รักษากฎ ลดอุบัติเหตุ ช่วงเทศกาลสงกรานต์
“อุบัติเหตุ” ที่หลายคนคิดว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เป็นคราวเคราะห์ของผู้ประสบซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ในทางตรงกันข้าม อุบัติเหตุ สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยง
ได้หากไม่ประมาท
อุบัติเหตุเนื่องจากการจราจรทางบกโดยเฉพาะอุบัติเหตุเกี่ยวกับยานยนต์เป็นสาเหตุการตายและ
บาดเจ็บสูงสุดของสถิติอุบัติเหตุที่รุนแรงทุกประเภท
ในประเทศไทยจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข อัตราการตายของประชากรจากอุบัติเหตุสูงสุดเป็นอันดับ ๑ มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ และในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน เป็นวันปีใหม่ไทยที่มีการสืบสานประเพณีอันดีงาม มีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำ รดน้ำดำหัว สาดน้ำกันตามประเพณี มีการเดินทางกลับบ้านของผู้คนที่ออกมาทำมาหากินต่างถิ่นกันเป็นจำนวนมาก เป็นเทศกาลแห่งความสุข สนุกสนาน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ที่ทำให้หลายฝ่ายตระหนักและหันมาร่วมมือกันรณรงค์แก้ไขอย่างจริงจังก็คืออุบัติเหตุ ที่คร่าชีวิตผู้คน นำความสูญเสียทรัพย์สินมูลค่ามหาศาล รวมทั้งยังทำให้มีผู้บาดเจ็บ พิการ และไร้ที่พึ่งจากการขาดหัวหน้าครอบครัวอีกเป็นจำนวนมาก นับเป็นความ
สูญเสียที่มิอาจประเมินค่าได้
จากการวิจัย สาเหตุของอุบัติเหตุ ๖๐ % เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ ๓๐ % เกิดจากสภาพการจราจร และ ๑๐ % เกิดจากข้อบกพร่องของรถยนต์ ดังนั้นหากแก้ไขความผิดพลาดของมนุษย์ได้ก็จะสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะเคารพกฎจราจร ซึ่งเป็นกฎแห่ง
ความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด อาทิ
- ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
- เลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องเดินรถโดยไม่ให้สัญญาณปรับตั้งแต่ ๔๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท
- ขับรถแซงหน้ารถอื่นภายในระยะ ๓๐ เมตร ก่อนถึงทางแยกปรับตั้งแต่ ๔๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท
- กลับรถที่ทางร่วมทางแยก (เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถได้) ปรับตั้งแต่ ๔๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท
- ขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด ปรับตั้งแต่ ๒๐๐ – ๕๐๐ บาท
- ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร ปรับตั้งแต่ ๔๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท
- ขับรถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในทางเดินรถไม่ติดธงสีแดงไว้ตอนปลายสุดให้มองเห็นได้ภายในระยะ ๑๕๐ เมตร ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
- ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย ปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท
- ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท
จะเห็นได้ว่า กฎจราจร เป็นกฎที่กำหนดเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ขับขี่ยานพาหนะและผู้ใช้ถนนร่วมกัน จุดประสงค์ของกฎจราจรมิใช่เงินค่าปรับ แต่สิ่งที่ต้องการคือจิตสำนึกในเรื่องของความปลอดภัย
ช่วงระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ เป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งในปี ๒๕๕๑ ช่วงเทศกาลสงกรานต์มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ๔,๒๔๓ ครั้ง และเสียชีวิต ๓๖๘ คน ในปี ๒๕๕๒ นี้ หากทุกคนทุกฝ่าย
โดยเฉพาะผู้ขับยานพาหนะตระหนักถึงความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ และร่วมมือร่วมใจกันรักษากฎจรจรอย่างเคร่งครัดแล้ว
เทศกาลสงกรานต์จะเป็นเทศกาลแห่งความสุข มิใช่เทศกาลแห่งอันตรายอีกต่อไป
ด้วยความปรารถนาดีจากกองทัพเรือ
ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตกำลังพลกองทัพไทย
“อุบัติเหตุ” ที่หลายคนคิดว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เป็นคราวเคราะห์ของผู้ประสบซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ในทางตรงกันข้าม อุบัติเหตุ สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยง
ได้หากไม่ประมาท
อุบัติเหตุเนื่องจากการจราจรทางบกโดยเฉพาะอุบัติเหตุเกี่ยวกับยานยนต์เป็นสาเหตุการตายและ
บาดเจ็บสูงสุดของสถิติอุบัติเหตุที่รุนแรงทุกประเภท
ในประเทศไทยจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข อัตราการตายของประชากรจากอุบัติเหตุสูงสุดเป็นอันดับ ๑ มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ และในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน เป็นวันปีใหม่ไทยที่มีการสืบสานประเพณีอันดีงาม มีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำ รดน้ำดำหัว สาดน้ำกันตามประเพณี มีการเดินทางกลับบ้านของผู้คนที่ออกมาทำมาหากินต่างถิ่นกันเป็นจำนวนมาก เป็นเทศกาลแห่งความสุข สนุกสนาน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ที่ทำให้หลายฝ่ายตระหนักและหันมาร่วมมือกันรณรงค์แก้ไขอย่างจริงจังก็คืออุบัติเหตุ ที่คร่าชีวิตผู้คน นำความสูญเสียทรัพย์สินมูลค่ามหาศาล รวมทั้งยังทำให้มีผู้บาดเจ็บ พิการ และไร้ที่พึ่งจากการขาดหัวหน้าครอบครัวอีกเป็นจำนวนมาก นับเป็นความ
สูญเสียที่มิอาจประเมินค่าได้
จากการวิจัย สาเหตุของอุบัติเหตุ ๖๐ % เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ ๓๐ % เกิดจากสภาพการจราจร และ ๑๐ % เกิดจากข้อบกพร่องของรถยนต์ ดังนั้นหากแก้ไขความผิดพลาดของมนุษย์ได้ก็จะสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะเคารพกฎจราจร ซึ่งเป็นกฎแห่ง
ความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด อาทิ
- ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
- เลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องเดินรถโดยไม่ให้สัญญาณปรับตั้งแต่ ๔๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท
- ขับรถแซงหน้ารถอื่นภายในระยะ ๓๐ เมตร ก่อนถึงทางแยกปรับตั้งแต่ ๔๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท
- กลับรถที่ทางร่วมทางแยก (เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถได้) ปรับตั้งแต่ ๔๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท
- ขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด ปรับตั้งแต่ ๒๐๐ – ๕๐๐ บาท
- ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร ปรับตั้งแต่ ๔๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท
- ขับรถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในทางเดินรถไม่ติดธงสีแดงไว้ตอนปลายสุดให้มองเห็นได้ภายในระยะ ๑๕๐ เมตร ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
- ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย ปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท
- ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท
จะเห็นได้ว่า กฎจราจร เป็นกฎที่กำหนดเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ขับขี่ยานพาหนะและผู้ใช้ถนนร่วมกัน จุดประสงค์ของกฎจราจรมิใช่เงินค่าปรับ แต่สิ่งที่ต้องการคือจิตสำนึกในเรื่องของความปลอดภัย
ช่วงระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ เป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งในปี ๒๕๕๑ ช่วงเทศกาลสงกรานต์มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ๔,๒๔๓ ครั้ง และเสียชีวิต ๓๖๘ คน ในปี ๒๕๕๒ นี้ หากทุกคนทุกฝ่าย
โดยเฉพาะผู้ขับยานพาหนะตระหนักถึงความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ และร่วมมือร่วมใจกันรักษากฎจรจรอย่างเคร่งครัดแล้ว
เทศกาลสงกรานต์จะเป็นเทศกาลแห่งความสุข มิใช่เทศกาลแห่งอันตรายอีกต่อไป
ด้วยความปรารถนาดีจากกองทัพเรือ
ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตกำลังพลกองทัพไทย
Comments