พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัญหาการฆ่าตัวตายนั้น สาเหตุหนึ่งเกิดจากโรคซึมเศร้า ซึ่งจากการประเมินคาดว่าคนไทยมีภาวะโรคซึมเศร้าร้อยละ ๒.๓ หรือประมาณ ๑.๒ ล้านคน แต่จากการเฝ้าระวังค้นหาด้วยการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง ๑๒ ล้านคน พบผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและเข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว ๕๐๐,๐๐๐ ราย โดยอาการที่เข้าข่ายโรคซึมเศร้าจะมีความรู้สึกหดหู่ เศร้า ท้อแท้สิ้นหวัง และรู้สึกเบื่อ ทำอะไรก็ไม่เพลิดเพลินเหมือนอย่างที่เคยเป็น นอกจากนี้ อาจมีในเรื่องของสมาธิที่ไม่ดี เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือนอนมากเกินไป มีความคิดเห็นในแง่ลบมาก และมุมมองความรู้สึกต่อตัวเองแย่ลงอย่างมาก จนบางคนมีความคิดฆ่าตัวตาย
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า อาการของโรคซึมเศร้าจะเกิดขึ้นแบบเป็นวงรอบ อาจเริ่มต้นด้วยอาการเล็กน้อย ไม่ชัดเจน ทำให้วินิจฉัยได้ยาก เจ้าตัวก็มักไม่รู้ตัว และอาการจะต่อเนื่องจนชัดเจนขึ้น จนถึงจุดที่อารมณ์เต็มเกิดความคิดทางลบ และความคิดฆ่าตัวตาย หากได้รับการรักษาอารมณ์ซึมเศร้าก็จะลดลงมาเป็นปกติ แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นได้อีก ทั้งนี้ การรักษาสามารถทำได้โดยการใช้ยาต้านอารมณ์เศร้า ซึ่งไม่ใช่ยานอนหลับอย่างที่เข้าใจ ซึ่งการใช้ยานอนหลับจะใช้เมื่อผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับรุนแรง และการทำจิตบำบัดเพื่อปรับวิธีคิดในแง่ลบ รวมถึงคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมช่วยให้กำลังใจ ซึ่งต้องดำเนินการไปควบคู่กันทั้ง ๓ วิธี และต้องรักษาอย่างต่อเนื่องประมาณ ๑-๒ ปี อย่างไรก็ตาม ที่ยังเป็นปัญหาคือบางคนรักษาได้เพียง ๒-๓ เดือน เมื่ออาการดีขึ้นก็หยุดการรักษา ทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง และอาการกลับมาอีกเมื่อถูกแรงกระทบต่อชีวิตก็ไม่สามารถรับมือได้ไหว ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า คนที่รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจะช่วยยืดวงรอบของโรคซึมเศร้าออกไป หรือไม่กลับมาเป็นซ้ำ และมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายไม่ถึง ๒% น้อยกว่าคนที่ไม่ได้รับการรักษาซึ่งมีโอกาสฆ่าตัวตายถึง ๓๐%
ข้อมูล เว็บไซต์ผู้จัดการ
๑๐ ก.ค.๕๘
ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ได้เปิดที่ทำการอาคารศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ( One Stop Service : OSS) หรืออาคารสภาเรือแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการเพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการกองทัพเรือที่ลาออกจากราชการและเกษียณอายุราชการ รวมทั้งทายาท ให้สามารถเข้าถึงการบริการด้านสิทธิกำลังพลได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยการรวมจุดบริการมาไว้เพียงจุดเดียว อาทิ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการสวัสดิการและการบริการให้กับกำลังพลและครอบครัว เพื่อให้มีขวัญกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสภาเรือ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.60 ที่ผ่านมา และเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทน เป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร ศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ในวันที่ 8 พ.ค.61 สำหรับอาคารสภาเรือ ที่สร้างขึ้นนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ ใน 3 ส่วนคือ 1. ด...
Comments