การพัฒนาการของอาเซียน
วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗ เป็นวันครบรอบวันเกิดปีที่ ๔๗ ของอาเซียน นับตั้งแต่ที่มีการประกาศ “ปฎิญญากรุงเทพ” ที่ประเทศไทยเพื่อก่อตั้ง “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ “อาเซียน” โดย ๕ ประเทศสมาชิกแรกตั้ง ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และไทย และสามารถแบ่งช่วงของอาเซียนตามลักษณะสำคัญในแต่ละทศวรรษได้ดังนี้
ทศวรรษแรก ระหว่างปี ๒๕๑๐ – ๒๕๑๙ เป็นยุคก่อร่างสร้างตัว มีการประชุมสุดยอดเป็นครั้งแรกที่เกาะบาหลี อินโดนีเซียในปี ๒๕๑๙ และได้ลงนามใน “สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” อันเป็นกฎ กติกา มารยาทสำคัญของอาเซียน รวมทั้งยังได้ตกลงตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา ด้วย
ทศวรรษที่สองระหว่างปี ๒๕๒๐-๒๕๒๙ เป็นยุคแห่งการมีตัวตนในประชาคมโลก (ในปี ๒๕๒๗ บรูไนฯ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก) ในยุคนี้จากผลงานผนึกกำลังของอาเซียนในการแสดงจุดยืนต่อต้านการยึดครองกัมพูชาของเวียดนาม ในปี ๒๕๒๒ ผ่านเวทีระหว่างประเทศ ทำให้อาเซียนเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก
ทศวรรษที่สามระหว่างปี ๒๕๓๐-๒๕๓๙ เป็นยุคแห่งการเติบโต และมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก (ในปี ๒๕๓๘ เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก) อาเซียนได้รับการยอมรับทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง มีการก่อตั้ง “เขตการค้าเสรีอาเซียน” ในปี ๒๕๓๕
ทศวรรษที่ ๔ ระหว่างปี ๒๕๔๐-๒๕๔๙ เป็นยุคแห่งวิกฤตเศรษฐกิจและการฟื้นตัว อาเซียนในช่วงนี้ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ทำให้สูญเสียความน่าเชื่อถือในระดับสากล อย่างไรก็ตาม อาเซียนใช้เวลาไม่นานในการผลิตฟื้นเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นกลับมาใหม่ โดยได้รับการสนับสนุน และความร่วมมือจากประเทศสำคัญในเอเชียตะวันออก คือ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ในกรอบอาเซียนบวกสาม และอาเซียนได้ขยายสมาชิกภาพจนมีสมาชิก ๑๐ ประเทศ โดยลาวและเมียนมาร์เข้าเป็นสมาชิกในปี ๒๕๔๐ และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกในปี ๒๕๔๒
ทศวรรษที่ห้าระหว่างปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๙ เป็นยุคแห่งการบูรณาการเป็นประชาคมอาเซียน อาเซียนได้เพิ่มความร่วมมือกันอย่างขนานใหม่ เพื่อยกระดับสมาคมอาเซียนขึ้นเป็นประชาคมอาเซียน มีการออกกฎบัตรอาเซียน, พิมพ์เขียวปฏิบัติการ ตลอดจนข้อตกลง และมาตรการเร่งรัดต่างๆ ทำให้อาเซียนสามารถเผชิญกับโลกาภิวัตน์ได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันประเทศมหาอำนาจต่างๆ ก็ให้ความสำคัญกับอาเซียนมากขึ้น
จึงถือได้ว่าอาเซียนมีความมั่นคงในระดับหนึ่งแล้ว โดยประเทศสมาชิกยังคงร่วมมือผนึกกำลังกันอย่างเหนียวแน่น ที่จะผลักดันให้อาเซียนก้าวไปอย่างมั่นคงในประชาคมโลกต่อไป
ข้อมูล นสพ.มติชน
๑๓ ส.ค.๕๗
ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ได้เปิดที่ทำการอาคารศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ( One Stop Service : OSS) หรืออาคารสภาเรือแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการเพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการกองทัพเรือที่ลาออกจากราชการและเกษียณอายุราชการ รวมทั้งทายาท ให้สามารถเข้าถึงการบริการด้านสิทธิกำลังพลได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยการรวมจุดบริการมาไว้เพียงจุดเดียว อาทิ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการสวัสดิการและการบริการให้กับกำลังพลและครอบครัว เพื่อให้มีขวัญกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสภาเรือ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.60 ที่ผ่านมา และเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทน เป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร ศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ในวันที่ 8 พ.ค.61 สำหรับอาคารสภาเรือ ที่สร้างขึ้นนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ ใน 3 ส่วนคือ 1. ด...
Comments