุญาต และเมื่อได้ไม้ที่ต้องการมาแล้ว ก่อนการสร้างเรือจะต้องทำพิธีวางกระดูกงูเรือ โดยที่ประธานในพิธีจะทำการย้ำหมุดตัวแรก พร้อมกับการจัดพิธีทางศาสนา เพื่อให้เกิดความสวัสดีมีชัย และความวัฒนาถาวรให้แก่เรือ และนอกจากนั้นยังถือกันว่าเป็นการเชิญ แม่ย่านางเรือให้เข้าสิงสถิตด้วย
คุณลักษณะที่สำคัญของเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ของกองทัพเรือ (เรือ ต.๑๑๔ และ ต.๑๑๕) ความยาวตลอดลำ ๓๖ เมตร ความกว้างสูงสุด ๗.๖๐ เมตร ความลึก ๓.๖๐ เมตร กินน้ำลึกตัวเรือ ไม่เกิน ๑.๗๕ เมตร ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องที่ระวางขับน้ำเต็มที่ไม่น้อยกว่า ๒๗ นอต ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ ไมล์ทะเล กำลังพลประจำเรือ ๓๑ นาย อาวุธปืนหลัก ปืนกลขนาด ๓๐ มิลลิเมตร จำนวน ๑ กระบอก บริเวณหัวเรือ อาวุธปืนรอง ปืนกลขนาด .๕๐ นิ้ว จำนวน ๒ แท่น
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (กตฝ.) มีภารกิจเพื่อถวายความปลอดภัยแด่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ ลาดตระเวนตรวจการณ์คุ้มครองเรือประมงและเรือสินค้า ป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเล รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ทหารเรือได้รับมอบหมาย รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ และการบรรเทาสาธารณภัยประชาชนในทะเลและชายฝั่ง
ที่มา : สลก.ทร. ๑๑ มิ.ย.๖๑
Comments