วัดดาวดึงษาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เนื้อที่ประมาณ ๑๗ ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ ๘๗๒ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี เป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้นิมนต์พระอธิการอินผู้เชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระมาครองวัด ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดขรัวอิน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงพระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดดาวดึงสาสวรรค์ อันหมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่พระอินทร์สถิต
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณปฏิสังขรณ์ สร้างพระอุโบสถใหม่ก่ออิฐถือปูน พื้นปูด้วยหินอ่อนผนังภายในพระอุโบสถถือปูน และเขียนภาพจิตรกรรมหลังคาทำเป็นมุขลด ๒ ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจก สร้างพระประธานปางสมาธิมีสาวก ๒ องค์ อยู่เบื้องหน้าทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้รับพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดดาวดึงษาราม จนถึงในสมัยรัชกาลปัจจุบันวัดดาวดึงษารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา
พระอุโบสถในปัจจุบันเป็นหลังที่สร้างขึ้นใหม่ เมื่อรัชกาลที่ ๓ ในบริเวณที่ตั้งอุโบสถหลังแรกซึ่งวัดเป็นศิลปกรรมแบบผสมระหว่างแบบประเพณีนิยมกับแบบพระราชนิยม เนื่องจากขณะนี้พระอุโบสถได้สร้างมาเป็นระยะเวลานานแล้วได้ชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา สมควรที่จะได้รับการบูรณะ จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพตามกำลังศรัทธา ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑ ๙๐๘๐๘๒๐
ข้อมูล นสพ.สยามรัฐ
๒๒ ธ.ค.๕๓
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณปฏิสังขรณ์ สร้างพระอุโบสถใหม่ก่ออิฐถือปูน พื้นปูด้วยหินอ่อนผนังภายในพระอุโบสถถือปูน และเขียนภาพจิตรกรรมหลังคาทำเป็นมุขลด ๒ ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจก สร้างพระประธานปางสมาธิมีสาวก ๒ องค์ อยู่เบื้องหน้าทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้รับพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดดาวดึงษาราม จนถึงในสมัยรัชกาลปัจจุบันวัดดาวดึงษารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา
พระอุโบสถในปัจจุบันเป็นหลังที่สร้างขึ้นใหม่ เมื่อรัชกาลที่ ๓ ในบริเวณที่ตั้งอุโบสถหลังแรกซึ่งวัดเป็นศิลปกรรมแบบผสมระหว่างแบบประเพณีนิยมกับแบบพระราชนิยม เนื่องจากขณะนี้พระอุโบสถได้สร้างมาเป็นระยะเวลานานแล้วได้ชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา สมควรที่จะได้รับการบูรณะ จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพตามกำลังศรัทธา ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑ ๙๐๘๐๘๒๐
ข้อมูล นสพ.สยามรัฐ
๒๒ ธ.ค.๕๓
Comments