กรมพลศึกษา เห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีตัวชี้วัด คือ การมีสุขภาพที่ดี เนื่องจากทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมเศรษฐกิจการเมือง และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และสารสนเทศส่งผลกระทบถึงสุขภาพของประชาชนทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เช่น ขาดการออกกำลังกาย ขาดการพักผ่อน และไม่ให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ การออกกำลังกายนับว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้สุขภาพดี และช่วยลดความเสี่ยงของโรค กรมพลศึกษาโดยสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา จึงใช้พลังเครือข่ายในการสร้างสุขภาพของคนไทย โดยมุ่งให้เด็ก เยาวชนและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ในการออกกำลังกายเล่นกีฬาอย่างถูกต้องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสมรรถภาพทางกายและพัฒนาเครือข่ายในสถานศึกษา
แผนงานสร้างเครือข่ายสุขภาพ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ โดยรับสมัครโรงเรียนที่สนใจ และมีศักยภาพร่วมเป็นเครือข่าย โดยในปี ๒๕๕๔ นี้มีโรงเรียนร่วมเครือข่ายแล้วรวม ๒๘ แห่ง โรงเรียนที่เข้าร่วมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากผู้บริหารโรงเรียน มีกลุ่มนักเรียนแกนนำจำนวน ๓๐ คนขึ้นไป จัดตั้งเป็นชมรมมีกรรมการชมรมและมีอาจารย์ที่ปรึกษา ๑ ท่านขึ้นไป ต้องมีพื้นที่จัดกิจกรรมและสาธิตทดสอบสมรรถภาพทางกายภาพได้ และต้องมีกิจกรรมสม่ำเสมอ อาทิ กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมออกกำลังกายที่มีการนำหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาด้านการพัฒนาไปใช้ในการดูแลสุขภาพ มีการพัฒนาความสามารถของนักกีฬาและนำกิจกรรมเหล่านี้เผยแพร่สู่ชุมชนรอบโรงเรียน โดยโรงเรียนเครือข่ายจะได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา เป้าหมายของการสร้างเครือข่ายจะให้มีเครือข่ายคุณภาพครบ ๗๗ จังหวัด
ในปี ๒๕๕๕ สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษาจะเปิดรับสมัครสถานศึกษาที่สนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.dpe.go.th
ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๒๔ ส.ค.๕๔
แผนงานสร้างเครือข่ายสุขภาพ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ โดยรับสมัครโรงเรียนที่สนใจ และมีศักยภาพร่วมเป็นเครือข่าย โดยในปี ๒๕๕๔ นี้มีโรงเรียนร่วมเครือข่ายแล้วรวม ๒๘ แห่ง โรงเรียนที่เข้าร่วมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากผู้บริหารโรงเรียน มีกลุ่มนักเรียนแกนนำจำนวน ๓๐ คนขึ้นไป จัดตั้งเป็นชมรมมีกรรมการชมรมและมีอาจารย์ที่ปรึกษา ๑ ท่านขึ้นไป ต้องมีพื้นที่จัดกิจกรรมและสาธิตทดสอบสมรรถภาพทางกายภาพได้ และต้องมีกิจกรรมสม่ำเสมอ อาทิ กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมออกกำลังกายที่มีการนำหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาด้านการพัฒนาไปใช้ในการดูแลสุขภาพ มีการพัฒนาความสามารถของนักกีฬาและนำกิจกรรมเหล่านี้เผยแพร่สู่ชุมชนรอบโรงเรียน โดยโรงเรียนเครือข่ายจะได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา เป้าหมายของการสร้างเครือข่ายจะให้มีเครือข่ายคุณภาพครบ ๗๗ จังหวัด
ในปี ๒๕๕๕ สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษาจะเปิดรับสมัครสถานศึกษาที่สนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.dpe.go.th
ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๒๔ ส.ค.๕๔
Comments