ในปัจจุบันมีผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิเป็นจำนวนมาก เพราะขาดจิตสำนึกที่ดีของผู้ประกอบการ และสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนมากผลิตด้วยกระบวนการที่ซับซ้อนมากขึ้น จึงเป็นการยากที่ผู้บริโภคจะตรวจสอบได้ว่าสินค้านั้นปลอดภัยหรือไม่ ทำให้เกิดความเสียหายจากการใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัยและเป็นการยากในการหาผู้ที่จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.๒๕๕๑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เป็นการนำหลักความรับผิดชอบโดยเคร่งครัดมาใช้ เพื่อให้ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัยในด้านการฟ้องร้องนั้น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคมและมูลนิธิซึ่งได้รับการรับรองตามกฎหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สามารถฟ้องร้องคดี เรียกค่าเสียหายแทนผู้เสียหายได้ และได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
นอกจากจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแล้ว ยังสามารถเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษได้อีก คือ ค่าเสียหายแก่จิตใจ และค่าเสียหายเชิงลงโทษ ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้ขายสินค้าหรือบริการทั้งที่รู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัยหรือเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
เมื่อสิทธิองผู้บริโภคจึงควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของพระราชบัญญัติฉบับนี้ และหากมีข้อสงสัยต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หรือโทรสายด่วน สคบ.๑๑๖๖
ข้อมูล สคบ.
๒๖ ก.พ.๕๒
ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.๒๕๕๑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เป็นการนำหลักความรับผิดชอบโดยเคร่งครัดมาใช้ เพื่อให้ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัยในด้านการฟ้องร้องนั้น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคมและมูลนิธิซึ่งได้รับการรับรองตามกฎหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สามารถฟ้องร้องคดี เรียกค่าเสียหายแทนผู้เสียหายได้ และได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
นอกจากจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแล้ว ยังสามารถเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษได้อีก คือ ค่าเสียหายแก่จิตใจ และค่าเสียหายเชิงลงโทษ ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้ขายสินค้าหรือบริการทั้งที่รู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัยหรือเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
เมื่อสิทธิองผู้บริโภคจึงควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของพระราชบัญญัติฉบับนี้ และหากมีข้อสงสัยต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หรือโทรสายด่วน สคบ.๑๑๖๖
ข้อมูล สคบ.
๒๖ ก.พ.๕๒
Comments