โครงการหลวงตามแนวพระราชดำริ
จุดเริ่มต้นโครงการหลวงตามแนวพระราชดำริ เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวิตของชาวเขาที่บ้านดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวชน์ จึงทรงทราบว่าชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ยากจน และนอกจากเก็บฝิ่นขายแล้ว ยังเก็บท้อพื้นเมืองที่ลูกเล็กขายด้วย ทรงทราบว่าสถานีทดลองดอยปุย ซึ่งเป็นสถานีทดลองไม้ผลเขตหนาวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้นำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับต้นตอท้อพื้นเมืองได้ ให้ค้นคว้าหาพันธุ์ท้อที่เหมาะสมสำหรับบ้านเรา เพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่หวานฉ่ำทำรายได้สูง ทรงพระราชทานเงินจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับจัดหาที่ดินเพื่อดำเนินงานวิจัยไม้ผลเขตหนาวเพิ่มเติมจากสถานีวิจัยดอยปุย เรียกพื้นที่นี้ว่าสวนสองแสน ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้น
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวงได้ทรงอธิบายถึงวิธีการทำงานของโครงการหลวงไว้ในหนังสือประพาสต้นบนดอยว่า โครงการหลวงทำงานครบวงจร ประกอบด้วย ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านที่หนึ่ง การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อให้เกิดความชัดเจนของพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ ด้านที่สอง การปลูกป่าในพื้นที่ส่วนที่ควรเป็นป่า เช่น การปลูกป่าชาวบ้านตามแนวพระราชดำริ ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ด้านที่สาม การทำเกษตรภายใต้ระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งการพัฒนาพื้นฐาน ได้แก่ระบบชลประทาน รวมถึงการปรับปรุงถนนระหว่างหมู่บ้าน สำหรับการขนส่งผลผลิตต่างๆ ไปสู่ตลาด ด้านที่สี่ การทำการวิจัย ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการปลูกพืชเขตหนาวทุกชนิดเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ทั้งนี้จะนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลส่งเสริมการพัฒนาเกษตร พัฒนาคนด้านการศึกษา และสาธารณสุข เพื่อให้เกษตรกรแต่ละคนช่วยเหลือตัวเองได้ ด้านที่ห้า การขนส่งการจัดการหลังเก็บเกี่ยวแล้ว และการทำการตลาด เพื่อนำผลผลิตของเกษตรกรส่งต่อไปยังผู้บริโภคของโครงการ
ปัจจุบันโครงการหลวงได้ส่งเสริมและพัฒนาในพื้นที่ชุมชนชาวเขาซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่สูงเรียกว่า ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง มี ๓๘ แห่ง แต่ละศูนย์ครอบคลุมพื้นที่ ๕-๒๐ หมู่บ้าน อยู่ในพื้นที่ ๕ จังหวัดในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูนและพะเยา โดยมีประชากรชาวเขาเผ่าต่างๆ ๑๓ เผ่า และมีชาวไทยที่อาศัยบนพื้นที่ภูเขาที่ได้รับประโยชน์กว่า ๓๗,๐๐๐ ครัวเรือน
ผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่สำนักโครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่ หมายเลข ๐ ๒๙๔๒ ๘๖๕๖-๙ และสำนักงานประสานงานโครงการหลวง หมายเลข ๐ ๒๕๗๙ ๐๑๑๓
ข้อมูล โครงการหลวง
๒๔ ก.ย.๕๗
ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ได้เปิดที่ทำการอาคารศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ( One Stop Service : OSS) หรืออาคารสภาเรือแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการเพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการกองทัพเรือที่ลาออกจากราชการและเกษียณอายุราชการ รวมทั้งทายาท ให้สามารถเข้าถึงการบริการด้านสิทธิกำลังพลได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยการรวมจุดบริการมาไว้เพียงจุดเดียว อาทิ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการสวัสดิการและการบริการให้กับกำลังพลและครอบครัว เพื่อให้มีขวัญกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสภาเรือ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.60 ที่ผ่านมา และเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทน เป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร ศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ในวันที่ 8 พ.ค.61 สำหรับอาคารสภาเรือ ที่สร้างขึ้นนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ ใน 3 ส่วนคือ 1. ด...
Comments