บัตรประจำตัวประชาชนเด็ก ๗ ขวบ
จากพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๔ กำหนดให้เด็ก ๗ ขวบ ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนนั้นมีผลดี คือ เพื่อสะดวกในการติดต่อรับบริการสาธารณะต่างๆ ของรัฐ เช่น การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล การเข้าเรียนหนังสือ การติดต่อขอรับสวัสดิการจากรัฐ และยังช่วยป้องกันการทุจริตสวมตัวเด็กได้อีกด้วย เนื่องจากแต่เดิมนั้น หลักฐานทางราชการของเด็กไม่ว่าจะเป็นสูติบัตรหรือทะเบียนบ้านไม่มีการบันทึกรายการภาพถ่ายและลักษณะรูปพรรณของบุคคล การทุจริตสวมตัวเด็กจึงสามารถกระทำได้โดยง่าย ส่วนบัตรประจำตัวประชาชนมีการบันทึกราการภาพถ่าย ลายพิมพ์นิ้วมือ เลขประจำตัวประชาชน สามารถตรวจสอบได้สะดวกและแม่นยำยิ่งขึ้น
ดังนั้นเพื่อประโยชน์ของเด็กและผู้ปกครอง จึงขอให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งรับดูแลเด็ก พาเด็กที่มีอายุ ๗ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์ นำเอกสารสูติบัตร หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ เช่น สำเนาทะเบียนบ้านนักเรียน ใบสุทธิ หนังสือเดินทางไปยื่นคำขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ในวันและเวลาราชการ ณ ที่ว่าการอำเภอสำนักงานเขต เทศบาล ทุกแห่ง ทั่วประเทศ และเมืองพัทยา ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ที่ว่าการอำเภอ/เขต/เทศบาล และเมืองพัทยาใกล้บ้าน
ข้อมูล กรมการปกครอง
๘ พ.ค.๕๗
ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ได้เปิดที่ทำการอาคารศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ( One Stop Service : OSS) หรืออาคารสภาเรือแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการเพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการกองทัพเรือที่ลาออกจากราชการและเกษียณอายุราชการ รวมทั้งทายาท ให้สามารถเข้าถึงการบริการด้านสิทธิกำลังพลได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยการรวมจุดบริการมาไว้เพียงจุดเดียว อาทิ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการสวัสดิการและการบริการให้กับกำลังพลและครอบครัว เพื่อให้มีขวัญกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสภาเรือ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.60 ที่ผ่านมา และเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทน เป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร ศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ในวันที่ 8 พ.ค.61 สำหรับอาคารสภาเรือ ที่สร้างขึ้นนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ ใน 3 ส่วนคือ 1. ด...
Comments