พลเรือโท วิพากษ์ น้อยจินดา ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ และพลเรือตรี สุพรรณ เหมมาลา ผู้อำนวยการการท่าเรือสัตหีบ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร สมาคมประมงแสมสาร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย นำปะการังเทียมแบบถอดประกอบได้ หรือน็อกดาวน์ ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล จำนวน ๓ แบบ ๙๙ หน่วย ไปจัดวางในอ่าวสัตหีบหน้าหาดนางรอง บริเวณเกาะนางรำและเกาะจระเข้ ห่างจากชายฝั่งประมาณ ๓๘๐ เมตร เมื่อวันที่ ๔ เม.ย.๕๘ เพื่อให้เป็นแหล่งรวมสัตว์ทะเลที่เข้ามาวางไข่ และเพิ่มประชากรสัตว์ทะเล รวมถึงเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในอนาคต
ทั้งนี้ การสร้างปะการังเทียมแบบถอดประกอบได้ เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ซึ่งได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบปะการังเทียมลูกบาศก์คอนกรีตให้มีคุณสมบัติที่สามารถถอดประกอบได้ และมีขนาดใกล้เคียงกับปะการังเทียมตามแบบมาตรฐานกรมประมง โดยหล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้แท่งพลาสติกเป็นข้อต่อ และสเตนเลสเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการประเมินสัตว์น้ำที่มาอาศัยบริเวณปะการังเทียมในช่วงที่ผ่านมา พบว่าแหล่งแสมสารมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด และมีสัตว์น้ำประเภทเกาะติดมาอาศัยอยู่ถึงร้อยละ ๗๑.๕๐ และมีมากถึง ๒๐-๒๒ ชนิด
ข้อมูล นสพ.เดลินิวส์
๑๖ เม.ย.๕๘
ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ได้เปิดที่ทำการอาคารศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ( One Stop Service : OSS) หรืออาคารสภาเรือแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการเพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการกองทัพเรือที่ลาออกจากราชการและเกษียณอายุราชการ รวมทั้งทายาท ให้สามารถเข้าถึงการบริการด้านสิทธิกำลังพลได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยการรวมจุดบริการมาไว้เพียงจุดเดียว อาทิ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการสวัสดิการและการบริการให้กับกำลังพลและครอบครัว เพื่อให้มีขวัญกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสภาเรือ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.60 ที่ผ่านมา และเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทน เป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร ศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ในวันที่ 8 พ.ค.61 สำหรับอาคารสภาเรือ ที่สร้างขึ้นนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ ใน 3 ส่วนคือ 1. ด...
Comments