สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค ๑๐ กรมทรัพยากรน้ำ จัดประชุมรับความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่และผู้แทนประชาชนโครงการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) ในพื้นที่เสี่ยงภัยอุทกภัยดินถล่ม ๕ จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต จำนวน ๓๖ หมู่บ้าน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) งบประมาณ ๒๕๕๓ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากสถานีเตือนภัยที่จะนำไปติดตั้งประชาชนในพื้นที่จะต้องรับรู้ระบบทำงานอย่างชัดเจนเมื่อมีการเตือนภัยจะได้ปฏิบัติตาม
กรมทรัพยากรน้ำ ได้ติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าพื้นที่เสี่ยงภัยอุทกภัย-ดินถล่ม ทั่วประเทศ มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบันดำเนินไปแล้ว ๓๘๐ สถานี ครอบคลุมพื้นที่ ๖๐๙ หมู่บ้าน และในปี ๒๕๕๓ นี้ ได้รับงบประมาณจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เพื่อดำเนินการเพิ่มเติมจำนวน ๓๕๒ หมู่บ้าน ใน ๓๒ จังหวัด โดยติดตั้งระบบเตือนภัยจำนวน ๑๓๔ สถานี
ระบบที่ติดตั้งแล้วเสร็จจะส่งข้อมูลโดยตรงไปยังศูนย์ที่กรมทรัพยากรน้ำ และศูนย์ระดับภูมิภาค ส่วนในพื้นที่จะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและรายงานผลทุกวัน หากเกิดวิกฤตสามารถประสานงานกับศูนย์เตือนภัยระดับจังหวัดเพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ และจากข้อมูลพื้นที่ภาคใต้ปริมาณน้ำฝนที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย และดินถล่ม จะเกิน ๒๐๐ มิลลิเมตรต่อวัน แต่เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ป่ามีการบุกรุก การใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรเปลี่ยนไป ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดอุทกภัยและดินถล่มมีมากขึ้น
ข้อมูล ข่าวสาร ทร.
๙ มิ.ย.๕๓
กรมทรัพยากรน้ำ ได้ติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าพื้นที่เสี่ยงภัยอุทกภัย-ดินถล่ม ทั่วประเทศ มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบันดำเนินไปแล้ว ๓๘๐ สถานี ครอบคลุมพื้นที่ ๖๐๙ หมู่บ้าน และในปี ๒๕๕๓ นี้ ได้รับงบประมาณจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เพื่อดำเนินการเพิ่มเติมจำนวน ๓๕๒ หมู่บ้าน ใน ๓๒ จังหวัด โดยติดตั้งระบบเตือนภัยจำนวน ๑๓๔ สถานี
ระบบที่ติดตั้งแล้วเสร็จจะส่งข้อมูลโดยตรงไปยังศูนย์ที่กรมทรัพยากรน้ำ และศูนย์ระดับภูมิภาค ส่วนในพื้นที่จะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและรายงานผลทุกวัน หากเกิดวิกฤตสามารถประสานงานกับศูนย์เตือนภัยระดับจังหวัดเพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ และจากข้อมูลพื้นที่ภาคใต้ปริมาณน้ำฝนที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย และดินถล่ม จะเกิน ๒๐๐ มิลลิเมตรต่อวัน แต่เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ป่ามีการบุกรุก การใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรเปลี่ยนไป ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดอุทกภัยและดินถล่มมีมากขึ้น
ข้อมูล ข่าวสาร ทร.
๙ มิ.ย.๕๓
Comments