พิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา (เรือหลวงกระบี่)
พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ จะเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ในวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙๓๐ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (เรือหลวงกระบี่) ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงกลาโหมให้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางกระดูกงู เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
การจัดหาเรือหลวงกระบี่เข้าประจำการ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กองทัพเรือจัดซื้อแบบรายละเอียดและเทคนิคในการติดตั้งเชื่อมต่อ การตรวจรับ การทดสอบ ทดลองอุปกรณ์ และการสร้างเรือในสาขาต่างๆ ตามแบบเรือของบริษัท BVT Surface Fleet จำกัด สหราชอาณาจักร สำหรับสร้างเรือในสาขาต่างๆ ไกลฝั่ง จำนวน ๑ ลำ เป็นเงินจำนวน ๑,๖๙๙,๕๐๐.๐๐๐ บาท จากบริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด เพื่อให้กองทัพเรือสามารถสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง สำหรับปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามในสัญญาซื้อขายแบบรายละเอียดและพัสดุสำหรับสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งกับนาวาเอก ชุมพล พรหมประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม
ในส่วนของการประกอบตัวเรือ การต่อล็อคเรือ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์และระบบต่างๆ ของเรือได้ดำเนินการที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ด้วยบุคลากรของกองทัพเรือจนแล้วเสร็จ และได้ดำเนินการทดสอบระบบต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยสมบูรณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือ ได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลทหารเรือในการดำเนินการติดตั้งทดสอบได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของต่างประเทศ แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างเรือขนาดใหญ่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง
คุณลักษณ์ของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา (เรือหลวงกระบี่) มีความยาวตลอดลำ ๙๐.๕๐ เมตร กว้าง ๑๓.๕๐ เมตร ความสูงที่กราบเรือ ๗.๗๐ เมตร กินน้ำลึก ๓.๘๐ เมตร ระวางขับน้ำเต็มที่ ๑,๙๖๙ ความเร็วสูงสุด ๒๓ นอต รัศมีทำการที่ความเร็ว ๑๕ นอต ได้ถึงระยะ ๓,๕๐๐ ไมล์ทะเล อาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด ๗๖ มิลลิเมตร แบบอัตโนมัติจากบริษัท 0to Melara S.P.A. ประเทศอิตาลี จำนวน ๑ กระบอก และปืนขนาด ๓๐ มิลลิเมตรแท่นเดียว จากบริษัท MSI-Defence Systems Limited ประเทศอังกฤษ จำนวน ๒ กระบอก ระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ จำนวน ๑ ระบบ จากบริษัท Thales Nederland B.V.ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ กำลังพลประจำเรือ ๘๙ นาย นอกจากนั้น บริเวณดาดฟ้าเรือสามารถจอดเฮลิคอปเตอร์ แบบซูเปอร์ลิงค์ ซึ่งมีประจำการในกองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ ได้อีก ๑ ลำ ซึ่งเป็นการเพิ่มระยะการตรวจการณ์ในทะเลให้ไกลขึ้นอีกระดับหนึ่ง
นับจากนี้ต่อไป เรือหลวงกระบี่จะเข้าประจำการที่กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ โดยจะมีภารกิจในการป้องกันประเทศ การช่วยเหลือประชาชน การป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตลอดจนการรักษากฎหมายในทะเล โดยปัจจุบันมีนาวาโท สมศักดิ์ อินทรเสมา เป็นผู้บังคับการเรือ
ข้อมูล สลก.ทร.
๒๐ ส.ค.๕๖
ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ได้เปิดที่ทำการอาคารศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ( One Stop Service : OSS) หรืออาคารสภาเรือแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการเพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการกองทัพเรือที่ลาออกจากราชการและเกษียณอายุราชการ รวมทั้งทายาท ให้สามารถเข้าถึงการบริการด้านสิทธิกำลังพลได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยการรวมจุดบริการมาไว้เพียงจุดเดียว อาทิ การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการสวัสดิการและการบริการให้กับกำลังพลและครอบครัว เพื่อให้มีขวัญกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสภาเรือ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.60 ที่ผ่านมา และเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทน เป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร ศูนย์แบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ ในวันที่ 8 พ.ค.61 สำหรับอาคารสภาเรือ ที่สร้างขึ้นนี้ มีรูปแบบการดำเนินการ ใน 3 ส่วนคือ 1. ด...
Comments