การรับมือจากแผ่นดินไหว
ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่แนวตะเข็บของเปลือกโลกที่เกิดแผ่นดินไหวซึ่งมีโอกาสที่จะขยับตัวได้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อไร กรมทรัพยากรธรณีสำรวจแผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว พบว่ามี ๔ จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยมากที่สุด คือ จังหวัดกาญจนบุรี ,จังหวัดตาก , จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงราย ส่วนจังหวัดรองลงมาส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนที่ปลอดภัยมากที่สุด คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แม้ประเทศไทยจะไม่ประสบภัยพิบัติจากเหตุแผ่นดินไหวบ่อยเท่าประเทศที่ตั้งอยู่บนเขตวงแหวนไฟหรือเขตรอยต่อของเปลือกโลก เช่น ประเทศชิลี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย แต่ก็ควรมีการเตรียมตัวรับมือยามเกิดเหตุแผ่นดินไหว
ช่วงก่อนเกิดแผ่นดินไหว
๑. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้านให้พร้อม
๒. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
๓. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
๔. ควรทราบตำแหน่งวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
๕. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูงๆ
๖. ผูกเครื่องใช้หนักๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
๗. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมายในกรณีที่มีการพลัดพรากจากกันเพื่อมารวมกันอีกครั้งในภายหลัง
๘. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด
ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
๑. ควบคุมสติ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
๒. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรงที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
๓. หากอยู่ในอาคารสูง ให้รีบออกจากตัวอาคารให้เร็ว
๔. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ
๕. อย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟเพราะอาจมีก๊าซรั่วซึมอยู่บริเวณนั้น
๖. ถ้ากำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถจนกระทั่งการสั่นสะเทือนหยุด
๗. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด
๘. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
หลังเกิดแผ่นดินไหว
๑. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไปก่อน
๒. รีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที
๓. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีวัสดุแหลมคมที่พื้น
๔. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อก๊าซ ถ้าก๊าซรั่วให้ปิดวาล์วถังก๊าซยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟหรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีก๊าซรั่ว
๕. ตรวจสอบว่าก๊าซรั่วหรือไม่ ด้วยการดมกลิ่น
๖. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
๗. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน
๘. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
๙. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง
๑๐. อย่าแพร่ข่าวลือ
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่คาดการณ์ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเพราะไม่ได้มีการเตรียมตัวรับมือ หากมีการเตรียมความพร้อมและรู้จักวิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ก็จะสามารถบรรเทาความเสียหายลงได้
ข้อมูล กรมทรัพยากรธรณี
๑๒ พ.ค.๕๗
ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ได้เปิดที่ทำการอาคารศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ( One Stop Service : OSS) หรืออาคารสภาเรือแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการเพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการกองทัพเรือที่ลาออกจากราชการและเกษียณอายุราชการ รวมทั้งทายาท ให้สามารถเข้าถึงการบริการด้านสิทธิกำลังพลได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยการรวมจุดบริการมาไว้เพียงจุดเดียว อาทิ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการสวัสดิการและการบริการให้กับกำลังพลและครอบครัว เพื่อให้มีขวัญกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสภาเรือ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.60 ที่ผ่านมา และเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทน เป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร ศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ในวันที่ 8 พ.ค.61 สำหรับอาคารสภาเรือ ที่สร้างขึ้นนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ ใน 3 ส่วนคือ 1. ด...
Comments