นับวันประเทศไทยจะเผชิญภัยพิบัติที่ทวีความรุนแรงบ่อยครั้งในรูปแบบที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( ปภ. ) ในฐานะหน่วยงานกลางของภาครัฐด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการภัยพิบัติเชิงรุก โดยยึดพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ รวมถึงหลัก 2 P 2 R หลักบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับสากลเป็นกลไกขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมีความปลอดภัยจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน
สำหรับการดำเนินงานบริหารจัดการสาธารณภัยในปีงบประมาณ พ.ศ. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( ปภ.) ได้กำหนดนโยบายเน้นหนักใน ๕ หลัก ดังนี้
๑. ผลักดันกลไกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับพื้นที่
๒. ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอัคคีภัย
๓. บูรณาการภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนวาระแห่งชาติด้านความปลอดภัยทางถนน
๔. สร้างความพร้อมด้านคลังข้อมูลสาธารณภัย
และ ๕. ผลักดันการบริหารจัดการสาธารณภัยทางน้ำและทางทะเล
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มุ่งส่งเสริมความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการภัยพิบัติที่เป็นระบบ ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้ประเทศไทยมีแนวทางการบริหารจัดการสาธารณภัยที่ได้มาตรฐานในระดับสากล และมีความปลอดภัยจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน และสามารถติดต่อสายด่วน ปภ. ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ ๑๗๘๔
ข้อมูล ปภ.
๒๘ ก.พ.๕๗
ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ได้เปิดที่ทำการอาคารศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ( One Stop Service : OSS) หรืออาคารสภาเรือแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการเพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการกองทัพเรือที่ลาออกจากราชการและเกษียณอายุราชการ รวมทั้งทายาท ให้สามารถเข้าถึงการบริการด้านสิทธิกำลังพลได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยการรวมจุดบริการมาไว้เพียงจุดเดียว อาทิ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการสวัสดิการและการบริการให้กับกำลังพลและครอบครัว เพื่อให้มีขวัญกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสภาเรือ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.60 ที่ผ่านมา และเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทน เป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร ศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ในวันที่ 8 พ.ค.61 สำหรับอาคารสภาเรือ ที่สร้างขึ้นนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ ใน 3 ส่วนคือ 1. ด...
Comments