พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีบวงสรวง พิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันอาภากร ประจำปี ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ค.๕๘ เวลา ๐๘๑๕ ณ หน้าอาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน โดยมีหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมาคมภริยาทหารเรือ องค์กรภาครัฐ เอกชน และราชสกุลอาภากร เข้าร่วมพิธีฯ
จากนั้น เวลา ๑๐๒๐ พลเรือเอก พจนา เผือกผ่อง รองผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน ณ วิหารน้อย วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่กองทัพเรือ ผู้แทนราชสกุลอาภากร ผู้แทนสมาคมภริยาทหารเรือ เข้าร่วมพิธีฯ
วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ เป็นวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้ทรงเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะเหล่าทหารเรือ ซึ่งเทิดทูนยกย่องและขนานพระนามว่า “องค์บิดาของทหารเรือไทย” ด้วยทรงวางรากฐานการทหารเรือให้มีความเข้มแข็งมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้
พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาโหมด ภายหลังเหตุการณ์รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้มีพระวิริยะอุตสาหะจนผลการศึกษาปรากฏอยู่ในขั้นดีเยี่ยม หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาได้เสด็จกลับเข้ารับราชการในกรมทหารเรือ ด้วยพระปรีชาสามารถในการรับราชการจนปรากฏความชอบ ได้รับพระราชทานยศสูงขึ้นตามลำดับ ในพุทธศักราช ๒๔๔๘ ขณะทรงดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ผู้บัญชาการกรมเรือกลและป้อม และทำการในหน้าที่เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ได้ทรงปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาและระบบการปกครองของโรงเรียนนายเรือให้ทหารเรือมีความรู้ความชำนาญ สามารถเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นครูได้เป็นผลสำเร็จ ไม่ต้องพึ่งพาชาวต่างประเทศเหมือนที่แล้วมา ในพุทธศักราช ๒๔๖๒ ทรงเป็นผู้มีส่วนสำคัญยิ่งในการจัดหาเรือพระร่วงไว้ใช้ในราชการ และทรงเป็นผู้บังคับการเรือลำดังกล่าวที่มีชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นลูกเรือ นำเรือพระร่วงเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจากประเทศอังกฤษกลับสู่พระนครด้วยพระองค์เอง นับเป็นนายทหารเรือไทยคนแรกที่ได้นำเรือรบเดินทางไกลมาจากต่างประเทศ
นอกจากพระปรีชาสามารถด้านการทหารเรือแล้ว ยังทรงมุ่งมั่นศึกษาเกี่ยวกับวิชาแพทย์แผนโบราณจากตำราไทย ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้โดยมิได้ทรงเลือกชั้นวรรณะเป็นจำนวนมาก จนพระเกียรติคุณในนาม “หมอพร” ขจรขจายไปในทุกชนชั้น อีกทั้งยังทรงเป็นจิตรกรเขียนภาพที่งามวิจิตร ดังปรากฏภาพฝีพระหัตถ์ที่ผนังโบสถ์วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ตราบจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังทรงมีพระปรีชาสามารถทางดนตรี โดยได้ทรงพระนิพนธ์เพลงทหารเรือ เช่น เพลง “ฮะเบสสมอ” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ดอกประดู่” เพลง “เกิดมาทั้งที” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “เดินหน้า” และเพลง “ดาบของชาติ” ซึ่งเพลงเหล่านี้มีเนื้อหาปลุกใจให้เข้มแข็งในยามทุกข์ ก่อให้เกิดความรู้สึกรักแผ่นดิน รักหน้าที่ รักเกียรติ และเกิดความมุมานะ ยอมสละได้แม้ชีวิตเพื่อชาติ ถือได้ว่าเป็นมรดกที่ฝังแน่นในใจทหารเรือทุกนายตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
ข้อมูล สลก.ทร.
๑๙ พ.ค.๕๘
ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ได้เปิดที่ทำการอาคารศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ( One Stop Service : OSS) หรืออาคารสภาเรือแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการเพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการกองทัพเรือที่ลาออกจากราชการและเกษียณอายุราชการ รวมทั้งทายาท ให้สามารถเข้าถึงการบริการด้านสิทธิกำลังพลได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยการรวมจุดบริการมาไว้เพียงจุดเดียว อาทิ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการสวัสดิการและการบริการให้กับกำลังพลและครอบครัว เพื่อให้มีขวัญกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสภาเรือ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.60 ที่ผ่านมา และเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทน เป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร ศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ในวันที่ 8 พ.ค.61 สำหรับอาคารสภาเรือ ที่สร้างขึ้นนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ ใน 3 ส่วนคือ 1. ด...
Comments