การเตรียมรับมือและป้องกันภัยจากพายุฤดูร้อน
พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดพายุฤดูร้อน เนื่องจากมวลอากาศเย็นพัดจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศตอนบน จึงปะทะกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อนได้น้อยกว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับในภาคใต้ สามารถเกิดพายุฤดูร้อนได้แต่ไม่บ่อยนัก
การเตรียมรับมือ และป้องกันภัยจากพายุฤดูร้อน ประกอบด้วย
๑. ติดตั้งสายล่อฟ้าในอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากฟ้าผ่า
๒. ติดตามสภาวะอากาศและฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาเป็นประจำ
๓. ตรวจสอบความแข็งแรงมั่นคงของบ้านเรือน หลังคา อาคารต่างๆ ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันแรงลมพัดพังเสียหาย
๔. หากพบต้นไม้ สายไฟเกี่ยวกิ่งไม้ ป้ายโฆษณา ฯลฯ ที่อยู่ในสภาพไม่ปลอดภัย ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มาปรับปรุงแก้ไขโดยเร็ว
๕. เตรียมการป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยง และพืชผลการเกษตร เพื่อลดความเสียหาย
๖. จัดเตรียมอาหารแห้ง ยารักษาโรค ตะเกียง ไฟฉาย ไม้ขีดไฟ และวิทยุพกพา รวมทั้งอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ให้พร้อมใช้ยามจำเป็น
๗. ตรวจสอบความแข็งแรงของป้ายโฆษณา
๘. รถยนต์ควรมีน้ำมันเต็มถัง เพื่อไว้ใช้ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน
ข้อมูล สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.
๑๙ พ.ค.๕๗
ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ได้เปิดที่ทำการอาคารศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ( One Stop Service : OSS) หรืออาคารสภาเรือแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการเพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการกองทัพเรือที่ลาออกจากราชการและเกษียณอายุราชการ รวมทั้งทายาท ให้สามารถเข้าถึงการบริการด้านสิทธิกำลังพลได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยการรวมจุดบริการมาไว้เพียงจุดเดียว อาทิ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการสวัสดิการและการบริการให้กับกำลังพลและครอบครัว เพื่อให้มีขวัญกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสภาเรือ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.60 ที่ผ่านมา และเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทน เป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร ศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ในวันที่ 8 พ.ค.61 สำหรับอาคารสภาเรือ ที่สร้างขึ้นนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ ใน 3 ส่วนคือ 1. ด...
Comments