การขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์เป็นมรดกโลก
กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยถึงการขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์เป็นมรดกโลกว่า เนื่องในโอกาสที่จารึกวัดโพธิ์ หรือ The Epigraphic of Wat Pho ได้รับการขึ้นทะเบียนนานาชาติของยูเนสโก ให้เป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก ( UNESCO Memory of the World ) ทางกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะองค์กรหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล อนุรักษ์ สงวนรักษา ศึกษาค้นคว้า สืบทอดและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของชาติ จึงขอขอบคุณคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกที่ได้เข้าไปศึกษาในรายละเอียด จนทำให้องค์กรยูเนสโกเข้าใจถึงความสำคัญของจารึกวัดโพธิ์ ได้แก่ ๑. ความสำคัญทั้งเรื่องของเนื้อหา ความเป็นของแท้ ความหายากที่ไม่อาจมาทดแทนได้หากสูญหาย ๒. ความสำคัญในเรื่องของเวลาและสถานที่ เพระวัดโพธิ์เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ และ ๓. ความสำคัญในเรื่องของบุคคล กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมความรู้สรรพวิชาต่าง ๆ ของไทยหลายหมวด เช่น หมวดประวัติศาสตร์ของวัดและเรื่องที่เกี่ยวข้อง หมวดพระพุทธศานา หมวดภาษาวรรณคดี หมวดทำเนียบสมณศักดิ์และผู้ครองเมือง หัวเมือง ชนต่างภาษา หมวดประเพณี หมวดสุภาษิต หมวดอนามัย ตำรายา ตำราแพทย์แผนไทย เป็นต้น โดยความรู้หมวดต่าง ๆได้ถูกจารึกไว้ตามผนังต่าง ๆ ของวัด
ทำให้ประเทศไทยยังสามารถรักษาภูมิปัญญาความรู้เหล่านี้ได้จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๖ ก.ค. ๕๔
เกาะติดทุกภารกิจประชิดทุกการปฏิบัติ แจ่มชัดทุกสถานการณ์
กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยถึงการขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์เป็นมรดกโลกว่า เนื่องในโอกาสที่จารึกวัดโพธิ์ หรือ The Epigraphic of Wat Pho ได้รับการขึ้นทะเบียนนานาชาติของยูเนสโก ให้เป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก ( UNESCO Memory of the World ) ทางกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะองค์กรหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล อนุรักษ์ สงวนรักษา ศึกษาค้นคว้า สืบทอดและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของชาติ จึงขอขอบคุณคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกที่ได้เข้าไปศึกษาในรายละเอียด จนทำให้องค์กรยูเนสโกเข้าใจถึงความสำคัญของจารึกวัดโพธิ์ ได้แก่ ๑. ความสำคัญทั้งเรื่องของเนื้อหา ความเป็นของแท้ ความหายากที่ไม่อาจมาทดแทนได้หากสูญหาย ๒. ความสำคัญในเรื่องของเวลาและสถานที่ เพระวัดโพธิ์เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ และ ๓. ความสำคัญในเรื่องของบุคคล กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมความรู้สรรพวิชาต่าง ๆ ของไทยหลายหมวด เช่น หมวดประวัติศาสตร์ของวัดและเรื่องที่เกี่ยวข้อง หมวดพระพุทธศานา หมวดภาษาวรรณคดี หมวดทำเนียบสมณศักดิ์และผู้ครองเมือง หัวเมือง ชนต่างภาษา หมวดประเพณี หมวดสุภาษิต หมวดอนามัย ตำรายา ตำราแพทย์แผนไทย เป็นต้น โดยความรู้หมวดต่าง ๆได้ถูกจารึกไว้ตามผนังต่าง ๆ ของวัด
ทำให้ประเทศไทยยังสามารถรักษาภูมิปัญญาความรู้เหล่านี้ได้จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูล นสพ.แนวหน้า
๖ ก.ค. ๕๔
เกาะติดทุกภารกิจประชิดทุกการปฏิบัติ แจ่มชัดทุกสถานการณ์
Comments