กรมประมงกำหนดห้วงเวลาที่ให้ผู้ที่จะประสงค์ทำการประมงพาณิชย์ตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.๒๕๕๘ มายื่นคำขอรับใบอนุญาตระหว่าง ๑ – ๑๕ มี.ค.๕๙ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑. กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมประมง
๒. จังหวัดอื่นให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่มีอาณาเขตติดทะเล
๓. เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ ได้แก่
๓.๑ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ พร้อมบัตรตัวจริงมาแสดง
๓.๒ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง (กรณีที่เป็นนิติบุคคล)
๓.๓ สำเนาใบทะเบียนเรือไทยและสำเนาใบอนุญาตใช้เรือ พร้อมตัวจริงมาแสดง
๓.๔ หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีที่มีการมอบอำนาจ)
๓.๕ สำเนาใบอนุญาตทำการประมงในปีการประมงที่ผ่านมา
๓.๖ ใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง
๓.๗ รูปถ่ายปัจจุบันหรือภาพถ่ายดิจิตอลของเรือและเครื่องมือทำการประมง จำนวน ๔ รูป ดังนี้
๓.๗.๑ ภาพหัวเรือที่เห็นทะเบียนเรือชัดเจน จำนวน ๑ รูป
๓.๗.๒ ภาพถ่ายเรือเต็มลำด้านซ้ายและด้านขวาที่เห็นชัดเจน ด้านละ ๑ รูป
๓.๗.๓ ภาพถ่ายเครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตบนเรือประมง จำนวน ๑ รูป
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงข้างต้น ถือเป็นการปฏิรูปของเรือประมงไทยครั้งสำคัญซึ่งจะทำให้การควบคุมจำนวนเรือทั้งเรือประมงและเรือขนถ่าย และจัดระเบียบเรือเหล่านี้ให้เข้าสู่ระบบและมาตรฐานที่ถูกต้องในอนาคตกระทำได้ง่ายขึ้น ขอให้พี่น้องชาวประมงร่วมแรงร่วมใจกันในการปฏิรูปของเรือประมงของไทยเรา เพื่อให้ประมงไทยมีความยั่งยืนต่อไป โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้
๑. เรือประมงพาณิชย์ เรือขนถ่ายทุกลำ ทั้งในน่านน้ำและนอกน่านน้ำ จะได้รับ “สมุดประจำเรือประมง” ซึ่งจะรวมข้อมูลของกรมเจ้าท่า (ทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ) และกรมประมง (ใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ใบอนุญาตทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ) เข้าไว้ในเล่มเดียวกัน ควบคุมด้วยระบบ e – Licence เชื่อมโยงระหว่างสำนักงานประมง ทั้งใน กทม. และจังหวัดชายทะเล
๒. สำหรับเรือ ๓๐ ตันกรอสขึ้นไปทุกลำ ต้องติดตั้ง VMS ก่อนจึงจะได้รับสมุดประจำเรือประมงตามข้อ ๑
๓. นอกจากสมุดประจำเรือประมงแล้ว เรือทุกลำจะได้รับ QR Code ให้นำไปติดในห้องควบคุมเรือและจะได้รับเครื่องหมายประจำเรือประมง (Marking) ให้นำไปเขียนที่หัวเรือให้เห็นชัดเจน
๔. ระบบ e – Licence จะบูรณาการข้อมูลงานทะเบียนและใบอนุญาตเกี่ยวกับเรือประมง เรือขนถ่ายระหว่างกรมเจ้าท่าและกรมประมงเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องระหว่างกันได้ ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นข้อมูลที่เคลื่อนไหวน้อย เมื่อบันทึกได้ถูกต้องลงระบบในครั้งแรกแล้ว สามารถลดภาระการตรวจที่ศูนย์ PIPO ลงได้ และจะเน้นตรวจเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานในเรือเป็นหลักเพราะเปลี่ยนแปลงบ่อย
๕. เรือประมงที่ไม่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงเพราะเกิน MSY แล้ว จะไม่สามารถออกทำประมงได้ เพราะจะไม่ได้รับทั้งสมุดประจำเรือประมง QR Code และเครื่องหมายประจำเรือประมง (Marking) หากฝ่าฝืน จะมีโทษปรับรุนแรงตามกฎหมายใหม่
๖. การตรวจเรือประมงที่ฝ่าฝืนในทะเลจะกระทำได้ง่ายขึ้นเพราะมีเครื่องช่วยหลายอย่าง เช่น สังเกตจากเครื่องหมายประจำเรือประมง (Marking) ตรวจสอบ QR Code และสมุดประจำเรือประมง ทั้งหมดนี้หากมีการปลอมแปลงสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ง่าย
--ข้อมูล สน.ปชส.ศปมผ.
๒๔ ก.พ.๕๙
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ข้าราชการกองทัพเรือ กองทัพเรือ โดยกรมการเงินทหารเรือ ได้พัฒนาระบบ E-mobile Slip เพื่อให้ข้าราชการกองทัพเรือสามารถตรวจสอบข้อมูลใบจ่ายเงินเดือนได้ด้วยตนเองผ่านทางระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Smart Phone) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เข้าลงทะเบียนผู้ใช้งานครั้งแรก เพื่อตั้งค่ารหัสผ่านในเว็บไซต์กรมการเงินทหารเรือที่ http://info.navy.mi.th/finance แบนเนอร์ “สลิปเงินเดือน” หลังเข้าลงทะเบียนผู้ใช้งานแล้ว โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Android สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมผ่าน Play Store โดยค้นหาคำว่า “e-slip” และติดตั้งโปรแกรมในโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ iOS ให้เปิด Browser และเข้าเว็บไซต์ http://www.finance.navy.mi.th/mobile_https หรือด้วยการสแกนผ่านบาร์โค้ดในเว็บไซต์กรมการเงินทหารเรือ จากนั้นจึงเข้าใช้งานด้วยรหัสผู้ใช้งานเป็นเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก และรหัสผ่านที่ตั้งไว้ ข้อมูล กง.ทร. ๒๘ ก.ย.๕๙
Comments