งานเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
มหาเถรสมาคม เปิดเผยถึงการฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่า พุทธชยันตีเป็นวาระที่สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนาโดยรากศัพท์ของคำว่า ชยันตีมาจากคำว่า “ชย” คือชัยชนะ อันหมายถึงชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง อันทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก “พุทธชยันตี” จึงมีความหมายว่าเป็นการตรัสรู้ และการบังเกิดขึ้นของสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ในปัจจุบันพุทธชยันตียังถูกตีความในความหมายถึงชัยชนะของพุทธศาสนาและชาวพุทธด้วยเช่นกัน สำหรับวาระสำคัญพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ แห่งการตรัสรู้ ถ้ายึดถือตามหลักการคำนวณปีพุทธศักราชแบบไทยอยู่ในช่วงระหว่าง วิสาขบูชา ๒๕๕๔ – วิสาขบูชา ๒๕๕๕ ทั้งนี้ในวันวิสาขบูชา ๒๕๕๔ ที่ผ่านมานับเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ ๒๕๙๙ ปีเต็ม และเริ่มเข้าสู่ปี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ โดยคำนวณจากการนำปีพุทธศักราชที่เริ่มนับหลังจากการปรินิพพานบวกด้วย ๔๕ อันเป็นจำนวนพรรษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดำเนินพุทธกิจภายหลังการตรัสรู้จวบจนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
งานเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าถือเป็นวาระสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก ในประเทศต่าง ๆ ที่มีชาวพุทธเข้มแข็งได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา ๓ ปี ( ๒๕๕๓ – ๒๕๕๕ )ดังเช่นในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดีย เป็นต้น จึงได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างตื่นตัวและยิ่งใหญ่ ที่สำนักงานใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดงานฉลองใหญ่ในช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทยรัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการโดยมีมหาเถรสมาคม (มส.) เป็นที่ปรึกษา และนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยงานมี ๓ ลักษณะคือ
๑. ด้านการปฏิบัติบูชา มุ่งส่งเสริมการปฏิบัติธรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนตั้งแต่ระดับครอบครัวและชุมชน โดยใช้สถานที่ที่พุทธมณฑล ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมืองทองธานี สยามพารากอน
๒. ด้านวิชาการ เน้นการประชุมสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับพุทธประวัติ หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ดำเนินการ
๓. ด้านกิจกรรม มหาเถรสมาคมได้มอบให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และสำนักงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ร่วมกับองค์กรเครือข่ายศาสนาเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดกิจกรรม
โดยมหาเถรสมาคมจะแจ้งรายละเอียดของการจัดงานสำคัญเพื่อร่วมเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่อไป ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๒๓ มี.ค. ๕๕
เกาะติดทุกภารกิจประชิดทุกการปฏิบัติ แจ่มชัดทุกสถานการณ์
มหาเถรสมาคม เปิดเผยถึงการฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่า พุทธชยันตีเป็นวาระที่สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนาโดยรากศัพท์ของคำว่า ชยันตีมาจากคำว่า “ชย” คือชัยชนะ อันหมายถึงชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง อันทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก “พุทธชยันตี” จึงมีความหมายว่าเป็นการตรัสรู้ และการบังเกิดขึ้นของสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ในปัจจุบันพุทธชยันตียังถูกตีความในความหมายถึงชัยชนะของพุทธศาสนาและชาวพุทธด้วยเช่นกัน สำหรับวาระสำคัญพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ แห่งการตรัสรู้ ถ้ายึดถือตามหลักการคำนวณปีพุทธศักราชแบบไทยอยู่ในช่วงระหว่าง วิสาขบูชา ๒๕๕๔ – วิสาขบูชา ๒๕๕๕ ทั้งนี้ในวันวิสาขบูชา ๒๕๕๔ ที่ผ่านมานับเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ ๒๕๙๙ ปีเต็ม และเริ่มเข้าสู่ปี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ โดยคำนวณจากการนำปีพุทธศักราชที่เริ่มนับหลังจากการปรินิพพานบวกด้วย ๔๕ อันเป็นจำนวนพรรษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดำเนินพุทธกิจภายหลังการตรัสรู้จวบจนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
งานเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าถือเป็นวาระสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก ในประเทศต่าง ๆ ที่มีชาวพุทธเข้มแข็งได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา ๓ ปี ( ๒๕๕๓ – ๒๕๕๕ )ดังเช่นในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดีย เป็นต้น จึงได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างตื่นตัวและยิ่งใหญ่ ที่สำนักงานใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดงานฉลองใหญ่ในช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทยรัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการโดยมีมหาเถรสมาคม (มส.) เป็นที่ปรึกษา และนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยงานมี ๓ ลักษณะคือ
๑. ด้านการปฏิบัติบูชา มุ่งส่งเสริมการปฏิบัติธรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนตั้งแต่ระดับครอบครัวและชุมชน โดยใช้สถานที่ที่พุทธมณฑล ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมืองทองธานี สยามพารากอน
๒. ด้านวิชาการ เน้นการประชุมสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับพุทธประวัติ หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ดำเนินการ
๓. ด้านกิจกรรม มหาเถรสมาคมได้มอบให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และสำนักงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ร่วมกับองค์กรเครือข่ายศาสนาเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดกิจกรรม
โดยมหาเถรสมาคมจะแจ้งรายละเอียดของการจัดงานสำคัญเพื่อร่วมเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่อไป ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๒๓ มี.ค. ๕๕
เกาะติดทุกภารกิจประชิดทุกการปฏิบัติ แจ่มชัดทุกสถานการณ์
Comments