กรมบัญชีกลาง ชี้แจงและเตรียมความพร้อมการปรับระบบเบิกจ่ายตรงประเภทผู้ป่วยนอก เพื่อรองรับการใช้บัตรประจำตัวประชาชนในการแสดงสิทธิเพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล
ด้วยกรมบัญชีกลาง ได้พัฒนาระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลให้สามารถกำกับค่าใช้จ่ายและสามารถรับรู้ธุรกรรมได้ทันที เมื่อผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวเข้ารับการบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาล และได้ดำเนินการสำรวจอุปกรณ์รับชำระเงินของสถานพยาบาล เพื่อประโยชน์ ในการคำนวณและการติดตั้งอุปกรณ์ของกรมบัญชีกลางเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว
กรมบัญชีกลางขอชี้แจงถึงการปรับระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก ตลอดจนกรอบระยะเวลาที่จะเริ่มใช้ระบบดังกล่าว ดังนี้
โครงการฯ ดังกล่าว จะยกเลิกการลงทะเบียนเบิกจ่ายตรงประเภทผู้ป่วยนอก ณ สถานพยาบาล โดยจะใช้บัตรประจำตัวประชาชนทำธุรกรรมการเบิกจ่ายตรง ณ จุดเก็บเงินของสถานพยาบาลในแต่ละครั้งที่เข้ารับบริการ และสามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงได้ทันที อย่างไรก็ดี โครงการนี้ใช้สำหรับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พุทธศักราช ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เท่านั้น ไม่รวมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทอื่น ๆ
เมื่อผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ทำธุรกรรม ณ จุดเก็บเงิน ระบบจะให้ Approval Code ของธุรกรรมนั้น และสถานพยาบาลจะต้องบันทึกจำนวนเงิน (amount) เฉพาะส่วนที่เบิกจากทางราชการได้ ผ่านเครื่องอ่านบัตรฯ ลักษณะคล้ายคลึงกับการชำระด้วยบัตรเครดิตทั่วไป สถานพยาบาลจะต้องนำ Approval Code และ amount ดังกล่าว ใช้ประกอบการส่งข้อมูล เพื่อขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลในระบบเบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลาง (การส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลในระบบเบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลางยังคงใช้ระบบเดิม) โดยกรมบัญชีกลางจะมีระบบสนับสนุนให้สถานพยาบาลสามารถ Download ข้อมูล Approval Code และ amount ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สรุปยอดเป็นรายวันเพื่ออำนวยความสะดวก
การส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลในระบบเบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลางจะส่งไปยังสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แล้วแต่กรณี (ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกับกรมบัญชีกลาง ผ่านหน่วยงานใด) การออก Statement และการทำคำขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลและการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล ยังคงถือปฏิบัติเช่นเดิม
การแจ้งสถานะของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ซึ่งสถานพยาบาลได้รับข้อมูลจากสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามรอบบัญชีในทุก ๑๕ วัน ยังคงถือปฏิบัติเช่นเดิม เพื่อประโยชน์ในการจำแนกสิทธิของสถานพยาบาล
กรมบัญชีกลางคาดการณ์จะเริ่มดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์อ่านบัตรฯ ณ สถานพยาบาล ในเดือนมกราคม ๒๕๖๑ และจะเริ่มทดลองระบบในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ และเปิดใช้งานเต็มรูปแบบภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๑ นี้
ข้อมูล กรมบัญชีกลาง ๒๙ ธ.ค.๖๐
กรมบัญชีกลางขอชี้แจงถึงการปรับระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก ตลอดจนกรอบระยะเวลาที่จะเริ่มใช้ระบบดังกล่าว ดังนี้
โครงการฯ ดังกล่าว จะยกเลิกการลงทะเบียนเบิกจ่ายตรงประเภทผู้ป่วยนอก ณ สถานพยาบาล โดยจะใช้บัตรประจำตัวประชาชนทำธุรกรรมการเบิกจ่ายตรง ณ จุดเก็บเงินของสถานพยาบาลในแต่ละครั้งที่เข้ารับบริการ และสามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงได้ทันที อย่างไรก็ดี โครงการนี้ใช้สำหรับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พุทธศักราช ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เท่านั้น ไม่รวมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทอื่น ๆ
เมื่อผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ทำธุรกรรม ณ จุดเก็บเงิน ระบบจะให้ Approval Code ของธุรกรรมนั้น และสถานพยาบาลจะต้องบันทึกจำนวนเงิน (amount) เฉพาะส่วนที่เบิกจากทางราชการได้ ผ่านเครื่องอ่านบัตรฯ ลักษณะคล้ายคลึงกับการชำระด้วยบัตรเครดิตทั่วไป สถานพยาบาลจะต้องนำ Approval Code และ amount ดังกล่าว ใช้ประกอบการส่งข้อมูล เพื่อขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลในระบบเบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลาง (การส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลในระบบเบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลางยังคงใช้ระบบเดิม) โดยกรมบัญชีกลางจะมีระบบสนับสนุนให้สถานพยาบาลสามารถ Download ข้อมูล Approval Code และ amount ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สรุปยอดเป็นรายวันเพื่ออำนวยความสะดวก
การส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลในระบบเบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลางจะส่งไปยังสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แล้วแต่กรณี (ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกับกรมบัญชีกลาง ผ่านหน่วยงานใด) การออก Statement และการทำคำขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลและการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล ยังคงถือปฏิบัติเช่นเดิม
การแจ้งสถานะของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ซึ่งสถานพยาบาลได้รับข้อมูลจากสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามรอบบัญชีในทุก ๑๕ วัน ยังคงถือปฏิบัติเช่นเดิม เพื่อประโยชน์ในการจำแนกสิทธิของสถานพยาบาล
กรมบัญชีกลางคาดการณ์จะเริ่มดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์อ่านบัตรฯ ณ สถานพยาบาล ในเดือนมกราคม ๒๕๖๑ และจะเริ่มทดลองระบบในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ และเปิดใช้งานเต็มรูปแบบภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๑ นี้
ข้อมูล กรมบัญชีกลาง ๒๙ ธ.ค.๖๐
Comments